การเสริมกรดไขมันในสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร

IMG_9441

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?กรดไขมัน โอเมก้า-3 เป็นกรดไขมันที่จำเป็นมีความสำคัญต่อมารดาและทารก พบในอาหารจำพวกปลาทะเลและปลาน้ำจืดบางชนิด โดยโอเมก้า-3 ประกอบด้วยสารที่สำคัญคือ?Eicosopentaenoic (EPA) และ Docosahexaenoic (DHA) ซึ่งสารอาหารนี้จำเป็นในการพัฒนาการของสมองส่วนกลางและพัฒนาระบบประสาทของทารก1 มีข้อมูลว่าสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับโอเมก้า-3 จะยืดอายุครรภ์ของสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้ ลดภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) และความผิดปกติของสมอง (cerebral palsy) ของทารก2 นอกจากนี้ DHA ยังมีผลต่อภูมิคุ้มกันและมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ3-5 มีการศึกษาว่าในสหรัฐอเมริกาพบว่าอาหารที่มารดารับประทานมีโอเมก้า-3 น้อยจึงควรเสริมโอเมก้า-3 ในหญิงตั้งครรภ์1 ?สำหรับในมารดาที่ให้นมบุตรกรดไขมันในน้ำนมจะสร้างจากต่อมน้ำนมโดยได้รับสารตั้งต้นมาจากอาหารและปริมาณกรดไขมันที่สะสมในร่างกายมารดา6-8 ซึ่งในต่างประเทศผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำให้เสริม DHA ขนาด 300-1000 มิลลิกรัมในสตรีที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร9,10

? ? ? ? ? ? ? ในประเทศไทยไม่มีข้อมูลถึงสภาวะของกรดไขมันโอเมก้า-3 และ DHA ในสตรีตั้งครรภ์และปริมาณที่มีในสารอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน ประโยชน์ของการเสริมสารอาหารเหล่านี้จะได้ต่อเมื่อหญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงในการขาดสารอาหารนี้ ดังนั้นการแนะนำขั้นต้นควรแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์รับประทานอาหารให้มีความหลากหลายและให้ความสำคัญกับอาหารที่มีโอเมก้า-3 สูง ส่วนการรับประทานน้ำมันปลาแคปซูล (fish oil) ที่มีส่วนประกอบของโอเมก้า-3 ยังขาดข้อมูลการศึกษาในประเทศไทย จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Dunstan JA, Simmer K, Dixon G, Prescott SL. Cognitive assessment of children at age 2(1/2) years after maternal fish oil supplementation in pregnancy: a randomised controlled trial. Arch Dis Child Fetal Neonatal Ed 2008;93:F45-50.
  2. McGregor JA, Allen KG, Harris MA, et al. The omega-3 story: nutritional prevention of preterm birth and other adverse pregnancy outcomes. Obstet Gynecol Surv 2001;56:S1-13.
  3. Ratnayake WM, Galli C. Fat and fatty acid terminology, methods of analysis and fat digestion and metabolism: a background review paper. Ann Nutr Metab 2009;55:8-43.
  4. Lu J, Jilling T, Li D, Caplan MS. Polyunsaturated fatty acid supplementation alters proinflammatory gene expression and reduces the incidence of necrotizing enterocolitis in a neonatal rat model. Pediatr Res 2007;61:427-32.
  5. Cotogni P, Muzio G, Trombetta A, Ranieri VM, Canuto RA. Impact of the omega-3 to omega-6 polyunsaturated fatty acid ratio on cytokine release in human alveolar cells. JPEN J Parenter Enteral Nutr 2011;35:114-21.
  6. Innis SM. Polyunsaturated fatty acids in human milk: an essential role in infant development. Adv Exp Med Biol 2004;554:27-43.
  7. Jensen CL, Voigt RG, Prager TC, et al. Effects of maternal docosahexaenoic acid intake on visual function and neurodevelopment in breastfed term infants. Am J Clin Nutr 2005;82:125-32.
  8. Brenna JT, Diau GY. The influence of dietary docosahexaenoic acid and arachidonic acid on central nervous system polyunsaturated fatty acid composition. Prostaglandins Leukot Essent Fatty Acids 2007;77:247-50.
  9. Carlson SE. Docosahexaenoic acid supplementation in pregnancy and lactation. Am J Clin Nutr 2009;89:678S-84S.
  10. Koletzko B, Cetin I, Brenna JT. Dietary fat intakes for pregnant and lactating women. Br J Nutr 2007;98:873-7.

?

?

?