คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

การที่มารดาหรือทารกป่วยอาจทำให้เกิดการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

             การที่มารดาหรือทารกป่วยทำให้มีโอกาสต้องแยกจากกันจึงเป็นปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 ซึ่งปัญหานี้ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการขาดความรู้ว่าจะต้องปฏิบัติตัวหรือดูแลตนเองหรือทารกอย่างไรจึงจะเหมาะสม และอาจมีความวิตกกังวลว่าการป่วยของมารดาอาจติดต่อไปยังทารกได้ นอกจากนี้ การที่มารดาได้รับยาในการรักษาอาจมีผลต่อปริมาณน้ำนมหรือทารกส่งผลต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย2 ในประเทศไทยพบสาเหตุนี้เป็นหนึ่งในห้าอันดับของสาเหตุการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงหกเดือนแรก3 ซึ่งแสดงถึงว่า การที่มารดาหรือป่วย หากไม่ได้รับการเอาใจใส่หรืออธิบายให้มารดาและครอบครัวเข้าใจอย่างเหมาะสม มารดาจะได้รับการแยกจากทารกหรือหยุดให้นมแม่เนื่องจากความวิตกกังวลเรื่องทารกอาจจะป่วยตามมารดาหรือยาที่ใช้รักษาความเจ็บป่วยอาจจะผ่านไปสู่ทารกจนเกิดอันตรายได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.
  2. Olang B, Heidarzadeh A, Strandvik B, Yngve A. Reasons given by mothers for discontinuing breastfeeding in Iran. Int Breastfeed J 2012;7:7.
  3. Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province. J Med Health Sci 2009;16:116-23.

 

 

 

 

มารดามักคิดว่าน้ำนมตนเองไม่เพียงพอเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้หยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                 ต้องบอกก่อนเลยว่า ส่วนใหญ่แล้วมารดาจะมีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารก การมีน้ำนมไม่พอ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว1 โดยพบเป็นปัญหาที่พบบ่อยของการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และยังมีผลต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนเวลาอันควร2,3  อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบเป็นปัญหาเพียงร้อยละ 5 แต่มารดากลับมีความรู้สึกว่าน้ำนมไม่พอถึงร้อยละ 504 หากมารดาร้อยละ 50 หรือครึ่งหนึ่งหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพราะคิดว่าตนเองมีน้ำนมไม่เพียงพอ ก็จะเป็นสาเหตุของการที่พบอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำกว่าที่ควรเป็น การสอนให้มารดาสามารถสังเกต ประเมินน้ำนม หรือขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่ไม่แน่ใจ จะช่วยลดปัญหานี้ได้ สำหรับปัญหานี้ในประเทศไทย พบเป็นสาเหตุอันดับที่สองในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่พบบ่อยรองจากการกลับไปทำงานของมารดา5

เอกสารอ้างอิง

  1. Hegazi MA, Allebdi M, Almohammadi M, Alnafie A, Al-Hazmi L, Alyoubi S. Factors associated with exclusive breastfeeding in relation to knowledge, attitude and practice of breastfeeding mothers in Rabigh community, Western Saudi Arabia. World J Pediatr 2019.
  2. Chang PC, Li SF, Yang HY, et al. Factors associated with cessation of exclusive breastfeeding at 1 and 2 months postpartum in Taiwan. Int Breastfeed J 2019;14:18.
  3. Morton J, Hall JY, Pessl M. Five steps to improve bedside breastfeeding care. Nurs Womens Health 2013;17:478-88.
  4. Hector D, King L. Interventions to encourage and support breastfeeding. N S W Public Health Bull 2005;16:56-61.
  5. Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province. J Med Health Sci 2009;16:116-23.

 

 

ทารกน้ำหนักตัวน้อยเสี่ยงต่อการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้า

