การวิจัยในปัจจุบันเกี่ยวกับการสร้างน้ำนม

PICT0031รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? จากข้อมูลหลักฐานในปัจจุบันให้การสนับสนุนว่า มีสารที่มีผลการการสร้างในน้ำนมอยู่ในน้ำนม ซึ่งได้แก่ โปรตีนเวย์ (whey) ที่ทำหน้าที่ควบคุมเป็นกลไกย้อนกลับ (feedback inhibitor of lactation) ในกรณีที่มีน้ำนมอยู่ในเต้านมจะควบคุมให้ผลิตน้ำนมน้อย ในกรณีที่น้ำนมเกลี้ยงเต้าจะควบคุมให้ผลิตน้ำนมมาก สำหรับปริมาณของไขมันในน้ำนมยังมีการเปลี่ยนแปลงตามปริมาณน้ำนมในเต้านมด้วย ปริมาณไขมันในน้ำนมจะมากหากน้ำนมเกลี้ยงเต้า และปริมาณไขมันในน้ำนมจะน้อยหากน้ำนมในเต้านมมีมาก ซึ่งส่วนประกอบของนมยังมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาระหว่างวันและขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างวันด้วย1

ความสามารถในการเก็บน้ำนมในเต้านมเป็นกลไกหนึ่งที่ส่งผลต่อการให้นมแม่ ความสามารถในการเก็บน้ำนมในเต้านมไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะภายนอก แต่ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของต่อมน้ำนมและสัดส่วนของไขมันในเต้านม ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในมารดาแต่ละคน และมีความแตกต่างในเต้านมแต่ละข้างด้วย ในมารดาที่มีความสามารถในการเก็บน้ำนมในเต้านมได้มาก หากทารกดูดนมจนเกลี้ยงเต้าจะได้ปริมาณน้ำนมมาก ระยะห่างของการให้นมจะนาน ในมารดาที่มีความสามารถในการเก็บน้ำนมในเต้านมได้น้อย เมื่อทารกดูดนมจนหมดเต้าจะได้ปริมาณน้ำนมน้อยกว่า ความถี่ของการให้นมจึงต้องบ่อยขึ้น อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการเก็บน้ำนมในเต้านมไม่ได้เป็นตัวตัดสินความเพียงพอของน้ำนมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะแม้ความสามารถในการเก็บน้ำนมจะน้อย แต่เมื่อให้บ่อยขึ้น ร่างกายจะผลิตน้ำนมได้เร็วขึ้นจนมีปริมาณเพียงพอ ดังนั้นในการให้นมกับทารกจึงมักให้ตามที่ทารกต้องการ

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

 

 

การเปลี่ยนแปลงของเต้านมจากช่วงตั้งครรภ์ถึงระยะให้นมบุตร

PICT0031

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เต้านมจะมีการเปลี่ยนแปลงในระยะตั้งครรภ์ในสองช่วงหลัก คือระยะสร้างต่อมน้ำนม (mammogenesis) และระยะสร้างน้ำนม (lactogenesis)

ในระยะสร้างต่อมน้ำนม (mammogenesis) จะเริ่มเมื่อตั้งครรภ์ โดยจะมีการสร้างเซลล์สร้างน้ำนมที่มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกันพร้อมกับมีการแตกแขนงของท่อน้ำนมออกมากขึ้นในเนื้อเยื่อเต้านม เต้านมจะขยาย ตึงคัดและเจ็บ หัวนมจะมีสีเข้ม คล้ำขึ้น

ในระยะสร้างน้ำนม จะเริ่มประมาณ 16-20 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ โดยจะมีการสร้างโปรตีนและเอนไซม์ที่จำเป็นในการสร้างและหลั่งน้ำนม1 ระยะแรกจะเรียกเป็นระยะสร้างน้ำนมระยะที่ 1 ระยะนี้ต่อมเต้านมจะมีความพร้อมในการสร้างน้ำนมซึ่งเซลล์สร้างน้ำนมจะมีการสะสมไขมัน น้ำตาลแลคโตส เคซีน (casein) ?และอัลฟาแลคโตอัลบูมิน (?-lactoalbumin)2 อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการตั้งครรภ์จะไม่มีการหลั่งน้ำนมเนื่องจากมารดาจะมีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนที่สร้างจากรกสูงคอยยับยั้งการหลั่งน้ำนม ระยะสร้างน้ำนมระยะที่ 2 เมื่อมีการคลอดรก ระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนจะลดลงในทันทีในขณะที่มีฮอร์โมนโปรแลคตินสูง จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างหัวน้ำนม เกิดอาการตึงคัดเต้านม องค์ประกอบของน้ำนมจะเปลี่ยนแปลงโดยมีปริมาณโซเดียมและคลอไรด์ลดลง มีปริมาณน้ำตาลแลคโตสสูงขึ้น สำหรับปริมาณภูมิคุ้มกันและแลตโตเฟอริน (lactoferrin) จะมีปริมาณสูงในช่วงแรกหลังคลอดและลดความเข้มข้นลงเมื่อปริมาณน้ำนมสูงขึ้น ระยะสร้างน้ำนมระยะที่สองจะอยู่ในช่วงหลังคลอด 3-7 วัน ในระยะนี้การสร้างน้ำนมจะสัมพันธ์กับฮอร์โมนที่ลดลงเป็นหลัก3 ระยะสร้างน้ำนมระยะที่ 3 ปริมาณน้ำนมจะสัมพันธ์กับการกระตุ้นโดยการดูดนมวันละ 8-12 ครั้ง และการให้นมจนเกลี้ยงเต้า การให้นมห่างหรือปริมาณแต่ละครั้งน้อย มีน้ำนมค้างอยู่ในเต้านมจะทำให้มีการสร้างน้ำนมน้อยลง

