โจทย์ปัญหาเรื่อง Abnormal vaginal bleeding 5

obgyn

5. ให้กลุ่มนิสิตร่วมกันกำหนดแนวทางการรักษา แนวทางการติดตามป้องกัน การฟื้นฟูสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยรายนี้

Management

  1. 1.????? Specific treatment
    1. Non-Surgical treatment: แบ่งเป็นการใช้ฮอร์โมนในการรักษา และการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ

-????????? Hormone therapy

  1. Androgenic steroid: เพื่อทำให้เกิดการขาดประจำเดือน ในรายที่มีเลือดออกผิดปกติ และแก้ไขภาวะซีดจากการเสียเลือด ผลแทรกซ้อนอาจพบว่ามีเสียงแหบ สิว หน้ามัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  2. GnRH agonist: จะใช้การรักษาวิธีนี้ก่อนการผ่าตัด โดยให้เพื่อลดขนาดก้อนเนื้องอก และเพิ่มความเข้มข้นของเลือดก่อนการผ่าตัด ซึ่งอาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อนได้ในผู้ป่วยที่ใช้ยานานกว่า 6 เดือน จากภาวะEstrogen ต่ำ จึงมีการรักษาGnRH agonist ร่วมกับ Estrogen เพื่อลดผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น แต่วิธีนี้มีราคาค่อนข้างแพงต้องคำนึงถึงเศรษฐานะของผู้ป่วยด้วย
  3. Conjugated Estrogen: เพื่อหยุดเลือดที่ออกผิดปกติและลดขนาดของก้อนเนื้องอกที่เกิดขึ้น

-????????? Symptomatic treatment

  1. NSAIDs: เพื่อช่วยระงับอาการ dysmenorrhea แต่ไม่ได้ช่วยลดอาการ hypermenorrhea
  2. Surgical treatment: หลัง follow up แล้วอาการไม่ดีขึ้น จึงพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด มีข้อบ่งชี้คือ มีระดูออกมากผิดปกติจนทำให้ซีด ก้อนโตเร็ว มีอาการอื่นร่วมเช่น ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก ปวดท้องเรื้อรัง แยกไม่ได้ว่าก้อนเป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง มีประวัติมีบุตรยาก แท้งบ่อยโดยไม่พบสาเหตุ

การผ่าตัดมีได้หลายวิธี คือ

-????????? Myomectomy: ตัดเฉพาะก้อนเนื้องอกออก โดยยังคงมดลูกไว้ จะทำในผู้ป่วยที่ยังคงต้องการมีบุตรต่อ แต่วิธีนี้การนี้จะสามารถผ่าตัดเอาก้อนออกได้เฉพาะในตำแหน่งที่มองเห็นได้ง่ายและเข้าถึงได้ง่ายเท่านั้น ซึ่งมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ภายใน 5 ปี

-????????? Hysterectomy: เพิ่มคุณภาพชีวิตได้ภายหลังการรักษา เนื่องจากตัดมดลูกออกไปทั้งหมด ทำให้ไม่มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก และไม่มีอาการแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดอีก

-????????? Myolysis: ใช้ไฟฟ้าผ่านเข็มหรือ Laser

-????????? Uterine Arteries Embolization: ฉีดสารเพื่ออุดตันเส้นเลือดแดงที่มาเลี้ยงมดลูก ซึ่งก้อนเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกจะมีความไวต่อการขาดเลือดเฉียบพลัน จึงเกิดเนื้อตายโดยไม่มีการเกิดเส้นเลือดใหม่มาเลี้ยง และยังสามารถตั้งครรภ์ได้หลังการรักษา แต่มีข้อจำกัดและภาวะแทรกซ้อนได้แก่ ต้องใช้แพทย์ผู้ชำนาญในการทำ อาจเกิดภาวะ Post-embolization syndrome, sepsis,bowel necrosis, ovarian failure, prolapse fibroid และอาจพบว่าการรักษาไม่ได้ผลถึง 10%

  1. 2.????? Follow up plan
    1. นัด 2 weeks OPD gynecology เพื่อฟังผล endometrial sampling

-????????? ผล???? secretory phase ไม่พบความผิดปกติ

และทำ hysteroscopy เพื่อวินิจฉัยหรือผ่าตัดก็ได้ถ้าหากว่าก้อนขนาดไม่ใหญ่มาก

  1. ติดตามผลว่ายังมีเลือดออกอยู่หรือไม่หลังจากรับประทานยาที่ให้ไปแล้ว 2 สัปดาห์

-????????? ผล???? เลือดหยุดไหลแล้ว

  1. ในผู้ป่วยรายนี้พิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการเลือกวิธีผ่าตัดนั้นต้องมีการคุยกับผู้ป่วยเกี่ยวกับแผนในอนาคตของผู้ป่วย ว่ายังต้องการมีบุตรอีกหรือไม่ หากผู้ป่วยยังมีความต้องการในการมีลูกอยู่จะเลือกวิธีผ่าตัดเป็น Myomectomy แต่หากผู้ป่วยไม่มีความต้องการจะมีบุตรแล้ว ก็อาจจะเลือกวิธี Hysterectomy เนื่องจากผู้ป่วยมีก้อนขนาดใหญ่และจะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดเป็นซ้ำได้อีก
  2. 3.????? การฟื้นฟูสุขภาพหลังผ่าตัด

