รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? การใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญและระมัดระวังในการเลือกใช้ยาโดยเฉพาะในไตรมาสแรกเนื่องจากเป็นช่วงที่ทารกเริ่มพัฒนาการของการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ยาที่มักจะมีการจ่ายให้กับสตรีตั้งครรภ์เมื่อเจ็บป่วย ได้แก่ ยาแก้หวัดและยาปฏิชีวนะ มีรายงานว่ายาปฏิชีวนะบางตัวอาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดความผิดปกติหรือความพิการของทารกได้1 เช่น
ยา ofloxacin สัมพันธ์กับการพบความผิดปกติแต่กำเนิดเพิ่มขึ้น 3 เท่า (OR 8.30, 95% CI 1.60-43.00)
ยา clindamycin สัมพันธ์กับการพบความผิดปกติแต่กำเนิดเพิ่มขึ้น 3 เท่า (OR 1.34, 95% CI 1.02-1.77)
ยา doxycycline สัมพันธ์กับการพบความผิดปกติของหลอดเลือดเพิ่มขึ้น 4 เท่า (OR 2.38, 95% CI 1.21-4.67) และความผิดปกติของหัวใจเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า (OR 2.46, 95% CI 1.21-4.99)
ยา phenoxymethylpenicillin สัมพันธ์กับการพบความผิดปกติของระบบประสาทเพิ่มขึ้น 9 เท่า (OR 1.85, 95% CI 1.01-3.39)
ยา erythromycin สัมพันธ์กับการพบความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะเพิ่มขึ้น 1 เท่า (OR 2.12, 95% CI 1.08-4.17)
ยา moxifloxacin?สัมพันธ์กับการพบความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น 5 เท่า (OR 5.48, 95% CI 1.32-22.76)
? ? ? ? ? ? ดังนั้น หากเจ็บป่วย ควรแจ้งแพทย์ทุกครั้งว่ามีการตั้งครรภ์ เพื่อหลีกเลี่ยงยาที่มีความเสี่ยงเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสแรก
เอกสารอ้างอิง
Muanda FT, Sheehy O, Berard A. Use of antibiotics during pregnancy and the risk of major congenital malformations: A population based cohort study. Br J Clin Pharmacol 2017.
Breastfeeding case study 2
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? การที่มารดามีน้ำนมไหลออกมาจากเต้านมได้เมื่อคิดถึงลูก ได้กลิ่น หรือเห็นภาพของลูกนั้นเป็นจากกลไกการหลั่งน้ำนม (let-down reflex) หรืออาจเรียกว่า กลไกน้ำนมพุ่ง (milk ejection reflex) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่ทารกกระตุ้นดูดนมจากเต้านมข้างหนึ่งและเต้านมอีกข้างมีน้ำนมไหล ผ่านกลไกหลักคือฮอร์โมนออกซิโตซินที่ถูกกระตุ้นจากการดูดนมของทารก หรือจากการสั่งงานของสมองเมื่อมารดาคิดถึงลูก หรือสัมผัสกับสิ่งที่ทำให้คิดถึงลูก ฮอร์โมนออกซิโตซินนี้นอกจากจะช่วยให้น้ำนมไหลได้ดี ทารกไม่ต้องออกแรงในการดูดนมมากแล้ว ยังช่วยสร้างความรักความผูกพันระหว่างแม่ลูก นอกจากนี้ กลไกนี้อาจเป็นสิ่งที่สะท้อนอย่างหนึ่งว่าน้ำนมมารดาน่าจะมีเพียงพอ แต่หากมีมากตั้งแต่ทารกเริ่มดูดและมารดารู้สึกว่าตึงแน่นบริเวณบริเวณลานนมมาก อาจทำให้ทารกดูดนมได้ลำบากจากการที่น้ำนมไหลเร็วเกินไป การบีบน้ำนมออกก่อนให้ลานนมนุ่มลง จะช่วยให้ทารกสามารถอมหัวนมและลานนมได้ดีขึ้น ไม่สำลักหรืองับหัวนมมารดาจนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มารดาเจ็บหัวนม
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? การคลอดก่อนกำหนดและภาวะทารกน้ำหนักตัวน้อยที่เกิดจากทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าจะเปลี่ยนโปรแกรมการเจริญเติบโต การพัฒนาการ และความสมบูรณ์เต็มที่ ทำให้เกิดโปรแกรมอดออมในทารก กลไกการเปลี่ยนแปลงนี้อธิบายจากการเพิ่มขึ้นของคอร์ติโคสเตอรอน (corticosterone) ที่มากเกินไปในครรภ์ที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนซึ่งพบในภาวะที่มีการขาดอาหารหรือเครียดโดยมีผลชักนำทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและโรคทางเมตาบอลิกเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้นผ่าน