คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 1)

นมแม่รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

นมแม่เป็นอาหารมาตรฐานสำหรับทารก ด้วยการศึกษาในปัจจุบันแสดงถึงหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประโยชน์ของนมแม่ และองค์การอนามัยโลกได้แนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือนเพื่อให้บรรลุผลถึงการเจริญเติบโต พัฒนาการและสุขภาพที่ดีและเหมาะสม1 การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความจำเป็นเพื่อบอกแนวโน้มหรือทำนายความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามที่มีการแนะนำ บอกความเสี่ยงของมารดาและทารกที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยในกลุ่มนี้ต้องการการเอาใจใส่สนับสนุนจากทีมทางการแพทย์ให้สามารถจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปนานที่สุดเท่าที่จะนานได้ อย่างน้อยหกเดือนหรือต่อเนื่องจนกระทั่งสองปีหรือมากกว่า อย่างไรก็ตามมีข้อจำกัดและปัจจัยอันหลากหลายที่มีผลในช่วงที่แตกต่างกันของระยะเวลาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงมีการคิดเกณฑ์ประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขึ้นหลายเกณฑ์โดยมีเป้าประสงค์ของการประเมินในรายละเอียดที่แตกต่างกัน เกณฑ์ที่ใช้อาจประเมินในทารก หรือประเมินจากทั้งมารดาและทารก ซึ่งเกณฑ์ที่มีการศึกษา วิจัยและใช้ในการให้บริการ ได้แก่

  1. Infant Breastfeeding Assessment Tool (IBFAT)
  2. Systematic Assessment of the Infant at Breast (SAIB)
  3. The Mother?Baby Assessment (MBA)
  4. LATCH assessment (LATCH)
  5. Lactation Assessment Tool (LAT)
  6. Mother?Infant Breastfeeding Progress Tool (MIBPT)

ในแต่ละเกณฑ์จะมีรายละเอียดที่ใช้วัด เกณฑ์ที่บ่งบอกถึงการกินนมแม่ของทารกได้ดีที่สุด คือ การได้ยินเสียงทารกกลืนน้ำนม2 ซึ่งเกณฑ์นี้จะมีในเกณฑ์การประเมินทุกเกณฑ์ยกเว้นใน infant breastfeeding assessment tool เกณฑ์ที่มีการประเมินในส่วนของมารดาและทารก ได้แก่ ?the mother-baby assessment, LATCH assessment และ mother-infant breastfeeding progress tool ส่วนเกณฑ์ที่มีการประเมินในส่วนของทารก ได้แก่ infant breastfeeding assessment tool, systematic assessment of the infant at breast และ lactation assessment tool2 รายละเอียดของแต่ละเกณฑ์ติดตามในตอนต่อไป

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.

 

 

ประวัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากประวัติศาสตร์ในสมัยก่อน ในราชวงศ์ต่างๆ ในสังคมชั้นสูง หรือในมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดและไม่มีน้ำนม หรือทารกถูกทิ้ง จะมีการใช้แม่นมเพื่อทำการให้นมกับทารกแรกเกิด โดยมีการคัดเลือกและข้อจำกัดสำหรับแม่นมหลายอย่างในหลายสังคมและหลายวัฒนธรรม ได้แก่ การห้ามรับประทานอาหารรสจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งสื่อถึงความกังวลเกี่ยวกับการที่ทารกจะได้รับสิ่งที่แม่นมรับประทานเข้าไปและจะส่งผลต่อทารก ห้ามมีนิสัยชอบเล่นการพนัน โลภ หรือตื่นตกใจง่าย สื่อถึงภาวะทางอารมณ์ของแม่นมอาจมีผลต่อทารก ห้ามมีเพศสัมพันธ์ในช่วงให้นมทารก สื่อถึงความกังวลเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ การมีบุตร จะทำให้คุณประโยชน์ของนมแม่ลดลง ห้ามครอบครัวของแม่นมแต่งงานกับเด็กทารกที่ได้รับการเลี้ยงจากแม่นม สื่อถึงความเชื่อทางศาสนาและความสัมพันธ์ของผู้หญิงที่ให้นมแม่จะอยู่ในฐานะของแม่คนหนึ่ง โดยอาจให้มีการดูแลทารกคนนั้นไปจนทารกโตเป็นผู้ใหญ่ นอกจากนี้ลักษณะน้ำนมของแม่นมก็เป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือก โดยแม่นมจะต้องมีลักษณะน้ำนมขาว หวาน กลมกลืน ข้นเหนียวที่แสดงถึงคุณภาพน้ำนมที่ดี มีความเชื่อเกี่ยวกับหัวน้ำนม (colostrum) ที่เชื่อว่าเป็นอันตรายต่อทารก จึงมีการให้สารอาหารอื่นแทนในระยะแรกที่น้ำนมยังมาไม่ดี ได้แก่ น้ำผึ้ง เนยหรือน้ำมันผสมน้ำตาล น้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อม2

