คลังเก็บป้ายกำกับ: PBL

โจทย์ปัญหาเรื่อง Abnormal vaginal bleeding 6

obgyn

6.ให้กลุ่มนิสิตร่วมกันให้คำปรึกษา แนะนำผู้ป่วยก่อนการรักษา

Counseling

  1. 1.????? การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคของผู้ป่วย

จากผลการวินิจฉัย ผู้ป่วยเป็นโรค myoma uteri คือมีเนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูกซึ่งเป็นชนิด benign gynecologic condition จะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าโรคที่ผู้ป่วยเป็นไม่ใช่เนื้อร้ายหรือมะเร็ง แม้จะมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งได้ แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากเพียง 0.5% เท่านั้น โดยมักพบบ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ คือช่วงอายุ 40-50 ปี? โรคเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ แต่ในผู้ป่วยบางรายก็จะมีอาการเช่นผู้ป่วยรายนี้ ซึ่งมีอาการเลือดออกผิดปกติและปวดประจำเดือน รวมถึงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากเนื้องอกไปรบกวนการฝังตัวของตัวอ่อนได้ ซึ่งในผู้ป่วยรายนี้มีอาการเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติชนิด menorrhagia คือ มีปริมาณระดูที่มากขึ้นอาการปวดระดูมากขึ้น ตรวจภายในพบ enlargement of uterus size about 14-16 weeks, firm consistency, mobile, smooth surface นอกจากนี้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ คือ การไม่มีบุตร เนื่องจากการไม่มีบุตรทำให้ต้องสัมผัสกับ estrogen เป็นเวลานาน ซึ่ง estrogen มีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดหรือทำให้โตขึ้นของเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ล้วนแต่เข้าได้กับลักษณะของโรคเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกทั้งสิ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยยังเป็นโรค adenomyosis คือ โรคที่มีการฝังตัวของเยื่อบุมดลูกในชั้นกล้ามเนื้อมดลูก ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคนี้นั้นมีการอธิบายไว้หลายทฤษฎี นั่นคืออาจเกิดจากการไหลย้อนกลับของประจำเดือนซึ่งมีเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ด้วยเข้าไปในช่องท้องและอุ้งเชิงกราน ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยในขณะที่มีประจำเดือน หรือบางทฤษฎีเชื่อว่าเกิดจากการเจริญของเยื่อบุมดลูกชั้นฐานล่างแทรกเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อ ซึ่งการเป็นโรคนี้ก็จะทำให้มีอาการ เลือดประจำเดือนออกมากและนาน มีอาการปวดระดูมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทั้งสองโรคที่ผู้ป่วยเป็นนั้น จากการซักประวัติและการตรวจร่างกายอาจแยกจากกันได้ยาก ดังนั้นจึงต้องมีการส่งตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ สำหรับการส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยในผู้ป่วยรายนี้นั้น คือ การทำ ultrasonography (แบบ transabdominal ultrasonography) เนื่องจากมีความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค ทำได้ง่าย ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก สำหรับ การรักษาโรคนี้นั้นมีหลายวิธีขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่นขนาด ตำแหน่งของก้อน อาการของผู้ป่วย ความพร้อมของผู้ป่วย,แพทย์,อุปกรณ์การรักษา เป็นต้น โดยการรักษาอาจทำได้ดังนี้ คือการเฝ้าสังเกตอาการ,การใช้ยาลดขนาดก้อนเนื้องอก การผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออก และการผ่าตัดเอามดลูกออก โดยแต่ละวิธีการรักษาจะมีข้อดี ข้อเสียและข้อบ่งชี้ในการรักษาแตกต่างกัน จึงต้องอธิบายให้ผู้ป่วยทราบและให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตัวเอง สำหรับในผู้ป่วยรายนี้ได้ตัดสินใจเลือกรับการรักษาโดยการผ่าตัดเอามดลูก,ท่อนำไข่ทั้งสองข้างออกทั้งหมด เนื่องจากมีข้อบางชี้ในการผ่าตัด และเพื่อต้องการให้หายขาด แพทย์จึงทำการผ่าตัดด้วยวิธี total laparoscopic hysterectomy with bilaterally salpingectomy โดยจะต้องอธิบายถึงวิธีเตรียมตัวก่อนผ่าตัด,ระหว่างผ่าตัด,หลังผ่าตัด และเฝ้าระวังดูแลภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดซึ่งผู้ป่วยรับทราบและให้ความยินยอมแล้ว