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                  ทารกน้ำหนักตัวน้อยอาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งทารกจะมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะน้ำตาลต่ำหลังคลอดได้สูง มีโอกาสที่ต้องได้รับการดูแลที่จำเพาะหรือต้องย้ายไปอยู่ที่หอทารกป่วยวิกฤต ทำให้ต้องมีการแยกมารดาและทารกออกจากกัน การที่ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยจะมีความยากลำบากในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 โดยจะมีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หากทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยกว่า 2500 กรัม2 แต่ก็มีปัจจัยทางด้านการปฏิบัติที่จะช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่น้ำหนักตัวน้อย คือ การที่มารดาบีบหรือปั๊มนมให้ลูกภายใน 8 ชั่วโมงแรกหลังคลอด3 การเริ่มให้อาหารทางปากเร็ว4 การให้ทารกดูดจากเต้าหลังการปั๊มนมออก (non-nutritive sucking)5 และการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ6 ซึ่งหากบุคลากรส่งเสริมการปฏิบัติเหล่านี้ ก็จะเป็นการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และเพิ่มโอกาสที่จะให้ทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยได้กินนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Lee TY, Lee TT, Kuo SC. The experiences of mothers in breastfeeding their very low birth weight infants. J Adv Nurs 2009;65:2523-31.
  2. Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.
  3. Parker MG, Melvin P, Graham DA, et al. Timing of First Milk Expression to Maximize Breastfeeding Continuation Among Mothers of Very Low-Birth-Weight Infants. Obstet Gynecol 2019;133:1208-15.
  4. Mamemoto K, Kubota M, Nagai A, et al. Factors associated with exclusive breastfeeding in low birth weight infants at NICU discharge and the start of complementary feeding. Asia Pac J Clin Nutr 2013;22:270-5.
  5. Pimenta HP, Moreira ME, Rocha AD, Gomes Jr SC, Pinto LW, Lucena SL. Effects of non-nutritive sucking and oral stimulation on breastfeeding rates for preterm, low birth weight infants: a randomized clinical trial. J Pediatr (Rio J) 2008;84:423-7.
  6. Almeida H, Venancio SI, Sanches MT, Onuki D. The impact of kangaroo care on exclusive breastfeeding in low birth weight newborns. J Pediatr (Rio J) 2010;86:250-3.

 

 

การคลอดก่อนกำหนดถือเป็นความเสี่ยงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยากขึ้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

             การคลอดก่อนกำหนดจะเกิดทารกที่ยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์และมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจมีความจำเป็นต้องมีการแยกทารกจากมารดาไปอยู่ที่หอดูแลทารกวิกฤต ทำให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำได้ช้า และมีความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีปัญหาในด้านการดูดและการกลืน ซึ่งส่งผลต่อการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1,2และมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่3  ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดเล็กน้อย (late preterm) มีความเสี่ยงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยากเพิ่มขึ้นเป็น 1.72 เท่า (95%CI 1.24-2.38)4  โดยปัจจัยที่จะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกคลอดก่อนกำหนดคือ การให้ทารกได้รับการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อ5 การเริ่มปั๊มนมก่อน 12 ชั่วโมงหลังคลอด การป้ายหัวน้ำนมในช่องปากในระยะแรกหลังการเกิด6  สำหรับการป้อนนมด้วยถ้วย7 การให้ทารกดูดจากเต้าหลังการปั๊มนมออก (non-nutritive sucking)8 การตรวจทดสอบน้ำหนักของทารก (test-weighing) และการงดการใช้จุกนมหลอกเป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว9

เอกสารอ้างอิง

  1. da Costa SP, van der Schans CP, Zweens MJ, et al. The Development of Sucking Patterns in Preterm, Small-for-Gestational Age Infants. The Journal of Pediatrics 2010;157:603-9.e3.
  2. Ayton J, Hansen E, Quinn S, Nelson M. Factors associated with initiation and exclusive breastfeeding at hospital discharge: late preterm compared to 37 week gestation mother and infant cohort. Int Breastfeed J 2012;7:16.
  3. Ladomenou F, Kafatos A, Galanakis E. Risk factors related to intention to breastfeed, early weaning and suboptimal duration of breastfeeding. Acta Paediatr 2007;96:1441-4.
  4. Nagulesapillai T, McDonald SW, Fenton TR, Mercader HF, Tough SC. Breastfeeding difficulties and exclusivity among late preterm and term infants: results from the all our babies study. Can J Public Health 2013;104:e351-6.
  5. Mekonnen AG, Yehualashet SS, Bayleyegn AD. The effects of kangaroo mother care on the time to breastfeeding initiation among preterm and LBW infants: a meta-analysis of published studies. Int Breastfeed J 2019;14:12.
  6. Hilditch C, Howes A, Dempster N, Keir A. What evidence-based strategies have been shown to improve breastfeeding rates in preterm infants? J Paediatr Child Health 2019;55:907-14.
  7. Yilmaz G, Caylan N, Karacan CD, Bodur I, Gokcay G. Effect of cup feeding and bottle feeding on breastfeeding in late preterm infants: a randomized controlled study. J Hum Lact 2014;30:174-9.
  8. Pimenta HP, Moreira ME, Rocha AD, Gomes Jr SC, Pinto LW, Lucena SL. Effects of non-nutritive sucking and oral stimulation on breastfeeding rates for preterm, low birth weight infants: a randomized clinical trial. J Pediatr (Rio J) 2008;84:423-7.
  9. Maastrup R, Hansen BM, Kronborg H, et al. Factors associated with exclusive breastfeeding of preterm infants. Results from a prospective national cohort study. PLoS One 2014;9:e89077.