angiotensin II ที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงที่จะผลิต reactive oxygen species radicals ที่มีผลเพิ่มระดับน้ำตาลจากการต้านฤทธิ์การทำงานของอินซูลิน นอกจากนี้ คอร์ติโคสเตอรอนที่มากเกินไปยังมีผลต่อกระบวนการ suractive glutamategic transmission ที่ทำให้มีความเสี่ยงที่สูงขึ้นที่จะเกิดโรคทางระบบประสาท ได้แก่ พาร์กินสัน (Parkinson disease) และอัลไซเมอร์ (Alzheimer?s disease) ด้วย
??????????? ความเชื่อมโยงความผิดปกติของระบบประสาทและพฤติกรรม สารชีวเคมีที่บ่งชี้กับภาวะความดันโลหิตสูงนั้น ยังอธิบายได้จากภาวะที่ขาดอาหารในครรภ์หรือภาวะอดออมของทารกจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม การตอบสนองต่อความเครียด การเปลี่ยนแปลงจังหวะการเต้นของหัวใจ ความผิดปกติในด้านความจำ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และพฤติกรรมการปรับตัวต่อสิ่งเร้าที่ผิดปกติ และโรคมะเร็ง โดยสามารถตรวจพบสารชีวเคมีที่เป็นตัวบ่งชี้ ได้แก่ สารสื่อประสาท acetylcholine และ GABA เอนไซม์ receptor และ neuropeptide อื่นๆ ?มีค่าที่เปลี่ยนแปลงไปในทารกที่เกิดภาวะขาดอาหาร นอกจากนี้ ยังพบการลดน้อยลงและการฝ่อของนิวเคลียสของเซลล์ประสาทในฮิปโปแคมปัสส่วนหลัง (dorsal hippocampus) ในขณะที่พบการทำงานของ noradrenergic และ corticotropin ใน paraventricular nucleus เพิ่มขึ้นที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ sympathetic เพิ่มขึ้นที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง การเปลี่ยนแปลงของฮิปโปแคมปัสจะส่งผลต่อการทำงานของกลไก hypothalamic-pituitary-adrenal axis (HPA axis) ซึ่ง HPA axis จะเป็นเสมือนตัวตัดสินในการแสดงออกทางพฤติกรรม กระบวนการทางสรีรวิทยาและกระบวนการทางเมตาบอลิกต่างๆ
??????????? ออกซิโตซินจะช่วยในการลดความดันโลหิตสูงผ่านกระบวนการทำให้คอร์ติโคสเตอรอนลดลงส่งผลต่อการลดของ corticotropin ซึ่งจะมีผลต่อ HPA axis ดังนั้น จึงส่งผลต่อพฤติกรรม สรีรวิทยาและกระบวนการทางเมตาบอลิกของทารก นอกจากนี้ ออกซิโตซินยังควบคุมสมดุลของสารน้ำและโซเดียมผ่านทางไต ควบคุมสมดุลของการทำงานของหัวใจ และปกป้องการทำงานของหัวใจผ่านการสร้างไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) ด้วย ดังนั้น การเจาะเลือดจากสายสะดือทารกเพื่อตรวจสอบสารชีวเคมีที่เป็นตัวบ่งชี้จะช่วยบอกถึงการวิเคราะห์ปัจจัยที่อยู่เหนือกระบวนการทางพันธุกรรมที่จะแสดงออกถึงสุขภาพของทารกเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้นได้ เช่น การตรวจ hypermethylation ของ GRB10 gene จากเลือดจากสายสะดือทารก และมีการศึกษาถึงผลของการให้ออกซิโตซิน glucagon-like peptide-1 (GLP-1) เลปติน (leptin) การเสริมสารอาหารบางชนิด ได้แก่ โอเมก้า 3 (omega-3) กรดไขมัน (fatty acid) บางชนิดsulfuranes, polyphenol like
resveratrol และการใช้ยาบางกลุ่ม ได้แก่ angiotensin-converting enzyme inhibitors โดยคาดหวังถึงผลในการช่วยหรือซ่อมแซมการเปลี่ยนแปลงปัจจัยกระบวนการเหนือพันธุกรรมที่ผิดปกติ1
? ? ? ? ? ? ? อย่างไรก็ตาม การที่ทารกที่กินนมแม่มีผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตส่วนหนึ่งอาจเป็นจากกลไกที่ช่วยหรือซ่อมแซมการเปลี่ยนแปลงปัจจัยกระบวนการเหนือพันธุกรรมที่ผิดปกติของออกซิโตซินที่พบตามธรรมชาติจากการกระตุ้นของทารกที่กินนมแม่ก็เป็นได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาถึงผลที่ชัดเจนในอนาคตต่อไป
เอกสารอ้างอิง
