แฮพโตคอริน (Haptocorrin) ในนมแม่

นม1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในน้ำนมแม่จะมีโปรตีนที่เรียกว่า แฮพโตคอริน (Haptocorrin หรือ transcobalamin II) โปรตีนนี้พบในปริมาณน้อยในน้ำนม มีหน้าที่สำคัญในการจับกับวิตามินบี 121 โดยเมื่อจับกับวิตามินบี 12 จะมีฤทธิ์ในการต้านการติดเชื้อ2,3 นอกจากนี้แฮพโตคอริน (Haptocorrin หรือ transcobalamin II) ยังกระตุ้นการดูดซึมของวิตามินบี 12 ในลำไส้ด้วย1

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Adkins Y, Lonnerdal B. Mechanisms of vitamin B(12) absorption in breast-fed infants. J Pediatr Gastroenterol Nutr 2002;35:192-8.

2.???????? Gullberg R. Possible influence of vitamin B12-binding protein in milk on the intestinal flora in breast-fed infants. I. B12-binding proteins in human and bovine milk. Scand J Gastroenterol 1973;8:497-503.

3.???????? Adkins Y, Lonnerdal B. Potential host-defense role of a human milk vitamin B-12-binding protein, haptocorrin, in the gastrointestinal tract of breastfed infants, as assessed with porcine haptocorrin in vitro. Am J Clin Nutr 2003;77:1234-40.

?

?

 

อัลฟราแลคตาบูมิน (?-lactalbumin) ในนมแม่

นม1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในนมแม่จะมีโปรตีนที่เรียกว่า อัลฟราแลคตาบูมิน (?-lactalbumin) ประกอบอยู่ถึงร้อยละ 25-35 ของโปรตีนทั้งหมดซึ่งเป็นปริมาณที่สูง1 โดยในอัลฟราแลคตาบูมิน (?-lactalbumin) จะมีกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารก อัลฟราแลคตาบูมิน (?-lactalbumin) จะมีฤทธิ์เป็นพรีไบโอติกคือ ช่วยในการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ ได้แก่ Bifidobacteria มีการศึกษาที่เชื่อว่า อัลฟราแลคตาบูมิน (?-lactalbumin) อาจเป็นสารตั้งต้นให้แบคทีเรียย่อยสลายเปลี่ยนเป็นเปปไตด์ที่ออกฤทธิ์ต้านการติดเชื้อได้2

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Lonnerdal B, Lien EL. Nutritional and physiologic significance of alpha-lactalbumin in infants. Nutr Rev 2003;61:295-305.

2.???????? Pellegrini A, Thomas U, Bramaz N, Hunziker P, von Fellenberg R. Isolation and identification of three bactericidal domains in the bovine alpha-lactalbumin molecule. Biochim Biophys Acta 1999;1426:439-48.

?

?

 

การเก็บรักษาและการพาสเจอร์ไรส์ (pasteurization) นมแม่

นม1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในปัจจุบัน มีการแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือน โดยหลังจากนั้นควรเสริมอาหารและอาจให้นมแม่ต่อไปนาน 1-2 ปีได้ แล้วแต่ความต้องการของมารดาและทารก อาชีพของมารดาหากเป็นลูกจ้าง พนักงานบริษัท หรือข้าราชการ เมื่อลาคลอดจนครบกำหนดแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ประมาณ 3 เดือน มารดามีความจำเป็นต้องกลับไปทำงาน การเก็บน้ำนมเพื่อให้ทารกสามารถกินแม่อย่างเดียวได้ครบหกเดือนจึงมีความจำเป็น การนำนมแม่แช่ตู้เย็นเพื่อการเก็บรักษาจะทำให้มีน้ำนมให้กับทารกในช่วงที่มารดาไปทำงาน อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการการเก็บรักษานั้น สารอาหารบางอย่างในนมแม่จะลดลงหรือสูญเสียไป โดยเฉพาะวิตามิน c ซึ่งจะมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็ว แม้ในน้ำนมแม่ที่เก็บใหม่หากตั้งทิ้งไว้ปริมาณวิตามิน c ยังลดลง1 นอกจากนี้ เมื่อเก็บไว้เป็นเวลานานหรือในกระบวนการการทำการละลายนมแม่จากการแช่แข็ง ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อจะลดลง

