ขอไปอบตัวอบสมุนไพร นวดหลังคลอดจะได้ไหม?

spa

? ? ? ? ? การไปอบสมุนไพร สามารถทำได้ ถ้ามีความพอดี เพราะความร้อนจะช่วยให้เลือดไหลเวียนดีและลดอาการยุบบวมและปวดแผลได้ แต่หากราคาค่าใช้จ่ายสูง ประโยชน์ที่ได้จะไม่คุ้มค่าเพราะมีหลายวิธีที่ใช้ค่าใช้จ่ายไม่สูงและได้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน ได้แก่ การอบแผลด้วยไฟอินฟราเรด การนั่งแช่แผลในน้ำอุ่น สำหรับการนวดหลังคลอด ไม่แนะนำเนื่องจากเพราะการปวดเมื่อยหลังคลอดที่เป็นมากคือ อาการปวดหลังมักเกิดจากการอุ้มทารกและให้นมในท่าที่ไม่เหมาะสม เป็นเวลานาน หลังโก่งมาก ก็จะเกิดอาการปวด การแก้ไขควรเริ่มจากการปรับท่าทางการให้นมและอุ้มทารกให้เหมาะสมก่อน ร่วมกับหากปวดหลังมากก็สามารถกินยาแก้ปวดพาราเซตามอลและทายาแก้อักเสบบริเวณสันหลัง อาการจะดีขึ้น จึงไม่แนะนำการนวดเพราะหากกดหรือนวดรุนแรงอาจก่อให้เกิดอาการปวดมากขึ้น มีผลเสียมากกว่าผลดี

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

กินยาขับน้ำคาวปลา ยาดองเหล้าให้มดลูกเข้าอู่เร็วจริงหรือไม่?

ท้อง

? ? ? ? ? ?การกินยาขับน้ำคาวปลา ไม่มีความจำเป็น เพราะกลไกในการหยุดเลือดและทำให้น้ำคาวปลาหมดไป คือการหดรดตัวของมดลูกและการเจริญของเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกปิดแผลจากการลอกตัวของรกซึ่งภาวะทั้งสองตามธรรมชาติหากไม่มีการติดเชื้อก็สามารถเกิดขึ้นเองได้ตามปกติตามระยะเวลาที่ควรจะเป็น การกินยาขับน้ำคาวปลาจึงไม่มีความจำเป็น นอกจากนี้การใช้ยาดองเหล้า เหล้าที่ผ่านทางน้ำนมมีผลเสียต่อทารกอีกด้วย

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ในการทำนายการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

breastfeeding1

Breastfeeding assessment score

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นี้ใช้ในการทำนายการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หัวข้อในการประเมิน

คะแนน

เกณฑ์การให้คะแนน

อายุมารดา

0

<21 ปี
 

1

21-24 ปี
 

2

>24 ปี
ประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

0

ล้มเหลว
 

1

ไม่มี
 

2

สำเร็จ
จำนวนครั้งในการเข้าเต้ายาก

0

ทุกครั้งที่ให้นมลูก
 

1

เข้าเต้ายากครึ่งหนึ่งของการให้นมลูก
 

2

เข้าเต้ายากน้อยกว่า 3 ครั้ง
ระยะห่างระหว่างการให้นมลูกแต่ละครั้ง

0

มากกว่า 6 ชั่วโมง
 

1

3-6 ชั่วโมง
 

2

น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
จำนวนนมผสมที่ได้รับในโรงพยาบาล

0

ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
 

1

1 ครั้ง
 

2

ไม่ได้รับนมผสม
เคยได้รับการผ่าตัดเต้านมมาก่อน

-2

เคย
 

0

ไม่เคย
มารดามีความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์

-2

มี
 

0

ไม่มี
มารดาคลอดบุตรโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศ

-2

ใช้เครื่องดูดสุญญากาศ
 

0

ไม่ใช้เครื่องดูดสุญญากาศ

 

การแปลผล หากคะแนนตั้งแต่ 8 มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่หลังคลอด 7-10 วันสูง (ร้อยละ 95) แต่หากคะแนนน้อยกว่า 8 มีโอกาสที่จะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ร้อยละ 21)1

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Hall RT, Mercer AM, Teasley SL, et al. A breast-feeding assessment score to evaluate the risk for cessation of breast-feeding by 7 to 10 days of age. The Journal of Pediatrics 2002;141:659-64.