ต่อมาในปี ค.ศ. 1856 ได้มีการเปิดโรงงานผลิตนมกระป๋องในอเมริกา และนมผสมเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง วัฒนธรรมการทำงานของสตรีเปลี่ยนแปลงไป โดยสตรีเริ่มต้องออกไปทำงานนอกบ้าน การให้ความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การใช้นมผสมมีมากขึ้น จนในปี ค.ศ. 1990 องค์กรอนามัยโลกและองค์กรยูนิเซฟ (UNICEF) ประกาศการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และในปี ค.ศ. 1992 มีการเริ่มโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันมีข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของนมแม่ โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงทารกที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคของทางเดินอาหาร โรคทางเดินหายใจและหูอักเสบ ผิวหนังอักเสบ กลุ่มอาการทารกเสียชีวิตเฉียบพลัน (sudden infant death syndrome) โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง โดยภูมิคุ้มกันนี้จะยาวนานไปถึงเด็กอายุ 7 ปีและบางโรคยาวนานไปถึงวัยผู้ใหญ่1 ข้อมูลเหล่านี้ส่งเสริมเกิดการศึกษาเพิ่มเติมและให้ข้อแนะนำการเลี้ยงลูกอย่างเดียวเพิ่มจาก 4 เดือนเป็น 6 เดือน

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????????? Dowling DA. Lessons From the Past: A Brief History of the Influence of Social, Economic, and Scientific Factors on Infant Feeding. Newborn and Infant Nursing Reviews 2005;5:2-9.

 

 

ผลของภาวะลิ้นติดต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รูปแสดงภาวะลิ้นติดจาก Block, SL.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรงษ์

??????????? มีการศึกษาถึงผลของภาวะลิ้นติดต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยพบความสัมพันธ์ดังนี้