??????????? ในหลายประเทศเริ่มจะมีการบริการธนาคารนมแม่หรือการให้บริจาคนมแม่ ในการแบ่งปันนมแม่นั้นมีสิ่งที่วิตกกังวลคือการติดเชื้อจากนมแม่ การป้องกันการติดเชื้อจึงมีการพาสเจอร์ไรส์นมแม่ด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่

??????????? -การให้ความร้อนโดยใช้อุณหภูมิสูงในเวลาสั้น (high-temperature short-time heating หรือ HTST heating) จะใช้ความร้อนที่ 72 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 15 วินาที

??????????? Holder pasteurization จะใช้ความร้อนที่ 62.5 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 นาที หรือเรียก low-temperature long-time heating (LTLT heating)

??????????? Flash pasteurization เป็นวิธีที่พัฒนามาเพื่อใช้อย่างง่ายๆ ที่บ้าน โดยนำขวดนมแก้วขนาด 50-150 มิลลิลิตร ใส่ที่ภาชนะที่จะต้มน้ำร้อนโดยใส่น้ำร้อนให้สูงกว่าระดับของนมในขวดประมาณสองนิ้วมือ ต้มน้ำในภาชนะที่ใส่จนเดือดเห็นฟองปุด นำขวดนมแก้วออกมาแช่น้ำเย็นจนอุณหภูมินมเท่ากับอุณหภูมิห้อง แล้วปิดฝาขวดนม วิธีนี้จะเก็บรักษานมได้ 6 ชั่วโมง และช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ได้

??????????? อย่างไรก็ตาม การพาสเจอร์ไรส์จะส่งทำลายโปรตีนในน้ำนมมากกว่าสารอื่นๆ สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ลดปริมาณลงได้แก่ secretory immunoglobulin A, lysosome, bile salt-stimulating lipase (BSSL) , Transforming growth factor (TGF)-? และ adiponectin2,3 การพาสเจอร์ไรส์แต่ละวิธีมีผลต่อโปรตีนในน้ำนมแตกต่างกัน การใช้วิธีการต้มน้ำนมจะทำลายโปรตีนในน้ำนมมากที่สุด โดยมากกว่าวิธี Holder pasteurization หรือ HTST heating สำหรับการใช้วิธี flash pasteurization ยังคงรักษาคุณสมบัติของการต้านการติดเชื้อของน้ำนมไว้ได้4 การเข้าใจถึงประโยชน์ของวิธีการเก็บรักษานมในแต่ละวิธีจะทำให้มารดาเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือนสูงขึ้น

?

หนังสืออ้างอิง ?

1.???????? Cabrera-Rubio R, Collado MC, Laitinen K, Salminen S, Isolauri E, Mira A. The human milk microbiome changes over lactation and is shaped by maternal weight and mode of delivery. Am J Clin Nutr 2012;96:544-51.

2.???????? Peroni DG, Piacentini GL, Bodini A, Pigozzi R, Boner AL. Transforming growth factor-beta is elevated in unpasteurized cow’s milk. Pediatr Allergy Immunol 2009;20:42-4.

3.???????? Ewaschuk JB, Unger S, O’Connor DL, et al. Effect of pasteurization on selected immune components of donated human breast milk. J Perinatol 2011;31:593-8.

4.???????? Chantry CJ, Wiedeman J, Buehring G, et al. Effect of flash-heat treatment on antimicrobial activity of breastmilk. Breastfeed Med 2011;6:111-6.

?

?

 