หลังจากผู้ป่วยออกจากห้องผ่าตัดมาพักฟื้นในห้องผู้ป่วยแล้ว ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นรับประทานอาหารได้ไม่มีไข้ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ สามารถปัสสาวะ ถ่ายอุจจาระได้ปกติ สามารถให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ และให้คำแนะนำให้ผู้ป่วยงดการยกของหนักมากกว่าภายใน 6 สัปดาห์ หลังผ่าตัดเพื่อป้องกันการฉีกขาดของแผล งดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก คอยสังเกตความผิดปกติต่างๆที่เกิดขึ้น สังเกตความผิดปกติของแผลว่ามีเลือดออกผิดปกติ หรือมีอาการปวด บวม แดง ขึ้นหรือไม่ หรือมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด หรือคลำได้ก้อนอีก มีไข้ หรือปวดท้องมากขึ้น ให้รีบกลับมาพบแพทย์ หากไม่มีความผิดปกติใดๆ ก็ให้มาตามนัดเพื่อฟังผลการตรวจชิ้นเนื้อ

นอกจากนี้ควรแนะนำให้ผู้ป่วยตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม และตรวจมะเร็งปากมดลูกทุกปี

 

อาหารอะไรเป็นอาหารแสลงหลังการคลอดหรือผ่าตัดคลอด?

obgyn5

? ? ? ? ? ?อาหารสำหรับคุณแม่หลังคลอดไม่มีอาหารแสลง สามารถรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารจำพวกโปรตีนเพราะจะช่วยซ่อมแซมส่วนที่เป็นบาดแผลจากการคลอดได้ดี สำหรับยาบำรุง ควรเสริมธาตุเหล็กเพื่อช่วยให้แม่ไม่ขาดสารอาหารนี้ เพราะในน้ำนมจะมีปริมาณธาตุเหล็กต่ำเมื่อคุณแม่มีปริมาณธาตุเหล็กพอเพียง น้ำนมก็จะมีธาตุเหล็กเพียงพอ จึงเป็นการช่วยป้องกันการขาดธาตุเหล็กในทารกอีกทีหนึ่ง แคลเซียมเป็นสารอาหารอีกชนิดที่ต้องมีพอเพียงขณะให้นมบุตร คุณแม่ควรรับประทานอาหารจำพวกนม เนยหรืออาหารที่มีแคลเซียมสูง เพราะโดยปกติในอาหารไทยปกติจะมีแคลเซียมอยู่ไม่มาก หากรับประทานนมไม่ได้อาจพิจารณาเสริมแคลเซียมเม็ด เพื่อให้ได้ขนาดของแคลเซียมที่เพียงพอในหญิงให้นมบุตร

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

โจทย์ปัญหาเรื่อง Abnormal vaginal bleeding 4

obgyn

4. ให้กลุ่มนิสิตร่วมวิเคราะห์เลือกใช้วิธีการตรวจสืบค้น เช่นการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆเฉพาะที่เหมาสมเพื่อวินิจฉัยโรค

Investigation

  1. 1.????? Ultrasonography

การทำ ultrasonography? เนื่องจากผลการตรวจร่างกายพบก้อนร่วมกับอาการอื่น ๆ ได้แก่ dysmenorrhea, hypermenorrhea การทำ ultrasonography เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ไม่ invasive ค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก อีกทั้งในกรณีที่พบก้อนในมดลูก ก็สามารถ มองเห็นขนาดและลักษณะของก้อนได้ชัดเจนและยืนยันว่าก้อนเป็นของอวัยวะใด มีลักษณะเป็นมะเร็งหรือไม่ นำมาประกอบการวินิจฉัยได้และสามารถใช้ติดตามขนาดของก้อนในเวลาต่อมาได้อีกด้วย ดังนั้นจึงต้องทำ ultrasonography เพื่อหารายละเอียดของก้อน ถึงขนาด ตำแหน่ง และ ลักษณะของก้อนเพื่อเป็นข้อมูลในการวินิจฉัยโรคต่อไป

ultrasonography เป็นวิธีการที่ทำได้สะดวก ได้ผลรวดเร็ว และประหยัดโดยจะมีการทำ 2 แบบ? คือ transabdominal ultrasonography (TAS) จะใช้ 3-5 mHz transducer และ ?transvaginal ultrasonography (TVS) จะใช้ 5-10 mHz transducer โดยสอด probe เข้าทาง vagina บริเวณ posterior fornix ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับ lesion ที่อยู่ใน pelvic ซึ่งในผู้ป่วยรายนี้เลือกใช้วิธีการตรวจแบบ TVS เนื่องจากผู้ป่วยมีรูปร่างอ้วนท้วม หน้าท้องหนา ซึ่งการตรวจทาง TAS อาจได้ภาพไม่ชัดเจน และการตรวจทาง TVS จะได้ภาพชัดเจนกว่าการตรวจวิธี TAS

ผล??????? – ขนาดมดลูก 8x5x4 cm.