  1. การเจ็บเต้านม มีการศึกษาพบว่าทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วยสาเหตุของการเจ็บเต้านมของมารดาร้อยละ 36-892,3 โดยเมื่อได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ววัดคะแนนการเจ็บเต้านมของมารดาที่ทารกมีภาวะลิ้นติดดีขึ้นราวร้อยละ 44-952,4-6 และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยของคะแนนการเจ็บเต้านมก่อนและหลังทำการผ่าตัด3,6-8 นอกจากนี้อาการเจ็บเต้านมที่มีในสามสัปดาห์แรกของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังมีความเสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถึงร้อยละ 10-269,10
  2. การเข้าเต้าไม่ดี จากการศึกษาพบแพทย์เฉพาะทางโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์วิทยาร้อยละ 70 เชื่อว่าภาวะลิ้นติดทำให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อย แต่แพทย์ที่ให้คำปรึกษาด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร้อยละ 69 เชื่อว่า ภาวะลิ้นติดพบบ่อยที่ทำให้เกิดปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่9 การเข้าเต้าเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการเริ่มต้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วยสาเหตุการเข้าเต้าได้ไม่ดีร้อยละ 64-842,3 มีรายงานเปรียบเทียบการเข้าเต้าในทารกที่มีภาวะลิ้นติดกับทารกปกติ พบว่า ในทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีการเข้าเต้ายากร้อยละ 25 เทียบกับในทารกปกติพบร้อยละ 311 ?โดยเมื่อเปรียบเทียบคะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (infant breastfeeding assessment tool) และคะแนนการเข้าเต้าในทารกที่มีภาวะลิ้นติดก่อนและหลังได้รับการผ่าตัดรักษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ5,6,12
  3. ทารกน้ำหนักขึ้นไม่ดี พบทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีปัญหาเรื่องน้ำหนักขึ้นไม่ดีร้อยละ 162 ซึ่งเป็นปัญหามาจากการเข้าเต้าได้ไม่ดีและต้องใช้เวลานานเข้าเต้าทำให้ได้รับน้ำนมแม่น้อยหรือไม่เพียงพอ ในทารกที่มีภาวะลิ้นติดนี้ไม่พบปัญหาในการดูดนมขวด11 อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์มาก ดังนั้นการผ่าตัดแก้ไขจึงเป็นทางเลือกในรายที่มีปัญหานี้ มีรายงานทารกที่มีภาวะลิ้นติดหลังได้รับการผ่าตัดรักษามีน้ำหนักดีขึ้นร้อยละ 655
  4. การหยุดนมแม่เร็ว สาเหตุหนึ่งของการหยุดนมแม่เร็วคือ อาการเจ็บเต้านม อาการเจ็บเต้านมที่มีในสามสัปดาห์แรกของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำให้มีความเสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถึงร้อยละ 10-269,10 โดยพบความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสัปดาห์แรกเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า13 อย่างไรก็ตามในการติดตามทารกหลังจากผ่าตัดรักษาภาวะลิ้นติดเมื่ออายุ 2 เดือนไม่พบความแตกต่างของการเจ็บเต้านมและคะแนนการเข้าเต้า รวมถึงไม่พบความแตกต่างในระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่12 แนวโน้มของข้อมูลแสดงว่า ภาวะลิ้นติดน่าจะมีผลในช่วงระยะแรกหลังคลอดที่เริ่มเข้าเต้าและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Block SL. Ankyloglossia: when frenectomy is the right choice. Pediatr Ann 2012;41:14-6.

2.???????????? Hong P, Lago D, Seargeant J, Pellman L, Magit AE, Pransky SM. Defining ankyloglossia: A case series of anterior and posterior tongue ties. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology 2010;74:1003-6.

3.???????????? Ballard JL, Auer CE, Khoury JC. Ankyloglossia: assessment, incidence, and effect of frenuloplasty on the breastfeeding dyad. Pediatrics 2002;110:e63.

4.???????????? Hall DM, Renfrew MJ. Tongue tie. Arch Dis Child 2005;90:1211-5.

5.???????????? Gov-Ari E. Ankyloglossia: Effects of Frenulotomy on Breastfeeding Dyads. Otolaryngology – Head and Neck Surgery 2010;143:P111.

6.???????????? Srinivasan A, Dobrich C, Mitnick H, Feldman P. Ankyloglossia in breastfeeding infants: the effect of frenotomy on maternal nipple pain and latch. Breastfeed Med 2006;1:216-24.

7.???????????? Geddes DT, Langton DB, Gollow I, Jacobs LA, Hartmann PE, Simmer K. Frenulotomy for breastfeeding infants with ankyloglossia: effect on milk removal and sucking mechanism as imaged by ultrasound. Pediatrics 2008;122:e188-94.

8.???????????? Berry J, Griffiths M, Westcott C. A double-blind, randomized, controlled trial of tongue-tie division and its immediate effect on breastfeeding. Breastfeed Med 2012;7:189-93.

9.???????????? Segal LM, Stephenson R, Dawes M, Feldman P. Prevalence, diagnosis, and treatment of ankyloglossia: methodologic review. Can Fam Physician 2007;53:1027-33.

10.????????? Schwartz K, D’Arcy HJ, Gillespie B, Bobo J, Longeway M, Foxman B. Factors associated with weaning in the first 3 months postpartum. J Fam Pract 2002;51:439-44.

11.????????? Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: does it matter? Pediatric Clinics of North America 2003;50:381-97.

12.????????? Buryk M, Bloom D, Shope T. Efficacy of neonatal release of ankyloglossia: a randomized trial. Pediatrics 2011;128:280-8.

13.????????? Ricke LA, Baker NJ, Madlon-Kay DJ, DeFor TA. Newborn tongue-tie: prevalence and effect on breast-feeding. J Am Board Fam Pract 2005;18:1-7.