โอลิโกแซคคาไรด์ (Oligosaccharide) ในนมแม่

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? โอลิโกแซคคาไรด์ (Oligosaccharide) ในนมแม่จะมีปริมาณน้ำตาลในส่วนประกอบตั้งแต่ 3-32 ตัว ซึ่งโอลิโกแซคคาไรด์ในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน1,2โดยปริมาณของโอลิโกแซคคาไรด์ที่พบในนมแม่จะมีปริมาณมากใกล้เคียงกับปริมาณของโปรตีนในน้ำนม โอลิโกแซคคาไรด์เป็นสารที่เป็นพรีไบโอติก (prebiotic) ที่จะเป็นสารที่ช่วยในการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่เรียกว่าโปรไบโอติก (probiotic) นอกจากนี้โอลิโกแซคคาไรด์ยังจับกับเชื้อโรคและถูกย่อยสลายไป ซึ่งเป็นการช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ เชื้อโรคแต่ละชนิดจะจับกับโอลิโกแซคคาไรด์ที่เฉพาะที่มารดาแต่ละคนจะสร้างโอลิโกแซคคาไรด์ที่แตกต่างกันตามลักษณะทางพันธุกรรมของมารดา1,2 ในน้ำนมไม่ได้ปราศจากเชื้อ เนื่องจากจะมีแบคทีเรียบางชนิดเจริญอยู่ในน้ำนม โอลิโกแซคคาไรด์จะมีผลต่อแบคทีเรียในน้ำนมและมีผลต่อชนิดของแบคทีเรียในลำไส้ของทารกด้วย3,4

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Newburg DS, Ruiz-Palacios GM, Morrow AL. Human milk glycans protect infants against enteric pathogens. Annu Rev Nutr 2005;25:37-58.

2.??????????? Morrow AL, Ruiz-Palacios GM, Jiang X, Newburg DS. Human-milk glycans that inhibit pathogen binding protect breast-feeding infants against infectious diarrhea. J Nutr 2005;135:1304-7.

3.??????????? Hunt KM, Foster JA, Forney LJ, et al. Characterization of the diversity and temporal stability of bacterial communities in human milk. PLoS One 2011;6:e21313.

4.??????????? Cabrera-Rubio R, Collado MC, Laitinen K, Salminen S, Isolauri E, Mira A. The human milk microbiome changes over lactation and is shaped by maternal weight and mode of delivery. Am J Clin Nutr 2012;96:544-51.

?

?

 

สารที่ออกฤทธิ์ป้องกันการติดเชื้อในนมแม่

 

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การป้องกันการติดเชื้อของนมแม่ มีการศึกษาในทารกที่ไม่ได้กินนมแม่พบว่ามีความเสี่ยงในการเกิดท้องเสียสูงกว่าทารกที่กินนมแม่ถึง 9 เท่า1 ทารกแรกเกิดระบบภูมิคุ้มกันยังไม่สมบูรณ์ต้องพึ่งพากลไกการป้องกันเชื้อโรคจาก antibody ของมารดา antibody ที่สำคัญที่อยู่ในนมแม่ในระยะแรก คือ secretory immumoglobulin A(sIgA) สำหรับ immunoglobulin G (IgG) และ immunoglubolin M (IgM) พบเพิ่มขึ้นในนมแม่ระยะหลัง2-4

นอกจากนี้ ยังมีสารประกอบในนมแม่อีกหลายตัวที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ ได้แก่

lactoferrin ที่เป็น glycoprotein ที่จับกับธาตุเหล็กออกฤทธิ์ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา5-7

lactadherin เป็น glycoprotein อีกชนิดหนึ่งที่ออกฤทธิ์ป้องกันการติดเชื้อ Rotavirus8 และหลังการติดเชื้อ lactadherin จะเป็นตัวกลางในการกระตุ้นให้เกิดการจับกิน (phagocytosis) ของเซลล์ที่เสียชีวิตแล้วทำให้การอักเสบลดลง9,10 และช่วยรักษาการอักเสบของลำไส้ทำให้สภาพของลำไส้ดีขึ้น11,12

Bile salt?stimulating lipase (BSSL) เป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นเอนไซม์ในการย่อยสลายไขมันในน้ำนมซึ่งจะให้พลังงานกับทารก13 BSSL ในน้ำนมจะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัส รวมทั้งไวรัส HIV และ Norwalk โดย BSSL จะจับการ dendritic cell ป้องกันการติดเชื้อผ่าน CD4+ T cell14,15 ?

Mucin สร้างจากเซลล์ที่อยู่ในกระแสเลือดมารดา16 โดยทำหน้าป้องกันการติดเชื้อในทารก mucin1 (muc1) จะป้องกันการติดเชื้อ HIV และ rotavirus17,18 สำหรับ mucin1 (muc1) และ mucin 4 (muc4) จะป้องกันการติดเชื้อ Salmonella enteric serovar typhimurium และไวรัส Norwalk19,20

?

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Strand TA, Sharma PR, Gjessing HK, et al. Risk factors for extended duration of acute diarrhea in young children. PLoS One 2012;7:e36436.

