คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การเสริมกรดไขมันในสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร

IMG_9441

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?กรดไขมัน โอเมก้า-3 เป็นกรดไขมันที่จำเป็นมีความสำคัญต่อมารดาและทารก พบในอาหารจำพวกปลาทะเลและปลาน้ำจืดบางชนิด โดยโอเมก้า-3 ประกอบด้วยสารที่สำคัญคือ?Eicosopentaenoic (EPA) และ Docosahexaenoic (DHA) ซึ่งสารอาหารนี้จำเป็นในการพัฒนาการของสมองส่วนกลางและพัฒนาระบบประสาทของทารก1 มีข้อมูลว่าสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับโอเมก้า-3 จะยืดอายุครรภ์ของสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้ ลดภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) และความผิดปกติของสมอง (cerebral palsy) ของทารก2 นอกจากนี้ DHA ยังมีผลต่อภูมิคุ้มกันและมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ3-5 มีการศึกษาว่าในสหรัฐอเมริกาพบว่าอาหารที่มารดารับประทานมีโอเมก้า-3 น้อยจึงควรเสริมโอเมก้า-3 ในหญิงตั้งครรภ์1 ?สำหรับในมารดาที่ให้นมบุตรกรดไขมันในน้ำนมจะสร้างจากต่อมน้ำนมโดยได้รับสารตั้งต้นมาจากอาหารและปริมาณกรดไขมันที่สะสมในร่างกายมารดา6-8 ซึ่งในต่างประเทศผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำให้เสริม DHA ขนาด 300-1000 มิลลิกรัมในสตรีที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร9,10

? ? ? ? ? ? ? ในประเทศไทยไม่มีข้อมูลถึงสภาวะของกรดไขมันโอเมก้า-3 และ DHA ในสตรีตั้งครรภ์และปริมาณที่มีในสารอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน ประโยชน์ของการเสริมสารอาหารเหล่านี้จะได้ต่อเมื่อหญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงในการขาดสารอาหารนี้ ดังนั้นการแนะนำขั้นต้นควรแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์รับประทานอาหารให้มีความหลากหลายและให้ความสำคัญกับอาหารที่มีโอเมก้า-3 สูง ส่วนการรับประทานน้ำมันปลาแคปซูล (fish oil) ที่มีส่วนประกอบของโอเมก้า-3 ยังขาดข้อมูลการศึกษาในประเทศไทย จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Dunstan JA, Simmer K, Dixon G, Prescott SL. Cognitive assessment of children at age 2(1/2) years after maternal fish oil supplementation in pregnancy: a randomised controlled trial. Arch Dis Child Fetal Neonatal Ed 2008;93:F45-50.
  2. McGregor JA, Allen KG, Harris MA, et al. The omega-3 story: nutritional prevention of preterm birth and other adverse pregnancy outcomes. Obstet Gynecol Surv 2001;56:S1-13.
  3. Ratnayake WM, Galli C. Fat and fatty acid terminology, methods of analysis and fat digestion and metabolism: a background review paper. Ann Nutr Metab 2009;55:8-43.
  4. Lu J, Jilling T, Li D, Caplan MS. Polyunsaturated fatty acid supplementation alters proinflammatory gene expression and reduces the incidence of necrotizing enterocolitis in a neonatal rat model. Pediatr Res 2007;61:427-32.
  5. Cotogni P, Muzio G, Trombetta A, Ranieri VM, Canuto RA. Impact of the omega-3 to omega-6 polyunsaturated fatty acid ratio on cytokine release in human alveolar cells. JPEN J Parenter Enteral Nutr 2011;35:114-21.
  6. Innis SM. Polyunsaturated fatty acids in human milk: an essential role in infant development. Adv Exp Med Biol 2004;554:27-43.
  7. Jensen CL, Voigt RG, Prager TC, et al. Effects of maternal docosahexaenoic acid intake on visual function and neurodevelopment in breastfed term infants. Am J Clin Nutr 2005;82:125-32.
  8. Brenna JT, Diau GY. The influence of dietary docosahexaenoic acid and arachidonic acid on central nervous system polyunsaturated fatty acid composition. Prostaglandins Leukot Essent Fatty Acids 2007;77:247-50.
  9. Carlson SE. Docosahexaenoic acid supplementation in pregnancy and lactation. Am J Clin Nutr 2009;89:678S-84S.
  10. Koletzko B, Cetin I, Brenna JT. Dietary fat intakes for pregnant and lactating women. Br J Nutr 2007;98:873-7.

?

?

?