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Neville MC, Morton J. Physiology and endocrine changes underlying human lactogenesis II. J Nutr 2001;131:3005S-8S.

2.???????? Neville MC, Morton J, Umemura S. Lactogenesis. The transition from pregnancy to lactation. Pediatr Clin North Am 2001;48:35-52.

3.???????? Kulski JK, Hartmann PE, Martin JD, Smith M. Effects of bromocriptine mesylate on the composition of the mammary secretion in non-breast-feeding women. Obstet Gynecol 1978;52:38-42.

การเก็บรักษานมแม่

นมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ขั้นตอนการเก็บรักษานมแม่เป็นส่วนสำคัญในการดูแลทารกที่มารดามีความจำเป็นต้องแยกจากกันหรือมีปัญหาในการให้นม มารดาที่ต้องกลับเข้าทำงาน มารดาที่มีทารกที่ต้องอยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤต หรือทารกคลอดก่อนกำหนด ในอุณหภูมิห้องโดยปกติจะเก็บน้ำนมแม่ไว้ได้ 4-6 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับอยู่ในฤดูใด การเก็บนมแม่ไว้ในถุงนมแม่แช่กระติกน้ำแข็งสามารถเก็บไว้ได้ 24 ชั่วโมง ซึ่งจะใช้ประโยชน์นี้ในการเคลื่อนย้ายหรือนำเก็บนมแม่ หากเก็บไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสจะเก็บได้ 4 วัน ในกรณีที่มีน้ำนมมากการเก็บไว้ในช่องแช่แข็งในตู้เย็นที่มีประตูปิดรวมจะเก็บไว้ได้ 2 สัปดาห์ และหากต้องการเก็บไว้นานการเก็บไว้ในช่องแช่แข็งในตู้เย็นที่มีประตูปิดแยกส่วนจะเก็บไว้ได้ 3-6 เดือน1 การให้นมแม่จากเต้าแม้จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเพราะได้สารอาหารและภูมิคุ้มกันที่สดใหม่ในคุณค่าที่สูงที่สุด ช่วยเสริมสร้างความผูกพันระหว่างมารดาและทารก แต่เมื่อมีความจำเป็นต้องเก็บนมไว้หรือทำเป็นธนาคารนมแม่ ควรเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสมตามหลักการเก็บ ซึ่งจะทำให้น้ำนมแม่ยังคงคุณค่าและมีประโยชน์ต่อทารก

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

 

 

อาการผิดปกติที่ควรปรึกษาแพทย์หลังคลอด

breastfeeding3-300x225

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

อาการผิดปกติที่ควรปรึกษาแพทย์

-แผลฝีเย็บปวดมากขึ้น มีหนองหรือมีกลิ่นเหม็น หากผ่าตัดคลอด แผลผ่าตัดคลอดซึมหรือแยก

-มีเลือดออกจากช่องคลอดชุ่มผ้าอนามัยภายในหนึ่งชั่วโมง

-มีอาการปวดเกร็งท้องน้อยรุนแรง

-มีน้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น

-มีอาการปวดบริเวณแผล มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อนและกดเจ็บ

-มีไข้สูงตั้งแต่ 39 องศาเซลเซียส

-มีคลื่นไส้อาเจียนรุนแรงหรือนาน 12 ชั่วโมง

-มีอาการปวดและอักเสบแดงที่น่อง

-มีอาการแน่นหน้าอก

-มีอาการหายใจเร็วหรือหอบ

-มีปัสสาวะแสบขัดหรือปัสสาวะเป็นเลือด

-มีอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว

-เต้านมมีอาการปวด บวม แดง กดเจ็บ อาจมีไข้หรือปวดเมื่อยตัวร่วมด้วย

 

การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด

การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การมีเพศสัมพันธ์

-หลังคลอดคุณแม่จะมีน้ำคาวปลาซึ่งการเริ่มการมีเพศสัมพันธ์จะสามารถทำได้เมื่อน้ำคาวปลาลดลงไม่มีสีน้ำตาลแล้ว และคุณแม่ไม่มีอาการปวดแผล หากยังให้นมลูกอย่างเดียวอยู่ ประจำเดือนยังไม่มา ในระยะสามเดือนแรก การให้นมลูกจะช่วยยับยั้งการตกไข่และช่วยคุมกำเนิด แต่หากมีประจำเดือนมาแล้วควรคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)