2.??????????? Brandtzaeg P. The mucosal immune system and its integration with the mammary glands. J Pediatr 2010;156:S8-15.

3.??????????? Kadaoui KA, Corthesy B. Secretory IgA mediates bacterial translocation to dendritic cells in mouse Peyer’s patches with restriction to mucosal compartment. J Immunol 2007;179:7751-7.

4.??????????? Corthesy B. Secretory immunoglobulin A: well beyond immune exclusion at mucosal surfaces. Immunopharmacol Immunotoxicol 2009;31:174-9.

5.??????????? Beljaars L, van der Strate BW, Bakker HI, et al. Inhibition of cytomegalovirus infection by lactoferrin in vitro and in vivo. Antiviral Res 2004;63:197-208.

6.??????????? Kuipers ME, de Vries HG, Eikelboom MC, Meijer DK, Swart PJ. Synergistic fungistatic effects of lactoferrin in combination with antifungal drugs against clinical Candida isolates. Antimicrob Agents Chemother 1999;43:2635-41.

7.??????????? Leitch EC, Willcox MD. Lactoferrin increases the susceptibility of S. epidermidis biofilms to lysozyme and vancomycin. Curr Eye Res 1999;19:12-9.

8.??????????? Newburg DS, Peterson JA, Ruiz-Palacios GM, et al. Role of human-milk lactadherin in protection against symptomatic rotavirus infection. Lancet 1998;351:1160-4.

9.??????????? Aziz M, Jacob A, Matsuda A, Wang P. Review: milk fat globule-EGF factor 8 expression, function and plausible signal transduction in resolving inflammation. Apoptosis 2011;16:1077-86.

10.????????? Shi J, Heegaard CW, Rasmussen JT, Gilbert GE. Lactadherin binds selectively to membranes containing phosphatidyl-L-serine and increased curvature. Biochim Biophys Acta 2004;1667:82-90.

11.????????? Kusunoki R, Ishihara S, Aziz M, Oka A, Tada Y, Kinoshita Y. Roles of milk fat globule-epidermal growth factor 8 in intestinal inflammation. Digestion 2012;85:103-7.

12.????????? Chogle A, Bu HF, Wang X, Brown JB, Chou PM, Tan XD. Milk fat globule-EGF factor 8 is a critical protein for healing of dextran sodium sulfate-induced acute colitis in mice. Mol Med 2011;17:502-7.

13.????????? Landberg E, Huang Y, Stromqvist M, et al. Changes in glycosylation of human bile-salt-stimulated lipase during lactation. Arch Biochem Biophys 2000;377:246-54.

14.????????? Stax MJ, Naarding MA, Tanck MW, et al. Binding of human milk to pathogen receptor DC-SIGN varies with bile salt-stimulated lipase (BSSL) gene polymorphism. PLoS One 2011;6:e17316.

15.????????? Naarding MA, Dirac AM, Ludwig IS, et al. Bile salt-stimulated lipase from human milk binds DC-SIGN and inhibits human immunodeficiency virus type 1 transfer to CD4+ T cells. Antimicrob Agents Chemother 2006;50:3367-74.

16.????????? Hettinga K, van Valenberg H, de Vries S, et al. The host defense proteome of human and bovine milk. PLoS One 2011;6:e19433.

17.????????? Saeland E, de Jong MA, Nabatov AA, Kalay H, Geijtenbeek TB, van Kooyk Y. MUC1 in human milk blocks transmission of human immunodeficiency virus from dendritic cells to T cells. Mol Immunol 2009;46:2309-16.

18.????????? Yolken RH, Peterson JA, Vonderfecht SL, Fouts ET, Midthun K, Newburg DS. Human milk mucin inhibits rotavirus replication and prevents experimental gastroenteritis. J Clin Invest 1992;90:1984-91.

19.????????? Parker P, Sando L, Pearson R, Kongsuwan K, Tellam RL, Smith S. Bovine Muc1 inhibits binding of enteric bacteria to Caco-2 cells. Glycoconj J 2010;27:89-97.

20.????????? Liu B, Yu Z, Chen C, Kling DE, Newburg DS. Human milk mucin 1 and mucin 4 inhibit Salmonella enterica serovar Typhimurium invasion of human intestinal epithelial cells in vitro. J Nutr 2012;142:1504-9.

?

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)