 

การเสริมวิตามินดีในสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร

IMG_9483

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? วิตามินดี เป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมน ซึ่งนอกจากได้รับผ่านการรับประทานอาหารแล้ว ร่างกายยังสามารถสร้างได้เมื่อได้รับอุลตร้าไวโอเลต B จากแสงแดด อาหารที่มีวิตามินดี ได้แก่ ไขมันปลา เครื่องในสัตว์ ตับ และเห็ด วิตามินดีมีประโยชน์ในเรื่องความแข็งแรงของกระดูก เมตาบอริซึมของแคลเซียม และยังช่วยในเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน1-3 ป้องกันเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคกระดูกอ่อน (ricket) และมะเร็งหลายชนิด4 และในสตรีตั้งครรภ์ที่มีระดับวิตามินดีต่ำสัมพันธ์กับการผ่าตัดคลอดสูงขึ้น5 มีการศึกษาในต่างประเทศพบว่ามีความชุกของการขาดวิตามินดีในสตรีตั้งครรภ์ร้อยละ 17-62 และการขาดวิตามินดีในทารกแรกเกิดร้อยละ 6-62 โดยขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ ฤดูกาล อาหาร การเสริมวิตามินดี และการได้รับแสงแดด6 สำหรับในประเทศไทย ลักษณะการทำงานในอาคาร ค่านิยมการหลีกเลี่ยงแสงแดดเพิ่มมากขึ้น ความชุกของการขาดวิตามินดีก็น่าจะเพิ่มขึ้นคล้ายคลึงกัน โดยมีการศึกษาพบว่า ความชุกของการขาดวิตามินดีในหญิงตั้งครรภ์ไทยในไตรมาสแรกสูงถึงร้อยละ 83.37 สำหรับในมารดาที่ให้นมบุตร ปริมาณวิตามินดีในมารดามีความสัมพันธ์กับปริมาณวิตามินดีในน้ำนม จึงมีข้อแนะนำให้เสริมวิตามินดีขนาด 400-600 IU ต่อวันในระยะตั้งครรภ์และให้นมบุตร8 สำหรับในทารก สมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ทารกทุกคนหลังคลอดได้รับการเสริมวิตามินดีขนาด 400 IU ต่อวัน9 อย่างไรก็ตาม การรับประทานยาบำรุงครรภ์ชนิดรวมโดยทั่วไปมักจะมีวิตามินดีขนาดที่เพียงพออยู่แล้ว โดยเสริมให้วันละหนึ่งเม็ดสำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

เอกสารอ้างอิง

  1. Walker VP, Zhang X, Rastegar I, et al. Cord blood vitamin D status impacts innate immune responses. J Clin Endocrinol Metab 2011;96:1835-43.
  2. Liu PT, Stenger S, Li H, et al. Toll-like receptor triggering of a vitamin D-mediated human antimicrobial response. Science 2006;311:1770-3.
  3. Hewison M. Vitamin D and the immune system: new perspectives on an old theme. Endocrinol Metab Clin North Am 2010;39:365-79, table of contents.
  4. Holick MF. Vitamin D deficiency. N Engl J Med 2007;357:266-81.
  5. Merewood A, Mehta SD, Chen TC, Bauchner H, Holick MF. Association between vitamin D deficiency and primary cesarean section. J Clin Endocrinol Metab 2009;94:940-5.
  6. Dawodu A, Davidson B, Woo JG, et al. Sun exposure and vitamin d supplementation in relation to vitamin d status of breastfeeding mothers and infants in the global exploration of human milk study. Nutrients 2015;7:1081-93.
  7. Charatcharoenwitthaya N, Nanthakomon T, Somprasit C, et al. Maternal vitamin D status, its associated factors and the course of pregnancy in Thai women. Clin Endocrinol (Oxf) 2013;78:126-33.
  8. Ross AC, Manson JE, Abrams SA, et al. The 2011 report on dietary reference intakes for calcium and vitamin D from the Institute of Medicine: what clinicians need to know. J Clin Endocrinol Metab 2011;96:53-8.
  9. Wagner CL, Greer FR. Prevention of rickets and vitamin D deficiency in infants, children, and adolescents. Pediatrics 2008;122:1142-52.

?

?

?

การเสริมกรดโฟลิกในสตรีตั้งครรภ์

IMG_9412

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? กรดโฟลิก เป็นรูปหนึ่งของวิตามินบี 9 ที่ละลายน้ำ พบมากในเนื้อสัตว์ ตับ กล้วยน้ำว้า และผักใบเขียว โดยจะช่วยในการป้องกันการเกิดความผิดปกติของท่อระบบประสาท (neural tube defect) ของทารกในครรภ์ หากมารดาได้รับการเสริมกรดโฟลิกขนาด 400 มิลลิกรัมก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์ในระยะแรก1 นอกจากนี้ การเสริมกรดโฟลิกในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ยังลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะปากแหว่งและความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดของทารกในครรภ์2 และมีการศึกษาพบว่า ระดับกรดโฟลิกที่ต่ำในระยะแรกของการตั้งครรภ์สัมพันธ์กับภาวะทารกน้ำหนักตัวน้อยและครรภ์เป็นพิษด้วย3 จึงแนะนำให้รับประทานกรดโฟลิกเสริมก่อนเมื่อเตรียมตัวจะตั้งครรภ์และต่อเนื่องระหว่างการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก

เอกสารอ้างอิง

  1. Blencowe H, Cousens S, Modell B, Lawn J. Folic acid to reduce neonatal mortality from neural tube disorders. Int J Epidemiol 2010;39 Suppl 1:i110-21.
  2. Goh YI, Bollano E, Einarson TR, Koren G. Prenatal multivitamin supplementation and rates of congenital anomalies: a meta-analysis. J Obstet Gynaecol Can 2006;28:680-9.
  3. Bergen NE, Jaddoe VW, Timmermans S, et al. Homocysteine and folate concentrations in early pregnancy and the risk of adverse pregnancy outcomes: the Generation R Study. BJOG 2012;119:739-51.

