คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 3)

ท้อง

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ปัจจัยทางด้านจิตใจ ได้แก่

  • ความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญโดยหากมารดามีความตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นาน พบว่าสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า1,2
  • ทัศนคติของมารดาต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีความสัมพันธ์กับการเลือกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือเลี้ยงลูกด้วยนมผสมอย่างมีนัยสำคัญ3 จึงเป็นสิ่งที่ทำนายการเลือกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่สำคัญ
  • ความรู้สึกของมารดาที่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยตนเอง เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่ามารดาที่รู้สึกว่าสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ด้วยตนเองจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า1,2
  • ความผูกพันและสัญชาติญาณความเป็นแม่ มีผลดีต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงหนึ่งปีหลังคลอด4
  • มารดารู้สึกเหนื่อย ในมารดาที่รู้สึกไม่สบายตัว เหนื่อย มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่5
  • ความรู้สึกกังวลใจและไม่ปลอดภัยในการให้นมลูกในที่สาธารณะ มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่6

 

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Forster DA, McLachlan HL, Lumley J. Factors associated with breastfeeding at six months postpartum in a group of Australian women. Int Breastfeed J 2006;1:18.

2.???????????? Blyth RJ, Creedy DK, Dennis CL, et al. Breastfeeding duration in an Australian population: the influence of modifiable antenatal factors. J Hum Lact 2004;20:30-8.

3.???????????? Scott JA, Shaker I, Reid M. Parental attitudes toward breastfeeding: their association with feeding outcome at hospital discharge. Birth 2004;31:125-31.

4.???????????? Britton JR, Britton HL, Gronwaldt V. Breastfeeding, sensitivity, and attachment. Pediatrics 2006;118:e1436-43.

5.???????????? Dykes F, Moran VH, Burt S, Edwards J. Adolescent mothers and breastfeeding: experiences and support needs–an exploratory study. J Hum Lact 2003;19:391-401.

6.???????????? Scott JA, Mostyn T. Women’s experiences of breastfeeding in a bottle-feeding culture. J Hum Lact 2003;19:270-7.

 

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 2)

ท้อง

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ปัจจัยทางด้านกายภาพและชีวภาพของมารดาและทารก ได้แก่