 

 

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะลิ้นติด (เพิ่มเติม)

รูปแสดงการผ่าตัดภาวะลิ้นติดจาก Hong P, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะลิ้นติด นอกจากเกณฑ์ของ Hazelbaker แล้ว ยังมีเกณฑ์อีกหลายเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยในการให้บริการวิชาการและวิจัย ได้แก่

  1. เกณฑ์การวินิจฉัย คือ การมีเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากสั้นและจำกัดการเคลื่อนไหวของปลายลิ้น2
  2. เกณฑ์การวินิจฉัย คือ การมีเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากสั้นและจำกัดการเคลื่อนไหวของลิ้น โดยแบ่งรายละเอียดภาวะลิ้นติดเป็น ภาวะลิ้นติดทางด้านหน้า (anterior ankyloglossia) ซึ่งจะเห็นจาการที่เนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากสั้นในส่วนครึ่งด้านหน้าของลิ้น และภาวะลิ้นติดทางด้านหลัง (posterior ankyloglossia) ซึ่งจะเห็นจาการที่เนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากสั้นในส่วนครึ่งด้านหลังของลิ้น1
  3. เกณฑ์การวินิจฉัย คือ การมีเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากสั้นและจำกัดการเคลื่อนไหวของลิ้น โดยแบ่งรายละเอียดภาวะลิ้นติดเป็น ภาวะลิ้นติดทางด้านหน้า (anterior ankyloglossia) ซึ่งแบ่งเป็นชนิดย่อยอีกสามชนิด คือ ชนิดแรกเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากมีมาถึงปลายลิ้น ชนิดที่สองเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากมีประมาณ 3 ใน 4 ของลิ้น ชนิดที่สามเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากมีประมาณ 1 ใน 2 ของลิ้น และภาวะลิ้นติดทางด้านหลัง (posterior ankyloglossia) ซึ่งจะเห็นจาการที่เนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากสั้นในส่วนครึ่งด้านหลังของลิ้น โดยภาวะลิ้นติดทางด้านหลังในเกณฑ์นี้อาจพิจารณาเป็นชนิดที่ 43
  4. เกณฑ์การวินิจฉัยใช้เกณฑ์ของ Kotlow โดยวัดความยาวของจากปลายลิ้นถึงจุดที่มีการติดของเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปาก ความยาวนี้ที่ยอมรับว่าปกติทางคลินิก คือมากกว่า 16 มิลลิเมตร4 หากวัดความยาวส่วนนี้ได้ 12-16 มิลลิเมตรจัดกลุ่มเป็นภาวะลิ้นติดเล็กน้อย (mild ankyloglossia) หากความยาวตั้งแต่ 8-11 มิลลิเมตรจัดกลุ่มเป็นภาวะลิ้นติดปานกลาง (moderate ankyloglossia) หากความยาวตั้งแต่ 3-7 มิลลิเมตรจัดกลุ่มเป็นภาวะลิ้นติดรุนแรง (severe ankyloglossia) และหากความยาวน้อยกว่า 3 มิลลิเมตรจัดกลุ่มเป็นภาวะลิ้นติดสมบูรณ์ (complete ankyloglossia)5 กลุ่มภาวะลิ้นติดรุนแรงและสมบูรณ์จะพบการจำกัดการเคลื่อนไหวของลิ้นค่อนข้างมาก

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Hong P, Lago D, Seargeant J, Pellman L, Magit AE, Pransky SM. Defining ankyloglossia: A case series of anterior and posterior tongue ties. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology 2010;74:1003-6.

2.???????? Segal LM, Stephenson R, Dawes M, Feldman P. Prevalence, diagnosis, and treatment of ankyloglossia: methodologic review. Can Fam Physician 2007;53:1027-33.

3.???????? Steehler MW, Steehler MK, Harley EH. A retrospective review of frenotomy in neonates and infants with feeding difficulties. Int J Pediatr Otorhinolaryngol 2012;76:1236-40.

4.???????? Chaubal TV, Dixit MB. Ankyloglossia and its management. J Indian Soc Periodontol 2011;15:270-2.

5.???????? Kotlow LA. Ankyloglossia (tongue-tie): a diagnostic and treatment quandary. Quintessence Int 1999;30:259-62.