  1. 2.????? การอธิบายให้ความรู้เกี่ยวกับการพยากรณ์โรคหลังการรักษา

หลังจากทำการผ่าตัดเอามดลูก,ท่อนำไข่และรังไข่ทั้งสองข้างออกไปแล้วได้นำชิ้นเนื้อจากเนื้องอกส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อดูว่าก้อนนั้นเป็นเนื้อดีหรือเนื้อร้าย หากเป็น myoma uteri และ adenomyosis ตามที่ได้ให้การวินิจฉัยไปแล้วนั้น การรักษาโดยการผ่าตัดออกจะทำให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคนี้ได้แน่นอน แต่หากพบว่าเป็นเนื้อร้าย ก็อาจมีการกลับเป็นซ้ำได้อีก ซึ่งต้องติดตามให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามมีโอกาสเป็นไปได้น้อยที่จะเป็นเนื้อร้ายทั้งจากประวัติ ตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น และลักษณะก้อนที่มองเห็นด้วยตาเปล่า

facilitator: Pawin Puapornpong

 

 

 

 

 

โจทย์ปัญหาเรื่อง Abnormal vaginal bleeding 5

obgyn

5. ให้กลุ่มนิสิตร่วมกันกำหนดแนวทางการรักษา แนวทางการติดตามป้องกัน การฟื้นฟูสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยรายนี้

Management

  1. 1.????? Specific treatment
    1. Non-Surgical treatment: แบ่งเป็นการใช้ฮอร์โมนในการรักษา และการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ

-????????? Hormone therapy

  1. Androgenic steroid: เพื่อทำให้เกิดการขาดประจำเดือน ในรายที่มีเลือดออกผิดปกติ และแก้ไขภาวะซีดจากการเสียเลือด ผลแทรกซ้อนอาจพบว่ามีเสียงแหบ สิว หน้ามัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  2. GnRH agonist: จะใช้การรักษาวิธีนี้ก่อนการผ่าตัด โดยให้เพื่อลดขนาดก้อนเนื้องอก และเพิ่มความเข้มข้นของเลือดก่อนการผ่าตัด ซึ่งอาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อนได้ในผู้ป่วยที่ใช้ยานานกว่า 6 เดือน จากภาวะEstrogen ต่ำ จึงมีการรักษาGnRH agonist ร่วมกับ Estrogen เพื่อลดผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น แต่วิธีนี้มีราคาค่อนข้างแพงต้องคำนึงถึงเศรษฐานะของผู้ป่วยด้วย
  3. Conjugated Estrogen: เพื่อหยุดเลือดที่ออกผิดปกติและลดขนาดของก้อนเนื้องอกที่เกิดขึ้น

-????????? Symptomatic treatment

  1. NSAIDs: เพื่อช่วยระงับอาการ dysmenorrhea แต่ไม่ได้ช่วยลดอาการ hypermenorrhea
  2. Surgical treatment: หลัง follow up แล้วอาการไม่ดีขึ้น จึงพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด มีข้อบ่งชี้คือ มีระดูออกมากผิดปกติจนทำให้ซีด ก้อนโตเร็ว มีอาการอื่นร่วมเช่น ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก ปวดท้องเรื้อรัง แยกไม่ได้ว่าก้อนเป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง มีประวัติมีบุตรยาก แท้งบ่อยโดยไม่พบสาเหตุ

การผ่าตัดมีได้หลายวิธี คือ

-????????? Myomectomy: ตัดเฉพาะก้อนเนื้องอกออก โดยยังคงมดลูกไว้ จะทำในผู้ป่วยที่ยังคงต้องการมีบุตรต่อ แต่วิธีนี้การนี้จะสามารถผ่าตัดเอาก้อนออกได้เฉพาะในตำแหน่งที่มองเห็นได้ง่ายและเข้าถึงได้ง่ายเท่านั้น ซึ่งมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ภายใน 5 ปี

-????????? Hysterectomy: เพิ่มคุณภาพชีวิตได้ภายหลังการรักษา เนื่องจากตัดมดลูกออกไปทั้งหมด ทำให้ไม่มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก และไม่มีอาการแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดอีก

-????????? Myolysis: ใช้ไฟฟ้าผ่านเข็มหรือ Laser

-????????? Uterine Arteries Embolization: ฉีดสารเพื่ออุดตันเส้นเลือดแดงที่มาเลี้ยงมดลูก ซึ่งก้อนเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกจะมีความไวต่อการขาดเลือดเฉียบพลัน จึงเกิดเนื้อตายโดยไม่มีการเกิดเส้นเลือดใหม่มาเลี้ยง และยังสามารถตั้งครรภ์ได้หลังการรักษา แต่มีข้อจำกัดและภาวะแทรกซ้อนได้แก่ ต้องใช้แพทย์ผู้ชำนาญในการทำ อาจเกิดภาวะ Post-embolization syndrome, sepsis,bowel necrosis, ovarian failure, prolapse fibroid และอาจพบว่าการรักษาไม่ได้ผลถึง 10%