  • อายุของมารดา อายุที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในมารดาอายุน้อยจะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่ามารดาที่อายุมากขึ้น1-3 ข้อมูลของอายุน้อยบางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 20-21 ปี2,4 บางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 26 ปี3 และบางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 30 ปี1
  • ลำดับครรภ์ ครรภ์แรกมีผลในทางลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่3
  • วิธีการคลอด การคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศและการผ่าตัดคลอดมีผลในทางลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2,5 มารดาที่ผ่าตัดคลอดต้องการการช่วยเหลือในการจัดท่าให้นมลูกมากกว่ามารดาที่คลอดทางช่องคลอด อย่างไรก็ตาม เมื่อสามารถเริ่มให้นมลูกได้แล้ววิธีการคลอดพบว่าไม่มีผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่5-7
  • หัวนมสั้นและหัวนมบอด พบว่าหัวนมของมารดาที่สั้นกว่า 7 มิลลิเมตรจะมีโอกาสในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จน้อยกว่า
  • การเจ็บเต้านม การที่มารดามีอาการเจ็บเต้านมจะสัมพันธ์กับการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรก8,9 แต่สิ่งนี้ไม่ได้ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะยาว10,11
  • การให้ผิวของลูกสัมผัสผิวของแม่เมื่อแรกคลอด (skin-to-skin contact) มีผลดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ 1-4 เดือนหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญและเพิ่มระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ12
  • การเริ่มให้นมลูก มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หากเริ่มให้นมลูกช้ากว่า 6 ชั่วโมงแรกหลังคลอด4
  • ?การเข้าเต้า (latch on) ซึ่งเป็นกระบวนการที่จัดให้ปากทารกเข้าประกบกับเต้านม คาบหัวนมและอมลานนม การเข้าเต้าที่ดีจะส่งผลต่อการดูดและกลืนน้ำนมอย่างเป็นจังหวะได้เหมาะสม การเข้าเต้าจึงเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์ต่างๆ ในการประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และใช้บอกความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่13
  • ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ใช้ทำนายมารดาที่ความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงนมแม่ในระยะ 7-10 วัน14
  • ทารกมีปากแหว่งเพดานโหว่ มีผลต่อการเข้าเต้าและการดูดนมของทารก ในทารกที่มีเพดาโหว่ จะมีปัญหาเรื่องการดูดนมโดยจะสร้างแรงดูดที่เพียงพอในการดูดนมไม่ได้15
  • ?ภาวะลิ้นติด ส่งผลให้เกิดการเจ็บเต้านม การเข้าเต้าไม่ดี ทารกน้ำหนักขึ้นไม่ดีและการหยุดนมแม่เร็ว มีการศึกษาพบว่าทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วยสาเหตุของการเจ็บเต้านมของมารดาร้อยละ 36-8916,17 โดยเมื่อได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ววัดคะแนนการเจ็บเต้านมของมารดาที่ทารกมีภาวะลิ้นติดดีขึ้นราวร้อยละ 44-9516,18-20 ทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีการเข้าเต้ายากร้อยละ 25 เทียบกับในทารกปกติพบร้อยละ 321 ?โดยเมื่อเปรียบเทียบคะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (infant breastfeeding assessment tool) และคะแนนการเข้าเต้าในทารกที่มีภาวะลิ้นติดก่อนและหลังได้รับการผ่าตัดรักษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ19,20,22 ทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีปัญหาเรื่องน้ำหนักขึ้นไม่ดีร้อยละ 1616 การผ่าตัดแก้ไขเป็นทางเลือกในรายที่มีปัญหานี้ มีรายงานทารกที่มีภาวะลิ้นติดหลังได้รับการผ่าตัดรักษามีน้ำหนักดีขึ้นร้อยละ 6519 สำหรับการหยุดนมแม่เร็ว พบความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของทารกที่มีภาวะลิ้นติดในสัปดาห์แรกเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า23
  • ทารกคลอดก่อนกำหนด ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีปัญหาในด้านการดูดและการกลืนซึ่งส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่24
  • ทารกน้ำหนักตัวน้อย มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หากทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยกว่า 2500 กรัม4
  • น้ำนมไม่พอ เป็นปัญหาของการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยจากการศึกษาพบเป็นปัญหาเพียงร้อยละ 5 แต่มารดารู้สึกว่าน้ำนมไม่พอถึงร้อยละ 5025
  • มารดาหรือทารกป่วย การที่มารดาหรือทารกป่วยทำให้มีโอกาสต้องแยกจากกันจึงเป็นปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่26 นอกจากนี้ การที่มารดาได้รับยาในการรักษาอาจมีผลต่อปริมาณน้ำนมหรือทารกส่งผลต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย27
  • ทารกร้องกวน มีผลต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่27

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Zobbi VF, Calistri D, Consonni D, Nordio F, Costantini W, Mauri PA. Breastfeeding: validation of a reduced Breastfeeding Assessment Score in a group of Italian women. J Clin Nurs 2011;20:2509-18.

2.??????????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.

3.??????????? Narayan S, Natarajan N, Bawa KS. Maternal and neonatal factors adversely affecting breastfeeding in the perinatal period. Medical Journal Armed Forces India 2005;61:216-9.

4.??????????? Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.

5.??????????? Scott JA, Landers MC, Hughes RM, Binns CW. Factors associated with breastfeeding at discharge and duration of breastfeeding. J Paediatr Child Health 2001;37:254-61.

6.??????????? Dennis CL. Breastfeeding initiation and duration: a 1990-2000 literature review. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2002;31:12-32.

7.??????????? Cernadas JM, Noceda G, Barrera L, Martinez AM, Garsd A. Maternal and perinatal factors influencing the duration of exclusive breastfeeding during the first 6 months of life. J Hum Lact 2003;19:136-44.

8.??????????? Kvist LJ, Larsson BW, Hall-Lord ML. A grounded theory study of Swedish women’s experiences of inflammatory symptoms of the breast during breast feeding. Midwifery 2006;22:137-46.