 

 

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะลิ้นติด

รูปแสดงภาวะลิ้นติดจาก Block, SL.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การวินิจฉัยภาวะลิ้นติด มีเกณฑ์การวินิจฉัยหลากหลาย เกณฑ์ของ Hazelbaker ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์หนึ่งในการศึกษาและการวิจัย ประเมินลักษณะของลิ้นทารกโดยใช้ลักษณะ 5 อย่างร่วมกับการใช้หน้าที่การทำงานของลิ้นอีก 7 อย่าง การวินิจฉัยภาวะลิ้นติดเมื่อให้คะแนนลักษณะรวมแล้วได้ 8 หรือน้อยกว่า และ/หรือ คะแนนหน้าที่รวมแล้วได้ 11 หรือน้อยกว่า2 แสดงรายละเอียดดังตารางที่ 1

 

ตารางที่ 1 เกณฑ์การประเมินลักษณะและหน้าที่การทำงานของลิ้นของ Hazelbaker

คะแนนลักษณะ คะแนนหน้าที่การทำงาน
ลักษณะลิ้นเมื่อกระดกขึ้น การเคลื่อนที่ไปด้านข้างของลิ้น
? 2: มนหรือเหลี่ยม ? 2: สมบูรณ์
? 1: ปลายหยักเล็กน้อย ? 1: ไปเฉพาะตัวลิ้น ปลายไม่ไป
? 0: รูปหัวใจหรือตัว V ? 0: ไม่ได้เลย
ความยืดหยุ่นของ frenulum การกระดกลิ้น
? 2: ยืดหยุ่นมาก ? 2: ปลายลิ้นถึงกลางปาก
? 1: ยืดหยุ่นปานกลาง ? 1: แค่ขอบสองข้างถึงกลางปาก
? 0: ยืดหยุ่นเล็กน้อยหรือไม่เลย ? 0: ปลายอยู่แค่เหงือกล่างหรือกระดกได้ถึงเฉพาะเวลาเหงือกหุบ
ความยาวของ frenulum เมื่อลิ้นกระดก การแลบลิ้น
? 2: > 1 cm ? 2: ปลายลิ้นอยู่บนริมฝีปากล่าง
? 1: 1 cm ? 1: ปลายลิ้นอยู่บนเหงือกล่างเท่านั้น
? 0: < 1 cm ? 0: ไม่ใช่ทั้ง 2 อย่าง หรือส่วนปลายหรือส่วนกลางลิ้นนูนสูงขึ้น
การยึดของ frenulum กับลิ้น การแผ่ของส่วนปลายของลิ้น
? 2: ส่วนหลังของปลายลิ้น ? 2: บริบูรณ์เต็มที่
? 1: ที่ปลายเลย ? 1: ปานกลางหรือบางส่วน
? 0: ปลายลิ้นมีรอยหยัก ? 0: เล็กน้อยหรือไม่เลย
ตำแหน่งยึดของ frenulum กับขอบเหงือกล่าง การม้วนของขอบลิ้นเมื่ออมหัวนม(cupping)
? 2: ยึดติดกับพื้นปากหรือหลังต่อขอบเหงือก ? 2: ตลอดขอบ ม้วนอมได้กระชับ
? 1: ยึดหลังขอบเหงือกพอดี ? 1: ขอบข้างเท่านั้น กระชับปานกลาง
? 0: ยึดติดที่ขอบเหงือก ? 0: ไม่ดี หรือไม่กระชับเลย
การเคลื่อนไหวเป็นลูกคลื่นของลิ้น
? 2: สมบูรณ์ จากหน้าไปถึงหลัง
? 1: บางส่วน เริ่มจากส่วนหลังต่อปลายลิ้น
? 0: ไม่มี หรือเคลื่อนกลับทาง
การอมแล้วหลุด
? 2: ไม่เลย
? 1: เป็นครั้งคราว
? 0: บ่อยๆ หรือทุกครั้งที่ดูด

หมายเหตุ ข้อมูลแปลเป็นไทยโดย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์วีระพงษ์? ฉัตรานนท์ จาก http://www.breastfeedingthai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=345949

 

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Block SL. Ankyloglossia: when frenectomy is the right choice. Pediatr Ann 2012;41:14-6.

2.???????? Ballard JL, Auer CE, Khoury JC. Ankyloglossia: assessment, incidence, and effect of frenuloplasty on the breastfeeding dyad. Pediatrics 2002;110:e63.