  1. 2.????? Follow up plan
    1. นัด 2 weeks OPD gynecology เพื่อฟังผล endometrial sampling

-????????? ผล???? secretory phase ไม่พบความผิดปกติ

และทำ hysteroscopy เพื่อวินิจฉัยหรือผ่าตัดก็ได้ถ้าหากว่าก้อนขนาดไม่ใหญ่มาก

  1. ติดตามผลว่ายังมีเลือดออกอยู่หรือไม่หลังจากรับประทานยาที่ให้ไปแล้ว 2 สัปดาห์

-????????? ผล???? เลือดหยุดไหลแล้ว

  1. ในผู้ป่วยรายนี้พิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการเลือกวิธีผ่าตัดนั้นต้องมีการคุยกับผู้ป่วยเกี่ยวกับแผนในอนาคตของผู้ป่วย ว่ายังต้องการมีบุตรอีกหรือไม่ หากผู้ป่วยยังมีความต้องการในการมีลูกอยู่จะเลือกวิธีผ่าตัดเป็น Myomectomy แต่หากผู้ป่วยไม่มีความต้องการจะมีบุตรแล้ว ก็อาจจะเลือกวิธี Hysterectomy เนื่องจากผู้ป่วยมีก้อนขนาดใหญ่และจะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดเป็นซ้ำได้อีก
  2. 3.????? การฟื้นฟูสุขภาพหลังผ่าตัด

หลังจากผู้ป่วยออกจากห้องผ่าตัดมาพักฟื้นในห้องผู้ป่วยแล้ว ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นรับประทานอาหารได้ไม่มีไข้ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ สามารถปัสสาวะ ถ่ายอุจจาระได้ปกติ สามารถให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ และให้คำแนะนำให้ผู้ป่วยงดการยกของหนักมากกว่าภายใน 6 สัปดาห์ หลังผ่าตัดเพื่อป้องกันการฉีกขาดของแผล งดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก คอยสังเกตความผิดปกติต่างๆที่เกิดขึ้น สังเกตความผิดปกติของแผลว่ามีเลือดออกผิดปกติ หรือมีอาการปวด บวม แดง ขึ้นหรือไม่ หรือมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด หรือคลำได้ก้อนอีก มีไข้ หรือปวดท้องมากขึ้น ให้รีบกลับมาพบแพทย์ หากไม่มีความผิดปกติใดๆ ก็ให้มาตามนัดเพื่อฟังผลการตรวจชิ้นเนื้อ

นอกจากนี้ควรแนะนำให้ผู้ป่วยตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม และตรวจมะเร็งปากมดลูกทุกปี

 

โจทย์ปัญหาเรื่อง Abnormal vaginal bleeding 3

obgyn

3.ให้กลุ่มนิสิตร่วมกันวิเคราะห์กำหนดปัญหาของผู้ป่วยและการวินิจฉัยแยกโรคตามลำดับความน่าจะเป็นจากมากไปน้อย

Problem list

1. hypermenorrhea and dysmenorrhea ?????????? 6 days PTA

2. slightly enlargement of uterus and tender at supra pubic area

3. infertility

4. history of appendectomy 7 years PTA

Differential Diagnosis

1.myoma uteri

2.adenomyosis

3.endometriosis

4.endometrial hyperplasia

5.endometrial polyps

6.ectopic pregnancy

7.abortion

โจทย์ปัญหาเรื่อง Abnormal vaginal bleeding 2

obgyn

2. ภายหลังจากที่ได้ประวัติเพิ่มเติมให้กลุ่มนิสิต ร่วมกันวิเคราะห์และแจ้งการตนรวจร่างกายที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้ป่วยเพื่อให้ได้แนวทางในการวินิจฉัย

ตรวจร่างกาย

V/S?????? BT 36.8 oC?????????????????? BP 110/80? mmHg

RR 16/min??????????????????? PR? 72 bpm

GA?????? ดูซีด obesity ตัวเหลือง : ไม่ซีดไม่เหลือง มีรูปร่างอ้วนท้วม

Skin????? ดู petechiae ecchymosis purpura ผิวแห้ง ผิวมัน? : ไม่มี petechiae ผิวมันเล็กน้อย

HEENT ดูซีด jaundice lid lag lid retraction exophthalmos lymph node tonsil pharynx buccal mucosa คลำต่อม thyroid : ไม่ซีดไม่เหลือง ปกติหมดเลย

BREAST?????????? no mass no nipple retraction no nipple discharge

CVS AND RESPIRATORY SYSTEM??????? ? normal

ABDOMEN?????? shape distention visible mass surgical scar sign of chronic liver disease bowel sound bruit คลำ mass tender guarding rebound tenderness คลำตับ ม้าม sign of ascites/distention surgical scar appendix นอกนั้นปกติ กดปวดเล็กน้อยตรง supra pubic area no ascites