Vargas-Martinez F, Schanler RJ, Abrams SA, et al. Oxytocin, a main breastfeeding hormone, prevents hypertension acquired in utero: A therapeutics preview. Biochim Biophys Acta 2017;1861:3071-84.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? การเกิดทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าจะส่งผลกระทบต่อโปรแกรมการเจริญเติบโตทางพันธุกรรมที่กำหนดไว้ โดยทำให้ทารกเกิดภาวะอดออม (thrifty phenotype) โดยมีการตั้งโปรแกรมใหม่ที่ปรับตัวให้เหมาะสมกับการใช้สารอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น เมื่อทารกเติบโตขึ้น การได้รับสารอาหารมากกว่าปกติเพียงเล็กน้อยจึงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดโรคต่างๆ เนื่องจากความคุ้นเคยจากที่กำหนดจากการตั้งโปรแกรมการเจริญเติบโตแบบอดออมของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ภาวะอดออมยังส่งผลทำให้ทารกเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดด้วย เพื่อเป็นกลไกในการลดอันตรายจากการขาดสารอาหารในครรภ์ แต่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเพิ่มขึ้นหลังคลอด
??????????? จากการศึกษาในสัตว์ทดลองที่มีรูปแบบคล้ายมนุษย์พบว่า ภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าส่งผลทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน เบาหวาน และความผิดปกติของไขมันในเลือด ซึ่งลักษณะเหล่านี้ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคทางเมตาบอลิก การตรวจสอบการตอบสนองของเซลล์เยื่อบุผิวของหลอดเลือดต่อ acetylcholine, nitroprusside, C-reactive protein, interleukin-6 (IL-6), tumor necrosis factor- ? (TNF- ? ) และ prenatal protein (Pre-PR) มีผลต่อความดันโลหิตสูงสามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่สัปดาห์ของชีวิตในครรภ์ ซึ่งการให้ออกซิโตซินและการลด angiotensin II (ANG II) จะช่วยป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูงที่จะปรากฎอาการในวัยผู้ใหญ่ได้ ดังนั้น นอกจากออกซิโตซินจะถูกเรียกว่าเป็นฮอร์โมนแห่งความรักแล้ว ยังเป็นฮอร์โมนที่ดูแลรักษาหัวใจและหลอดเลือดด้วย ซึ่งออกซิโตซินสามารถที่จะกระตุ้นให้เซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) เปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือดได้ และยังช่วยปกป้องหัวใจโดยช่วยให้มีการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงหัวใจมากขึ้นหลังเกิดการขาดเลือดของหัวใจ และช่วยในกรณีที่เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจจากเบาหวาน
??????????? นมแม่มีประโยชน์ต่อทั้งทารก มารดา ครอบครัว และสังคม โดยมีสารอาหารที่ครบถ้วน มีภูมิคุ้มกันต่อต้านการติดเชื้อ ช่วยป้องกันภาวะอ้วน ช่วยลดการเกิดเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ นมแม่ยังถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการเหนือพันธุกรรม (epigenetics) คือ ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงออกของยีนโดยที่ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับของดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต โดยในนมแม่มีฮอร์โมนออกซิโตซิน ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อกระบวนการเหนือพันธุกรรมที่มีผลต่อความดันโลหิตสูงที่จะเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้1
เอกสารอ้างอิง
Vargas-Martinez F, Schanler RJ, Abrams SA, et al. Oxytocin, a main breastfeeding hormone, prevents hypertension acquired in utero: A therapeutics preview. Biochim Biophys Acta 2017;1861:3071-84.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)