ความคาดหวังของหลักสูตรอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

นมแม่31

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เมื่อศึกษาหลักสูตรนี้แล้ว ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถ

??????????? -มีทักษะในการสื่อสารกับหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกแรกเกิด

??????????? -ฝึกเรียนรู้บันไดสิบขั้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมและยึดถือหลักปฏิบัติในเรื่องหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง (The International Code of

Marketing of Breast-milk Substitutes)

??????????? -อภิปรายกับหญิงตั้งครรภ์ถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และขอบเขตของการสนับสนุนการเริ่มต้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????? -ช่วยในการให้ทารกได้สัมผัสกับหน้าอกของมารดา (skin to skin contact) และเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ระยะแรก

??????????? -ช่วยเหลือมารดาให้สามารถจัดท่าในการให้นมลูก นำลูกเข้าเต้า และสามารถบีบน้ำนมด้วยมือได้

??????????? -อภิปรายกับมารดาว่าจะสามารถช่วยเหลือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างไรเมื่อมารดากลับไปอยู่ที่บ้าน

??????????? -อภิปรายถึงสิ่งที่จำเป็นเมื่อมารดาไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และสามารถส่งต่อมารดาไปรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

??????????? -จำแนกว่าปัจจัยใดสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และปัจจัยใดขัดขวางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????? -ทำงานร่วมกับทีมสหสาขาในการสืบหาอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และช่วยกันแก้ปัญหาอุปสรรคเหล่านั้น

หนังสืออ้างอิง

1.?????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

กลุ่มเป้าหมายของหลักสูตรอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

 

นมแม่31

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? หลักสูตรนี้เหมาะกับบุคลาการทางการแพทย์ที่ดูแลหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกแรกเกิด ซึ่งได้แก่ แพทย์ พยาบาล ผดุงครรภ์ ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานช่วยเหลือผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ นอกจากนี้หลักสูตรนี้สามารถใช้สอนนักศึกษาที่ต้องเตรียมตัวสำหรับการศึกษาในเรื่องความรู้และทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

วัตถุประสงค์ของหลักสูตรอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

นมแม่31

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? -เพื่อสร้างให้บุคลากรมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปรับเปลี่ยนและสร้างความพร้อมในการเป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกที่ใช้บันไดสิบขั้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????? -เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และสร้างความยั่งยืนในนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

?

 

หลักสูตรอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมงในบันไดสิบขั้นของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

นมแม่31

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? ปัจจุบันการรณรงค์เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่โรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนใส่ใจมากขึ้น นอกเหนือจากประโยชน์ที่เด่นชัดในการภูมิคุ้มกันโรคและป้องกันโรคหลายอย่าง ยังเป็นกระแสสังคมถึงความใส่ใจและเอาใจใส่ในการดูแลลูก สำหรับโรงพยาบาลที่ต้องการพัฒนาในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือน มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าการนำบันไดสิบขั้นของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ซึ่งในบันไดขั้นที่สองกำหนดไว้ว่า ต้องฝึกบุคลากรให้มีทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติตามนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หลักสูตรที่กำหนดไว้ ได้แก่ ?หลักสูตรอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง? ที่มีประเด็นสำคัญของหลักสูตรดังนี้

??????????? -นมแม่สำคัญสำหรับมารดาและทารก

??????????? -มารดาและทารกส่วนมากสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

??????????? -มารดาและทารกที่ไม่ได้ให้หรือได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเพิ่มเป็นพิเศษเพื่อให้ได้สุขภาพที่ดี

??????????? -การฝึกทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรในโรงพยาบาลจะช่วยให้สามารถจะให้การฝึกทักษะกับมารดาและทารกอย่างเป็นกันเอง

??????????? -การปฏิบัติตามนโยบายโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกจะช่วยทำให้เกิดแนวทางการปฏิบัติที่ดี

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

เคซีน (casein) ในนมแม่

นม1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? โปรตีนในน้ำนมแม่จะมีเคซีน (casein) เป็นส่วนประกอบ โดยรูปแบบของเคซีนชนิดเบต้าเคซีน (?-casein) จะเป็นรูปแบบเคซีนที่พบมากที่สุด ซึ่งจะทำหน้าที่ในการจับการแคลเซียมและช่วยในการดูดซึมของแคลเซียมในลำไส้1 ส่วนเคปป้าเคซีน (?-casein) เป็นเคซีนที่พบในปริมาณที่น้อย โดยทำหน้าป้องกันการจับของแบคทีเรีย Helicobacter pylori ที่จะเกาะกับผนังลำไส้2 ซึ่งแคปป้าเคซีนจะปฏิบัติตัวเหมือนเป็นตัวรับ (receptor) ของแบคทีเรีย3 ซึ่งแย่งการจับของแบคทีเรียกับผนังลำไส้ นอกจากนี้แคปป้าเคซีนยังกระตุ้นการดูดซึมของสังกะสีด้วย

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Sato R, Noguchi T, Naito H. Casein phosphopeptide (CPP) enhances calcium absorption from the ligated segment of rat small intestine. J Nutr Sci Vitaminol (Tokyo) 1986;32:67-76.

2.???????????? Stromqvist M, Falk P, Bergstrom S, et al. Human milk kappa-casein and inhibition of Helicobacter pylori adhesion to human gastric mucosa. J Pediatr Gastroenterol Nutr 1995;21:288-96.

3.???????????? Newburg DS. Do the binding properties of oligosaccharides in milk protect human infants from gastrointestinal bacteria? J Nutr 1997;127:980S-4S.

?

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)