ปัจจัยของทารกที่ส่งผลต่อน้ำนมมาช้า

PICT0031

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??? ปัจจัยด้านทารกที่มีผลต่อน้ำนมมาช้า ได้แก่

-????????? การคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ

-????????? ทารกอยู่ไม่สุข หรือง่วงซึม และปฏิเสธการดูดนม

-????????? การใช้นมผสมเลี้ยงทารก

-????????? การคาบและอมหัวนม (attachment) พร้อมลานนมไม่เหมาะสม

-????????? การจัดท่าในการเข้าเต้าไม่เหมาะสม

-????????? ภาวะลิ้นติด

-????????? ภาวะตัวเหลือง

-????????? ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของทารก

 

ปัจจัยของมารดาที่ส่งผลต่อน้ำนมมาช้า

PICT0031

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????? ปัจจัยด้านมารดาที่ส่งผลต่อน้ำนมมาช้า ได้แก่

-????????? การคลอดที่เนิ่นนานเกิน 14 ชั่วโมง

-????????? การผ่าตัดคลอด

-????????? มารดาที่คลอดบุตรคนแรก

-????????? มารดาที่มีหัวนมบอด

-????????? การเจ็บหัวนมของมารดา

-????????? ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีในครรภ์ก่อน

-????????? ประวัติการผ่าตัดเต้านม

-????????? เบาหวาน

-????????? ภาวะอ้วน

-?????????? ครรภ์แฝด

-?????????? การสูบบุหรี่

 

น้ำนมมาช้า

PICT0031

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? การมีน้ำนมมาช้า หมายถึง การที่น้ำนมเริ่มมาช้าเกิน 72 ชั่วโมงหลังคลอด มีการศึกษาว่า มารดาที่มีภาวะเครียดในช่วงรอคลอดและระหว่างคลอดจะสัมพันธ์กับการมีน้ำนมมาช้า การผ่าตัดคลอดและมารดาที่คลอดลูกคนแรกเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการมีน้ำนมมาช้า1 ภาวะเครียดระหว่างการคลอดทารกที่คลอดยาก จำเป็นต้องได้รับยาแก้ปวดมากหรือได้รับยาระงับความรู้สึกจะส่งผลให้ทารกที่คลอดเหนื่อยอ่อนและง่วงนอน การกระตุ้นดูดนมแม่จึงทำได้น้อยกว่า การระบายน้ำนมแม่ออกจากเต้าน้อยกว่า ประสิทธิภาพการสร้างน้ำนมจึงไม่ดี

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dewey KG, Nommsen-Rivers LA, Heinig MJ, Cohen RJ. Risk factors for suboptimal infant breastfeeding behavior, delayed onset of lactation, and excess neonatal weight loss. Pediatrics 2003;112:607-19.

 

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างน้ำนม

PICT0031

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำเป็นต้องเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็วและต้องมีความต่อเนื่องในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย ดังนั้น มารดาควรมีความรู้เรื่องประโยชน์และวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ระยะก่อนการคลอด โดยทั่วไปมักมีการจัดให้ความรู้มารดาและครอบครัวในระยะฝากครรภ์ซึ่งจะมีความรู้ที่ให้เกี่ยวกับการดูแลครรภ์รวมถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รายละเอียดของการให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะฝากครรภ์จำเป็นต้องให้ข้อมูลประโยชน์ของนมแม่และข้อจำกัดของนมผสม วิธีการที่จะทำให้เกิดการกระตุ้นการสร้างนมแม่หลังคลอด และการที่จะทำให้สามารถคงการให้นมแม่ได้อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือน

เมื่อถึงช่วงที่คลอดบุตรในขณะที่อยู่โรงพยาบาล ต้องมีการสนับสนุนและส่งเสริมให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งต้องมีทั้งการจัดบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม แพทย์และบุคลากรที่ดูแลต้องมีทัศนคติที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 และต้องพยายามฝึกให้มารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยตนเองก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ขั้นตอนการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เริ่มตั้งแต่ให้ผิวของทารกได้สัมผัสกับหน้าอกมารดาตั้งแต่ระยะแรกคลอด ให้ทารกได้กระตุ้นดูดนมภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด จัดให้ทารกอยู่ร่วมกับมารดาตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยมารดาจัดท่าทารกให้เหมาะสมในการเข้าเต้าและดูดนมแม่ มีการประเมินการเข้าเต้าเป็นระยะเพื่อให้การแก้ไขให้เข้าเต้าได้ดีขึ้นและใช้ติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงก่อนการจำหน่ายกลับบ้านโดยใช้วางแผนการติดตามมารดาเพื่อดูแลให้มารดาสามารถเลี้ยงลูกได้ด้วยนมแม่ภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด มีการเปิดช่องทางการให้คำปรึกษาที่หลากหลายทั้งทางสื่อออนไลน์ โทรศัพท์ และคลินิกนมแม่

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

 

 

กลไกน้ำนมพุ่ง

PICT0031

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? การไหลของน้ำนมจากเต้านมนั้นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งคือการหดรัดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อที่สานตัวกันอยู่ใน aveoli ที่สร้างและเก็บน้ำนม น้ำนมจะไหลออกจาก aveoli เข้าสู่ท่อน้ำนม จากนั้นไหลมารวมกันและออกมาที่หัวนม1 กลไกการหดรัดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อนี้ถูกระตุ้นโดยฮอร์โมนออกซิโตซินซึ่งสร้างจากสมองส่วนไฮโปธาลามัสและหลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหลังจากการดูดนม กลไกนี้จะช่วยให้ทารกดูดนมได้ง่ายขึ้น โดยชื่อเรียกในกลไกนี้เรียกว่า กลไกน้ำนมพุ่ง (milk ejection reflex) ในช่วงแรกของการกระตุ้นกลไกน้ำนมพุ่งจะไม่มีปัจจัยอื่นๆ รบกวน จึงตอบสนองต่อการดูดนมเป็นหลัก แต่ต่อมาปัจจัยด้านอาการปวด ความเครียด ความอาย และความวิตกกังวลสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการทำงานของสมองส่วนไฮโปธาลามัสซึ่งเป็นที่สร้างฮอร์โมนออกซิโตซิน จึงมีผลต่อกลไกน้ำนมพุ่งด้วย2

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.??????????? Newton M, Newton NR. The let-down reflex in human lactation. J Pediatr 1948;33:698-704.

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)