โจทย์ปัญหาเรื่อง Abnormal vaginal bleeding 6

obgyn

6.ให้กลุ่มนิสิตร่วมกันให้คำปรึกษา แนะนำผู้ป่วยก่อนการรักษา

Counseling

  1. 1.????? การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคของผู้ป่วย

จากผลการวินิจฉัย ผู้ป่วยเป็นโรค myoma uteri คือมีเนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูกซึ่งเป็นชนิด benign gynecologic condition จะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าโรคที่ผู้ป่วยเป็นไม่ใช่เนื้อร้ายหรือมะเร็ง แม้จะมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งได้ แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากเพียง 0.5% เท่านั้น โดยมักพบบ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ คือช่วงอายุ 40-50 ปี? โรคเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ แต่ในผู้ป่วยบางรายก็จะมีอาการเช่นผู้ป่วยรายนี้ ซึ่งมีอาการเลือดออกผิดปกติและปวดประจำเดือน รวมถึงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากเนื้องอกไปรบกวนการฝังตัวของตัวอ่อนได้ ซึ่งในผู้ป่วยรายนี้มีอาการเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติชนิด menorrhagia คือ มีปริมาณระดูที่มากขึ้นอาการปวดระดูมากขึ้น ตรวจภายในพบ enlargement of uterus size about 14-16 weeks, firm consistency, mobile, smooth surface นอกจากนี้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ คือ การไม่มีบุตร เนื่องจากการไม่มีบุตรทำให้ต้องสัมผัสกับ estrogen เป็นเวลานาน ซึ่ง estrogen มีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดหรือทำให้โตขึ้นของเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ล้วนแต่เข้าได้กับลักษณะของโรคเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกทั้งสิ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยยังเป็นโรค adenomyosis คือ โรคที่มีการฝังตัวของเยื่อบุมดลูกในชั้นกล้ามเนื้อมดลูก ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคนี้นั้นมีการอธิบายไว้หลายทฤษฎี นั่นคืออาจเกิดจากการไหลย้อนกลับของประจำเดือนซึ่งมีเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ด้วยเข้าไปในช่องท้องและอุ้งเชิงกราน ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยในขณะที่มีประจำเดือน หรือบางทฤษฎีเชื่อว่าเกิดจากการเจริญของเยื่อบุมดลูกชั้นฐานล่างแทรกเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อ ซึ่งการเป็นโรคนี้ก็จะทำให้มีอาการ เลือดประจำเดือนออกมากและนาน มีอาการปวดระดูมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทั้งสองโรคที่ผู้ป่วยเป็นนั้น จากการซักประวัติและการตรวจร่างกายอาจแยกจากกันได้ยาก ดังนั้นจึงต้องมีการส่งตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ สำหรับการส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยในผู้ป่วยรายนี้นั้น คือ การทำ ultrasonography (แบบ transabdominal ultrasonography) เนื่องจากมีความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค ทำได้ง่าย ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก สำหรับ การรักษาโรคนี้นั้นมีหลายวิธีขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่นขนาด ตำแหน่งของก้อน อาการของผู้ป่วย ความพร้อมของผู้ป่วย,แพทย์,อุปกรณ์การรักษา เป็นต้น โดยการรักษาอาจทำได้ดังนี้ คือการเฝ้าสังเกตอาการ,การใช้ยาลดขนาดก้อนเนื้องอก การผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออก และการผ่าตัดเอามดลูกออก โดยแต่ละวิธีการรักษาจะมีข้อดี ข้อเสียและข้อบ่งชี้ในการรักษาแตกต่างกัน จึงต้องอธิบายให้ผู้ป่วยทราบและให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตัวเอง สำหรับในผู้ป่วยรายนี้ได้ตัดสินใจเลือกรับการรักษาโดยการผ่าตัดเอามดลูก,ท่อนำไข่ทั้งสองข้างออกทั้งหมด เนื่องจากมีข้อบางชี้ในการผ่าตัด และเพื่อต้องการให้หายขาด แพทย์จึงทำการผ่าตัดด้วยวิธี total laparoscopic hysterectomy with bilaterally salpingectomy โดยจะต้องอธิบายถึงวิธีเตรียมตัวก่อนผ่าตัด,ระหว่างผ่าตัด,หลังผ่าตัด และเฝ้าระวังดูแลภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดซึ่งผู้ป่วยรับทราบและให้ความยินยอมแล้ว

  1. 2.????? การอธิบายให้ความรู้เกี่ยวกับการพยากรณ์โรคหลังการรักษา

หลังจากทำการผ่าตัดเอามดลูก,ท่อนำไข่และรังไข่ทั้งสองข้างออกไปแล้วได้นำชิ้นเนื้อจากเนื้องอกส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อดูว่าก้อนนั้นเป็นเนื้อดีหรือเนื้อร้าย หากเป็น myoma uteri และ adenomyosis ตามที่ได้ให้การวินิจฉัยไปแล้วนั้น การรักษาโดยการผ่าตัดออกจะทำให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคนี้ได้แน่นอน แต่หากพบว่าเป็นเนื้อร้าย ก็อาจมีการกลับเป็นซ้ำได้อีก ซึ่งต้องติดตามให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามมีโอกาสเป็นไปได้น้อยที่จะเป็นเนื้อร้ายทั้งจากประวัติ ตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น และลักษณะก้อนที่มองเห็นด้วยตาเปล่า

facilitator: Pawin Puapornpong

 

 

 

 

 

ทำไมหลังคลอดแล้วอ้วนขึ้น?

?

ท้อง

? ? ? ? ?คุณแม่ก่อนคลอดจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 10-12 กิโลกรัม หลังคลอดจะลดลงประมาณ 6 กิโลกรัม จากนั้นจะลดลงเป็นปกติก่อนคลอดใน 6 เดือน ฉะนั้น หลังคลอดใหม่ๆ แน่นอนคุณแม่ย้งคงมีน้ำหนักมากกว่าตอนก่อนตั้งครรภ์อย่างแน่นอน แต่หากภายใน 6 เดือนแล้วน้ำหนักยังไม่กลับมาเป็นปกติ แสดงว่า น้ำหนักส่วนนั้นเป็นส่วนเกิน ซึ่งปกติจะแสดงให้เห็นจากหน้าท้องที่ใหญ่ขึ้นและหย่อนยาน ในคลอดปกติ สามารถบริหารหน้าท้องได้ทันทีหลังคลอด สำหรับการผ่าตัดคลอดการบริหารหน้าท้องต้องเริ่มหลังหนึ่งเดือน ดังนั้น หากจะป้องกันการมีน้ำหนักเกิน ควรเริ่มออกกำลังกายและบริหารหน้าท้องตามเวลาอย่างเหมาะสม

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)