การตรวจเต้านมด้วยตนเองหลังคลอด

breastfeeding3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง

-ควรตรวจเต้านมเดือนละครั้งในเวลาเดียวกันของเดือนเพื่อป้องกันการลืม

-การตรวจเต้านม หากยังเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรให้นมให้เต้านมลดการคัดตึงลงก่อน หากในรายที่มีประจำเดือนมาแล้ว ควรตรวจเต้านมในวันที่ 5-7 หลังมีประจำเดือน

-เต้านมหากพบคลำได้ก้อน ขณะให้นมลูก ส่วนใหญ่จะเป็นก้อนจากน้ำนมขังซึ่งจะหายไปเอง หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์

การบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดหลังคลอด

breastfeeding3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอด

หลังคลอดคุณแม่สามารถบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดได้เลย เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อนี้กระชับขึ้น การบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดจะทำโดยการขมิบช่องคลอด หากไม่ทราบว่าขมิบอย่างไร สังเกตจากขณะปัสสาวะ หากทำการขมิบจะกลั้นปัสสาวะปัสสาวะได้ หยุดขมิบจะปัสสาวะต่อได้ การขมิบหรือเกร็งกล้ามเนื้อจะทำสองถึงสามวินาทีและผ่อนคลาย ทำเป็นชุดต่อเนื่องกันชุดละ 5 ครั้ง วันละ 50-100 ชุด การบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดต้องทำอย่างต่อเนื่องทุกวัน จะทำให้กล้ามเนื้อช่องคลอดแข็งแรงและกระชับดีขึ้น

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

breastfeeding3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

หลังคลอดคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาจมีอาการเสียใจ ร้องไห้โดยไม่สมเหตุสมผล และไม่สามารถรับได้กับการต้องนำลูกมาเลี้ยง สิ่งเหล่านี้ต้องการการเอาใจใส่จากคุณพ่อและครอบครัว สนับสนุน ช่วยเหลือในด้านต่างๆ รวมทั้งการดูแลลูก อาการเหล่านี้มักค่อยๆ ดีขึ้นและหายเองโดยไม่ต้องใช้ยา หากอาการเป็นอยู่นานกว่า 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์

การปฏิบัติตัวหากไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอด

 

breastfeeding3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

หากไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอด มีข้อแนะนำการปฏิบัติตัวดังนี้

-คุณแม่ควรใส่ชุดชั้นในให้แน่นกระชับพอเหมาะ

-หลีกเลี่ยงการกระตุ้นเต้านม และอาจประคบเย็นเพื่อความสบายหากตึงปวด

-อาจใช้ยาแก้ปวดร่วมด้วยในกรณีมีอาการปวดมาก

-ไม่แนะนำให้ใช้ยากดการสร้างน้ำนม

การปฏิบัติตัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

breastfeeding3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? หากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีข้อแนะนำดังนี้

-กระตุ้นให้ลูกกินนมทุกครั้งที่ลูกต้องการ

-ล้างมือให้สะอาดก่อนให้นมลูก

-ทำความสะอาดเต้านมด้วยน้ำอุ่นสะอาด

-กระตุ้นให้ลูกดูดนมวันละ 8-12 ครั้ง ครั้งละ 10-15 นาที เพื่อให้มีการสร้างน้ำนมที่เพียงพอและฝึกให้ทารกดูดนมแม่ตามเวลา

-หลีกเลี่ยงการให้น้ำหรือนมผสม หากไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

-ควรติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยปรึกษาที่คลินิกนมแม่ในช่วง 3-5 วันหลังคลอด และติดตามอีกครั้ง 2-3 สัปดาห์หลังคลอด

-ควรปรึกษาแพทย์หากพบว่าทารกมีน้ำหนักลด หรือน้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์กำหนด

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)