คลังเก็บป้ายกำกับ: การเก็บรักษาและการพาสเจอร์ไรส์ (pasteurization) นมแม่

การเก็บรักษาและการพาสเจอร์ไรส์ (pasteurization) นมแม่

นม1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในปัจจุบัน มีการแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือน โดยหลังจากนั้นควรเสริมอาหารและอาจให้นมแม่ต่อไปนาน 1-2 ปีได้ แล้วแต่ความต้องการของมารดาและทารก อาชีพของมารดาหากเป็นลูกจ้าง พนักงานบริษัท หรือข้าราชการ เมื่อลาคลอดจนครบกำหนดแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ประมาณ 3 เดือน มารดามีความจำเป็นต้องกลับไปทำงาน การเก็บน้ำนมเพื่อให้ทารกสามารถกินแม่อย่างเดียวได้ครบหกเดือนจึงมีความจำเป็น การนำนมแม่แช่ตู้เย็นเพื่อการเก็บรักษาจะทำให้มีน้ำนมให้กับทารกในช่วงที่มารดาไปทำงาน อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการการเก็บรักษานั้น สารอาหารบางอย่างในนมแม่จะลดลงหรือสูญเสียไป โดยเฉพาะวิตามิน c ซึ่งจะมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็ว แม้ในน้ำนมแม่ที่เก็บใหม่หากตั้งทิ้งไว้ปริมาณวิตามิน c ยังลดลง1 นอกจากนี้ เมื่อเก็บไว้เป็นเวลานานหรือในกระบวนการการทำการละลายนมแม่จากการแช่แข็ง ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อจะลดลง

??????????? ในหลายประเทศเริ่มจะมีการบริการธนาคารนมแม่หรือการให้บริจาคนมแม่ ในการแบ่งปันนมแม่นั้นมีสิ่งที่วิตกกังวลคือการติดเชื้อจากนมแม่ การป้องกันการติดเชื้อจึงมีการพาสเจอร์ไรส์นมแม่ด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่

??????????? -การให้ความร้อนโดยใช้อุณหภูมิสูงในเวลาสั้น (high-temperature short-time heating หรือ HTST heating) จะใช้ความร้อนที่ 72 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 15 วินาที

??????????? Holder pasteurization จะใช้ความร้อนที่ 62.5 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 นาที หรือเรียก low-temperature long-time heating (LTLT heating)

??????????? Flash pasteurization เป็นวิธีที่พัฒนามาเพื่อใช้อย่างง่ายๆ ที่บ้าน โดยนำขวดนมแก้วขนาด 50-150 มิลลิลิตร ใส่ที่ภาชนะที่จะต้มน้ำร้อนโดยใส่น้ำร้อนให้สูงกว่าระดับของนมในขวดประมาณสองนิ้วมือ ต้มน้ำในภาชนะที่ใส่จนเดือดเห็นฟองปุด นำขวดนมแก้วออกมาแช่น้ำเย็นจนอุณหภูมินมเท่ากับอุณหภูมิห้อง แล้วปิดฝาขวดนม วิธีนี้จะเก็บรักษานมได้ 6 ชั่วโมง และช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ได้

??????????? อย่างไรก็ตาม การพาสเจอร์ไรส์จะส่งทำลายโปรตีนในน้ำนมมากกว่าสารอื่นๆ สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ลดปริมาณลงได้แก่ secretory immunoglobulin A, lysosome, bile salt-stimulating lipase (BSSL) , Transforming growth factor (TGF)-? และ adiponectin2,3 การพาสเจอร์ไรส์แต่ละวิธีมีผลต่อโปรตีนในน้ำนมแตกต่างกัน การใช้วิธีการต้มน้ำนมจะทำลายโปรตีนในน้ำนมมากที่สุด โดยมากกว่าวิธี Holder pasteurization หรือ HTST heating สำหรับการใช้วิธี flash pasteurization ยังคงรักษาคุณสมบัติของการต้านการติดเชื้อของน้ำนมไว้ได้4 การเข้าใจถึงประโยชน์ของวิธีการเก็บรักษานมในแต่ละวิธีจะทำให้มารดาเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือนสูงขึ้น

?

หนังสืออ้างอิง ?

1.???????? Cabrera-Rubio R, Collado MC, Laitinen K, Salminen S, Isolauri E, Mira A. The human milk microbiome changes over lactation and is shaped by maternal weight and mode of delivery. Am J Clin Nutr 2012;96:544-51.

2.???????? Peroni DG, Piacentini GL, Bodini A, Pigozzi R, Boner AL. Transforming growth factor-beta is elevated in unpasteurized cow’s milk. Pediatr Allergy Immunol 2009;20:42-4.

3.???????? Ewaschuk JB, Unger S, O’Connor DL, et al. Effect of pasteurization on selected immune components of donated human breast milk. J Perinatol 2011;31:593-8.

4.???????? Chantry CJ, Wiedeman J, Buehring G, et al. Effect of flash-heat treatment on antimicrobial activity of breastmilk. Breastfeed Med 2011;6:111-6.

?

?