?

?

การจัดการสอนแพทย์ประจำบ้านเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_9411

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? โดยทั่วไป ในสถาบันที่มีแพทย์ประจำบ้าน บทบาทสำคัญคือการให้การรักษาแก่ผู้ป่วยและให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการการ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนให้แก่แพทย์ประจำบ้านเพื่อให้แพทย์ประจำบ้านมีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสมมีความจำเป็น ในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็เช่นกัน แพทย์ประจำบ้านจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการให้บริการและคำปรึกษากับมารดาที่เพียงพอและเหมาะสม แต่จากการศึกษาในสหรัฐอเมริกา พบว่า การจัดการฝึกอบรมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่าง 3 ปีของการจัดอบรมแพทย์ประจำบ้านมีจำนวนการฝึกอบรมเฉลี่ย 9 ชั่วโมง และจากการสำรวจสถาบันฝึกอบรม 132 แห่ง พบว่ามีเพียง 10 สถาบันฝึกอบรมที่มีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแพทย์ประจำบ้าน1 นอกจากนี้ ยังไม่มีการกำหนดแนวทางการจัดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งทำให้มีความแตกต่างกันในแต่ละสถาบันในพื้นฐานหรือความจำเป็นเบื้องต้นในการฝึกอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รูปแบบการศึกษายังมีการใช้รูปแบบการสอนแบบบรรยาย ในขณะที่เวลาที่ให้กับการได้รับประสบการณ์จากการร่วมหรือดูแลมารดาและทารกโดยตรงมีจำกัด

? ? ? ? ? ? ? ในประเทศไทย คณะกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์ได้กำหนดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับนักศึกษาแพทย์แล้ว แต่ในการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านยังไม่มีแนวทางที่กำหนดชัดเจน ดังนั้น การที่จะพัฒนาทักษะและความรู้ของแพทย์ประจำบ้านซึ่งมีความสำคัญในระบบการให้บริการทางการแพทย์และยังเป็นพี่เลี้ยงในการให้ความรู้แก่นักศึกษาแพทย์จึงมีความจำเป็น เพื่อการพัฒนาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เป็นการลงทุนพัฒนามนุษย์ที่คุ้มค่าและมีประโยชน์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อสุขภาวะของมนุษย์

เอกสารอ้างอิง

  1. Osband YB, Altman RL, Patrick PA, Edwards KS. Breastfeeding education and support services offered to pediatric residents in the US. Acad Pediatr 2011;11:75-9.

?

?

ปัจจัยเสี่ยงของการบาดเจ็บของหัวนมในการให้ลูกกินนมแม่

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การบาดเจ็บของหัวนมพบได้บ่อยในมารดาที่ให้นมบุตร โดยมีรายงานการพบการบาดเจ็บหัวนมถึงร้อยละ 62.9 เมื่อมารดากลับไปให้นมที่บ้าน และปัจจัยเสี่ยงของการบาดเจ็บหัวนมที่พบ ได้แก่ การจัดท่าทารกเข้าเต้าเพื่อดูดนมไม่เหมาะสม ทำให้การวางตำแหน่งของหัวนมในช่องปากทารกไม่ได้ตำแหน่งที่ดี และตำแหน่งของหน้าและขากรรไกรทารกในระหว่างการดูดนมไม่สมดุลกัน ซึ่งพบในเทคนิคของการจัดท่าอุ้มขวางตักประยุกต์ (cross cradle) ที่ไม่ถูกต้อง โดยการที่ตำแหน่งของหัวนมอยู่ในช่องปากทารกไม่เหมาะสมจะมีความเสี่ยงในการบาดเจ็บหัวนมเพิ่มขึ้น 2.51 เท่า (95% CI 1.13-5.55) การที่ตำแหน่งของหน้าและขากรรไกรทารกขณะดูดนมอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สมดุลจะมีความเสี่ยงในการบาดเจ็บหัวนมเพิ่มขึ้น 4.21 เท่า (95% CI 1.25-14.20) และเทคนิคในการให้ทารกกินนมในท่าขวางตักประยุกต์ที่ไม่เหมาะสมจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 1.90 เท่า (95% CI 1.03-3.50)1 ดังนั้น การที่บุคลากรทางการแพทย์เอาใจใส่ สังเกตขณะที่มารดาให้นมลูก โดยดูว่าทารกสามารถเข้าเต้าและดูดนมได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ก่อนที่มารดาจะได้รับการอนุญาตให้กลับบ้าน จะช่วยป้องกันปัญหาและปัจจัยเสี่ยงในการบาดเจ็บหัวนมของมารดาได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Thompson R, Kruske S, Barclay L, Linden K, Gao Y, Kildea S. Potential predictors of nipple trauma from an in-home breastfeeding programme: A cross-sectional study. Women Birth 2016.

?

?