 

ภาวะลิ้นติด ปัญหาที่ซ่อนเร้นที่เป็นอุปสรรคในการให้ลูกได้กินนมแม่

               รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                  ภาวะลิ้นติดเป็นปัญหาที่ยังขาดการดูแลและแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการสนับสนุนให้ทารกเหล่านี้ได้กินนมแม่ ภาวะลิ้นติดจะส่งผลให้เกิดการเจ็บเต้านม การเข้าเต้าไม่ดี ทารกน้ำหนักขึ้นไม่ดี การหยุดนมแม่เร็ว และมีการพบปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่รุนแรงอื่น ๆ ตามมาในทารกที่มีภาวะลิ้นติดเพิ่มขึ้น1  ขนาดของปัญหายังมีการศึกษาน้อย โดยข้อมูลที่มีการศึกษาในประเทศไทยพบภาวะลิ้นติดร้อยละ 13.4 ของการคลอด2 มีการศึกษาพบว่าทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วยสาเหตุของการเจ็บเต้านมของมารดาร้อยละ 36-893,4 โดยเมื่อได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ววัดคะแนนการเจ็บเต้านมของมารดาที่ทารกมีภาวะลิ้นติดดีขึ้นราวร้อยละ 44-953,5-7  ทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีการเข้าเต้ายากร้อยละ 25 เทียบกับในทารกปกติพบร้อยละ 38 และมีคะแนนการเข้าเต้าต่ำกว่าทารกปกติอย่างมีนัยสำคัญ2 โดยเมื่อเปรียบเทียบคะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (infant breastfeeding assessment tool) และคะแนนการเข้าเต้า (LATCH score) ในทารกที่มีภาวะลิ้นติดก่อนและหลังได้รับการผ่าตัดรักษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ6,7,9,10 ทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีปัญหาเรื่องน้ำหนักขึ้นไม่ดีร้อยละ 163 การผ่าตัดแก้ไขเป็นทางเลือกในรายที่มีปัญหานี้ มีรายงานทารกที่มีภาวะลิ้นติดหลังได้รับการผ่าตัดรักษามีน้ำหนักดีขึ้นร้อยละ 656  สำหรับการหยุดนมแม่เร็ว พบความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของทารกที่มีภาวะลิ้นติดในสัปดาห์แรกเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า11 ดังนั้น การมองเห็นปัญหาภาวะลิ้นติดว่าเป็นปัญหาในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการที่ทุกภาคส่วนจะให้การสนใจ ใส่ใจ และช่วยกันสร้างระบบและกลไกในการดูแลปัญหาภาวะลิ้นติดร่วมกัน

เอกสารอ้างอิง

  1. Schlatter SM, Schupp W, Otten JE, et al. The role of tongue-tie in breastfeeding problems-A prospective observational study. Acta Paediatr 2019.
  2. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.
  3. Hong P, Lago D, Seargeant J, Pellman L, Magit AE, Pransky SM. Defining ankyloglossia: A case series of anterior and posterior tongue ties. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology 2010;74:1003-6.
  4. Ballard JL, Auer CE, Khoury JC. Ankyloglossia: assessment, incidence, and effect of frenuloplasty on the breastfeeding dyad. Pediatrics 2002;110:e63.
  5. Hall DM, Renfrew MJ. Tongue tie. Arch Dis Child 2005;90:1211-5.
  6. Gov-Ari E. Ankyloglossia: Effects of Frenulotomy on Breastfeeding Dyads. Otolaryngology – Head and Neck Surgery 2010;143:P111.
  7. Srinivasan A, Dobrich C, Mitnick H, Feldman P. Ankyloglossia in breastfeeding infants: the effect of frenotomy on maternal nipple pain and latch. Breastfeed Med 2006;1:216-24.
  8. Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: does it matter? Pediatric Clinics of North America 2003;50:381-97.
  9. Buryk M, Bloom D, Shope T. Efficacy of neonatal release of ankyloglossia: a randomized trial. Pediatrics 2011;128:280-8.
  10. Srinivasan A, Al Khoury A, Puzhko S, et al. Frenotomy in Infants with Tongue-Tie and Breastfeeding Problems. J Hum Lact 2018:890334418816973.
  11. Ricke LA, Baker NJ, Madlon-Kay DJ, DeFor TA. Newborn tongue-tie: prevalence and effect on breast-feeding. J Am Board Fam Pract 2005;18:1-7.