9.??????????? Walker M. Conquering common breast-feeding problems. J Perinat Neonatal Nurs 2008;22:267-74.

10.????????? Hector D, King L, Webb K, Heywood P. Factors affecting breastfeeding practices: applying a conceptual framework. N S W Public Health Bull 2005;16:52-5.

11.????????? DiGirolamo A, Thompson N, Martorell R, Fein S, Grummer-Strawn L. Intention or experience? Predictors of continued breastfeeding. Health Educ Behav 2005;32:208-26.

12.????????? Moore ER, Anderson GC, Bergman N, Dowswell T. Early skin-to-skin contact for mothers and their healthy newborn infants. Cochrane Database Syst Rev 2012;5:CD003519.

13.????????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of breastfeeding and infant growth. J Midwifery Womens Health 2007;52:571-8.

14.????????? Hall RT, Mercer AM, Teasley SL, et al. A breast-feeding assessment score to evaluate the risk for cessation of breast-feeding by 7 to 10 days of age. J Pediatr 2002;141:659-64.

15.????????? Arosarena OA. Cleft Lip and Palate. Otolaryngologic Clinics of North America 2007;40:27-60.

16.????????? Hong P, Lago D, Seargeant J, Pellman L, Magit AE, Pransky SM. Defining ankyloglossia: A case series of anterior and posterior tongue ties. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology 2010;74:1003-6.

17.????????? Ballard JL, Auer CE, Khoury JC. Ankyloglossia: assessment, incidence, and effect of frenuloplasty on the breastfeeding dyad. Pediatrics 2002;110:e63.

18.????????? Hall DM, Renfrew MJ. Tongue tie. Arch Dis Child 2005;90:1211-5.

19.????????? Gov-Ari E. Ankyloglossia: Effects of Frenulotomy on Breastfeeding Dyads. Otolaryngology – Head and Neck Surgery 2010;143:P111.

20.????????? Srinivasan A, Dobrich C, Mitnick H, Feldman P. Ankyloglossia in breastfeeding infants: the effect of frenotomy on maternal nipple pain and latch. Breastfeed Med 2006;1:216-24.

21.????????? Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: does it matter? Pediatric Clinics of North America 2003;50:381-97.

22.????????? Buryk M, Bloom D, Shope T. Efficacy of neonatal release of ankyloglossia: a randomized trial. Pediatrics 2011;128:280-8.

23.????????? Ricke LA, Baker NJ, Madlon-Kay DJ, DeFor TA. Newborn tongue-tie: prevalence and effect on breast-feeding. J Am Board Fam Pract 2005;18:1-7.

24.????????? da Costa SP, van der Schans CP, Zweens MJ, et al. The Development of Sucking Patterns in Preterm, Small-for-Gestational Age Infants. The Journal of Pediatrics 2010;157:603-9.e3.

25.????????? Hector D, King L. Interventions to encourage and support breastfeeding. N S W Public Health Bull 2005;16:56-61.

26.????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

27.????????? Olang B, Heidarzadeh A, Strandvik B, Yngve A. Reasons given by mothers for discontinuing breastfeeding in Iran. Int Breastfeed J 2012;7:7.

 

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 1)

ท้อง

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? องค์กรอนามัยโลกแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยหกเดือน ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีหลากหลายโดยระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอดและหลังคลอดมีปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากน้อยในแต่ละช่วงเวลาแตกต่างกัน แบ่งกลุ่มของปัจจัยต่างๆ ออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้

  1. ปัจจัยทางด้านกายภาพและชีวภาพของมารดาและทารก
  2. ปัจจัยทางด้านจิตใจ
  3. ปัจจัยทางด้านครอบครัว
  4. ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

เกณฑ์ในการทำนายการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

breastfeeding1

Breastfeeding assessment score

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นี้ใช้ในการทำนายการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หัวข้อในการประเมิน

