การคลอดก่อนกำหนดถือเป็นความเสี่ยงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยากขึ้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

             การคลอดก่อนกำหนดจะเกิดทารกที่ยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์และมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจมีความจำเป็นต้องมีการแยกทารกจากมารดาไปอยู่ที่หอดูแลทารกวิกฤต ทำให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำได้ช้า และมีความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีปัญหาในด้านการดูดและการกลืน ซึ่งส่งผลต่อการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1,2และมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่3  ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดเล็กน้อย (late preterm) มีความเสี่ยงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยากเพิ่มขึ้นเป็น 1.72 เท่า (95%CI 1.24-2.38)4  โดยปัจจัยที่จะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกคลอดก่อนกำหนดคือ การให้ทารกได้รับการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อ5 การเริ่มปั๊มนมก่อน 12 ชั่วโมงหลังคลอด การป้ายหัวน้ำนมในช่องปากในระยะแรกหลังการเกิด6  สำหรับการป้อนนมด้วยถ้วย7 การให้ทารกดูดจากเต้าหลังการปั๊มนมออก (non-nutritive sucking)8 การตรวจทดสอบน้ำหนักของทารก (test-weighing) และการงดการใช้จุกนมหลอกเป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว9

เอกสารอ้างอิง

  1. da Costa SP, van der Schans CP, Zweens MJ, et al. The Development of Sucking Patterns in Preterm, Small-for-Gestational Age Infants. The Journal of Pediatrics 2010;157:603-9.e3.
  2. Ayton J, Hansen E, Quinn S, Nelson M. Factors associated with initiation and exclusive breastfeeding at hospital discharge: late preterm compared to 37 week gestation mother and infant cohort. Int Breastfeed J 2012;7:16.
  3. Ladomenou F, Kafatos A, Galanakis E. Risk factors related to intention to breastfeed, early weaning and suboptimal duration of breastfeeding. Acta Paediatr 2007;96:1441-4.
  4. Nagulesapillai T, McDonald SW, Fenton TR, Mercader HF, Tough SC. Breastfeeding difficulties and exclusivity among late preterm and term infants: results from the all our babies study. Can J Public Health 2013;104:e351-6.
  5. Mekonnen AG, Yehualashet SS, Bayleyegn AD. The effects of kangaroo mother care on the time to breastfeeding initiation among preterm and LBW infants: a meta-analysis of published studies. Int Breastfeed J 2019;14:12.
  6. Hilditch C, Howes A, Dempster N, Keir A. What evidence-based strategies have been shown to improve breastfeeding rates in preterm infants? J Paediatr Child Health 2019;55:907-14.
  7. Yilmaz G, Caylan N, Karacan CD, Bodur I, Gokcay G. Effect of cup feeding and bottle feeding on breastfeeding in late preterm infants: a randomized controlled study. J Hum Lact 2014;30:174-9.
  8. Pimenta HP, Moreira ME, Rocha AD, Gomes Jr SC, Pinto LW, Lucena SL. Effects of non-nutritive sucking and oral stimulation on breastfeeding rates for preterm, low birth weight infants: a randomized clinical trial. J Pediatr (Rio J) 2008;84:423-7.
  9. Maastrup R, Hansen BM, Kronborg H, et al. Factors associated with exclusive breastfeeding of preterm infants. Results from a prospective national cohort study. PLoS One 2014;9:e89077.