-มี intrauterine mass ขนาด 3 cm. ข้างใน

– endometrial thickness 1 cm.

– ovary ทั้ง 2 ข้างปกติ

– no free fluid in cal de sac

แปลผล มดลูกมีขนาดโตขึ้นเล็กน้อย พบก้อนโตขึ้นภายในมดลูก ขนาด 3 cm ทำให้นึกถึงโรค Myoma Uteri มากที่สุด ส่วนโรค Adenomyosis ก็ยังคงคิดถึงอยู่ endometrial polyps ก็นึกถึงได้

  1. 2.????? endometrial sampling

มี indication ในการส่งตรวจนี้คือ พบว่ามี abnormal bleeding, bleeding after menopause, bleeding from hormone therapy, endometrial thickness in ultrasound

ซึ่งการส่งตรวจนี้สามารถทำได้ที่ห้องตรวจ OPD เลย แต่ต้องรอผลการตรวจซึ่งจะต้องนัดผู้ป่วยมาฟังผลทีหลัง

ผล??????? รอผลการตรวจ

  1. 3.????? Hysteroscopy

Indication ที่จะส่งตรวจวิธีนี้ คือ premenopause bleeding, amenorrhea, postmenopause bleeding, abnormal hysterosalpingogram, infertility, recurrent abortion, lost intrauterine device

และในผู้ป่วยรายนี้ควรส่งตรวจวิธีนี้เนื่องจากสงสัย Endometrial polyps, submucous myoma แต่การตรวจวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และไม่ได้มีตรวจทุกโรงพยาบาล ต้องเป็นโรงพยาบาลใหญ่เท่านั้น อีกทั้งต้องทำได้ในห้องผ่าตัดเท่านั้น ไม่สามารถทำการตรวจได้เลยที่ห้องตรวจ OPD แต่การตรวจวิธีนี้สามารทำการตรวจอื่นทดแทนได้ เช่น endometrial sampling หรือ TVS ในผู้ป่วยที่สงสัย endometrial polyps

การทำ Hysteroscopy นั้นมีความแตกต่างจากการส่งตรวจอื่นๆคือ เมื่อทำการตรวจแล้วพบว่ามี polyps ในมดลูก สามารถทำการรักษาได้ในทันที

ผล??????? รอนัดตรวจเพิ่ม

  1. 4.????? urine pregnancy test

เนื่องจากสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการนี้จาก ectopic pregnancy, abortion และการส่งตรวจบางอย่างมีข้อห้ามในผู้ป่วยที่ท้องอยู่

ผล??????? negative

แปลผล ผู้ป่วยอาจจะตั้งครรภ์อยู่น้อยกว่า 3 อาทิตย์ หรือไม่ได้อยู่ในช่วงการตั้งครรภ์

โจทย์ปัญหาเรื่อง Abnormal vaginal bleeding 3

obgyn

3.ให้กลุ่มนิสิตร่วมกันวิเคราะห์กำหนดปัญหาของผู้ป่วยและการวินิจฉัยแยกโรคตามลำดับความน่าจะเป็นจากมากไปน้อย

Problem list

1. hypermenorrhea and dysmenorrhea ?????????? 6 days PTA

2. slightly enlargement of uterus and tender at supra pubic area

3. infertility

4. history of appendectomy 7 years PTA

Differential Diagnosis

1.myoma uteri

2.adenomyosis

3.endometriosis

4.endometrial hyperplasia

5.endometrial polyps

6.ectopic pregnancy

7.abortion

หลังคลอด จำเป็นไหมที่จะต้องอยู่ไฟ?

obgyn

? ? ? ? ? การอยู่ไฟ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านสมัยโบราณ ที่ช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่นและทำให้เลือดไหลเวียนดีเพราะเสียเลือดจากการคลอดผู้คลอดอาจมีอาการหนาว ร่วมกับช่วยลดอาการปวดของแผลของการอบอุ่นของความร้อน ปัจจุบันไม่มีความจำเป็นแล้ว เนื่องจากหากเสียเลือดมากก็รักษาด้วยการให้เลือด สำหรับอาการปวดแผลก็ให้ยาแก้ปวดและลดอาการอักเสบของแผลได้ การใช้กระเป๋าน้ำร้อนก็ใช้หลักการเดียวกัน หากไม่ร้อนจนเกินไป (บางรายคุณแม่เพลียหลับไปกระเป๋าน้ำร้อนร้อนเกินไปทำให้ผิวหนังบริเวณหน้าท้องร้อน แดงและพองได้) ก็สามารถใช้ได้

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)