คะแนน

เกณฑ์การให้คะแนน

อายุมารดา

0

<21 ปี
 

1

21-24 ปี
 

2

>24 ปี
ประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

0

ล้มเหลว
 

1

ไม่มี
 

2

สำเร็จ
จำนวนครั้งในการเข้าเต้ายาก

0

ทุกครั้งที่ให้นมลูก
 

1

เข้าเต้ายากครึ่งหนึ่งของการให้นมลูก
 

2

เข้าเต้ายากน้อยกว่า 3 ครั้ง
ระยะห่างระหว่างการให้นมลูกแต่ละครั้ง

0

มากกว่า 6 ชั่วโมง
 

1

3-6 ชั่วโมง
 

2

น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
จำนวนนมผสมที่ได้รับในโรงพยาบาล

0

ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
 

1

1 ครั้ง
 

2

ไม่ได้รับนมผสม
เคยได้รับการผ่าตัดเต้านมมาก่อน

-2

เคย
 

0

ไม่เคย
มารดามีความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์

-2

มี
 

0

ไม่มี
มารดาคลอดบุตรโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศ

-2

ใช้เครื่องดูดสุญญากาศ
 

0

ไม่ใช้เครื่องดูดสุญญากาศ

 

การแปลผล หากคะแนนตั้งแต่ 8 มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่หลังคลอด 7-10 วันสูง (ร้อยละ 95) แต่หากคะแนนน้อยกว่า 8 มีโอกาสที่จะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ร้อยละ 21)1

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Hall RT, Mercer AM, Teasley SL, et al. A breast-feeding assessment score to evaluate the risk for cessation of breast-feeding by 7 to 10 days of age. The Journal of Pediatrics 2002;141:659-64.

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 7)

breastfeeding s0011502908000230.jpg3รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ Mother?Infant Breastfeeding Progress Tool (MIBPT)2 มีรายละเอียด ดังนี้

หัวข้อประเมิน

มารดามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อลักษณะการดูดนมของทารก ได้แก่ ทารกที่ได้รับการกระตุ้นดูดนมและการเข้าเต้า
ระยะเวลาระหว่างช่วงให้นมลูกของมารดาไม่เกิน 3 ชั่วโมง
ทารกอมหัวนมและคาบลานนมพร้อมกับอ้าปากกว้าง ริมฝีปากมองเห็นปลิ้นออก
สังเกตเห็นการดูดนมแรง
มารดาสามารถจัดท่าให้นมได้ด้วยตนเอง
มารดาสามารถนำทารกเข้าเต้าได้
หัวนมของมารดาไม่มีบาดแผล
ไม่มีข้อคิดเห็นด้านลบในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 8 ตัวแปรคือ มารดามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อลักษณะการดูดนมของทารก ระยะเวลาระหว่างช่วงให้นมลูกของมารดาไม่เกิน 3 ชั่วโมง ทารกอมหัวนมและคาบลานนมพร้อมกับอ้าปากกว้าง ริมฝีปากมองเห็นปลิ้นออก สังเกตเห็นการดูดนมแรง มารดาสามารถจัดท่าให้นมได้ด้วยตนเอง มารดาสามารถนำทารกเข้าเต้าได้ หัวนมของมารดาไม่มีบาดแผลและไม่มีข้อคิดเห็นด้านลบในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากมารดาและทารก ไม่มีการให้คะแนนในเกณฑ์นี้ การนำไปใช้ใช้ช่วยประเมินพฤติกรรมทารกว่าเป็นอย่างไรและมารดามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อทารกอย่างไร โดยใช้เป็นแบบตรวจสอบตามหัวข้อสำหรับการสอนมารดาและครอบครัวหรือใช้บ่งบอกว่ามารดาและทารกต้องการความช่วยเหลือในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ข้อมูลของประสิทธิภาพของเกณฑ์นี้ มีการศึกษาถึงความเชื่อมั่นในการให้คะแนนระหว่างบุคคล (inter-rater reliability) พบร้อยละ 79-953

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? Johnson TS, Mulder PJ, Strube K. Mother-Infant Breastfeeding Progress Tool: a guide for education and support of the breastfeeding dyad. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2007;36:319-27.

3.???????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of breastfeeding and infant growth. J Midwifery Womens Health 2007;52:571-8.