PV??????? MIUB??????????????? normal

Cx??????????????????? no lesion

Vg??????????????????? normal

Ux??????????????????? slightly enlarge mild tender at Ux firm consistency

Adnexa??????????? no mass

cul-de-sac ????? no bulging

RV ?????? normal

PR ?????? normal

Extremities ????? capillary refill pitting edema/ normal

Neuro exam???? normal

โจทย์ปัญหาเรื่อง Abnormal vaginal bleeding 1

obgyn

โจทย์ปัญหา นาง ร.ด. อายุ37ปี มารับการตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอกด้วยเรื่องมีเลือกออกจากช่องคลอดผิดปกติ

คำสั่ง

1.ให้กลุ่มนิสิตแพทย์ร่วมกันวิเคราะห์และแจ้งการซักประวัติที่สำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้แนวทางในการวินิจฉัย

Clarifying term

  • เลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ คือภาวะที่มีเลือดออกจากช่องคลอดผิดไปจากระดูผิดปกติ

ระดูปกติปริมาณ interval duration คือ น้อยกว่า 80 ml ระยะห่าง 28 วัน duration 2-7 วัน สีแดงคล้ำไม่มีลิ่มเลือด

ซักประวัติ

  1. อาการนำ (chief complaint)

เลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ

  1. ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน (present illness)
  • ลักษณะของเลือดที่ออก มีลิ่มเลือดปนหรือไม่ : สีแดงมีก้อนเลือดปน
  • ปริมาณ ใช้ผ้าอนามัยกี่แผ่น : 2 วันแรกใช้ 10 แผ่น
  • จำนวนวันที่มีประจำเดือนเพิ่มขึ้นหรือลดลง : เดิมมี 3-5 วัน ปัจจุบันมา 6 วัน
  • เป็นมากี่วันแล้ว : 6 วัน
  • มีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ปวดท้อง มีไข้ ตกขาว คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะบ่อย ท้องอืด ท้องผูก ปวดท้องน้อยคัดตึงเต้านม : ปวดหน่วงท้องเล็กน้อย ไม่มีไข้ ตกขาวปกติ ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะปกติ ไม่มีท้องอืด อุจจาระปกติ ไม่มีคัดตึงเต้านม
  • น้ำหนัก อาหารการกิน ความเครียด : น้ำหนักคงที่ กินได้ตามปกติ เครียดเกี่ยวกับการทำงานบ้าง
  • สิว หน้ามัน : เล็กน้อย
  • แผลที่อวัยวะเพศ : ไม่มี
  • ปัสสาวะเป็นเลื่อด อุจจาระเป็นเลือด ปัสสาวะแสบขัด : ไม่มี
  • การพบแพทย์ก่อนหน้า : ไม่เคยหาแพทย์ที่ไหนมาก่อน

3. ประวัติทางนรีเวช

3.1 ประวัติระดู

  • ประจำเดือนที่ปกติก่อนหน้านี้ : สามถึงห้าวัน วันละ สามแผ่น
  • ประวัติประจำเดือนครั้งแรก ประจำเดือนครั้งสุดท้ายและก่อนครั้งสุดท้าย : LMP 36 วันก่อน PMP 66 วันก่อน menarche 14 years old
  • ความถี่ของการมีประจำเดือน : ทุก 30 วัน

3.2 ประวัติการมีเพศสัมพันธ์

  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ : ไม่เคย
  • การมีเพศสัมพันธ์ : สม่ำเสมอ 2 ครั้ง/สัปดาห์

3.3 ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอด

  • ประวัติบุตร : 2 คน คนแรก 5 ขวบ คนที่สอง 3 ขวบ
  • การตั้งครรภ์ : ตั้งครรภ์ปกติ คลอดปกติ

3.4 ประวัติการคุมกำเนิด

  • การคุมกำเนิด : ไม่คุมกำเนิด
  1. ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
  • การใช้ยา : ไม่ได้ใช้ยาอะไรเป็นประจำ
  • การได้รับอุบัติเหตุ ผ่าตัด : ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุรุนแรง เคยผ่าตัดไส้ติ่งเจ็ดปีก่อน
  • โรคประจำตัวที่มีอยู่เดิม : ไม่มี
  • เคยมีอาการเช่นนี้มาก่อนหรือไม่ : ไม่เคย
  1. ?ประวัติครอบครัวและสังคม
  • ประวัติโรคเลือดในครอบครัว : ไม่มี
  • การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ : ไม่มี
  • ประวัติโรคมะเร็งในครอบครัว : ไม่มี