คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

10 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 1)

obgyn

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

10 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (Ten Steps to Successful Breastfeeding) ได้รับการกำหนดเป็นนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากองค์การอนามัยโลกและองค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ตั้งแต่ พ.ศ. 2534 และได้มีการศึกษาถึงผลการนำไปปฏิบัติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยจะเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในระยะเวลาหกเดือน1 ขั้นตอน 10 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีรายละเอียดดังนี้

  • มีนโยบายในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เขียนไว้ชัดเจนไว้สื่อสารกับบุคลากร การเขียนนโยบายควรสื่อสารความชัดเจนในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ขั้นตอน กระบวนการและสิ่งสนับสนุนที่ช่วยเหลือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงสื่อสารในเรื่องการให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณสนับสนุน ซึ่งสิ่งเหล่านี้นอกจากเป็นการสื่อสารในองค์กรแล้ว ยังเป็นการสื่อสารให้กับมารดาและครอบครัวได้เห็นถึงแนวทางในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของโรงพยาบาลและเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างกระแสสังคมด้วย มีการศึกษาว่าการมีนโยบายในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เขียนไว้ชัดเจนไว้สื่อสารกับบุคลากรมีความสัมพันธ์แบบอิสระกับอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยให้มีการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสองสัปดาห์หลังคลอดสูงขึ้น2
  • ฝึกบุคลากรให้มีทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติตามนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การฝึกอบรมบุคลากรที่เป็นผู้ดูแลแม่และลูกในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมหลักสูตร 20 ชั่วโมง ซึ่งจะมีการปฏิบัติทางคลินิก 3 ชั่วโมงและในการฝึกทักษะสัดส่วนแพทย์ผู้สอนต่อผู้เข้าอบรม 1:1หรือ 1:2 ปัญหาหนึ่งของบุคลากรคือ แพทย์ผู้เป็นผู้นำในการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังขาดความรู้และทักษะในการสอนและจัดให้มารดาและทารกได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ในปัจจุบันการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การประกอบวิชาชีพเวชกรรมปี 2555 ในการสอนนักศึกษาแพทย์และมีการหลักสูตรส่งเสริมการเรียนการสอนของอาจารย์แพทย์สาขาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยาและกุมารเวชศาสตร์ มีตำรา เอกสารการสอนและสื่อสนับสนุนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำให้ระบบการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น ซึ่งอิทธิพลในด้านความคิดเห็นของแพทย์มีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมาก3,4

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Zakarija-Grkovic I, Segvic O, Bozinovic T, et al. Hospital practices and breastfeeding rates before and after the UNICEF/WHO 20-hour course for maternity staff. J Hum Lact 2012;28:389-99.

2.??????????? Rosenberg KD, Stull JD, Adler MR, Kasehagen LJ, Crivelli-Kovach A. Impact of hospital policies on breastfeeding outcomes. Breastfeed Med 2008;3:110-6.

3.??????????? Taveras EM, Li R, Grummer-Strawn L, et al. Opinions and practices of clinicians associated with continuation of exclusive breastfeeding. Pediatrics 2004;113:e283-90.

4.??????????? Taveras EM, Capra AM, Braveman PA, Jensvold NG, Escobar GJ, Lieu TA. Clinician support and psychosocial risk factors associated with breastfeeding discontinuation. Pediatrics 2003;112:108-15.

 

 

นิยามของการบอกปริมาณของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ในการศึกษาวิจัยเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การอธิบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นมีความจำเป็นเพื่อสื่อสารและทำให้เข้าใจได้ว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในการศึกษานั้นเป็นลักษณะใด ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นจำเป็นต้องอาศัยปริมาณในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ ดังนั้นจึงมีการให้คำนิยามของการบอกปริมาณการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตาม Interagency group for action on breastfeeding1 ดังนี้

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเต็มที่ (full breastfeeding) คือ การที่ให้ลูกได้รับนมแม่อย่างเดียว ไม่มีการใช้สารน้ำอื่น ยา หรือวิตามิน หรือเป็นการให้ลูกได้รับนมแม่เกือบเพียงอย่างเดียวโดยอาจมีการให้สารน้ำ ยาหรือวิตามินตามความจำเป็น

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วน (partial breastfeeding) คือ การที่ให้ลูกได้รับนมแม่บางส่วนและมีการให้สารอื่น นมผสมหรือนมอื่นๆ ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน แบ่งเป็น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วนชนิดได้รับสูงจะได้รับนมแม่มากกว่าร้อยละ 80 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วนชนิดได้รับปานกลางจะได้รับนมแม่ตั้งแต่ร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 80 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วนชนิดได้รับต่ำจะได้รับนมแม่น้อยกว่าร้อยละ 20

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงเล็กน้อย (token breastfeeding) คือ การที่ให้ลูกได้รับนมแม่เพียงบางครั้ง ไม่สม่ำเสมอหรือเล็กน้อย

เมื่อมีการให้นิยามเหล่านี้อย่างชัดเจน การเก็บข้อมูลอย่างเข้มงวดจะทำให้ได้ผลของการศึกษาวิจัยเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นมีความน่าเชื่อถือ สามารถจะเก็บข้อมูลได้อย่างมั่นใจ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จำเป็นโดยเฉพาะในโรงพยาบาลที่มีนโยบายโรงสายสัมพันธ์แม่ลูกเนื่องจากนำไปใช้ในการติดตาม พัฒนาและเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Noel-Weiss J, Boersma S, Kujawa-Myles S. Questioning current definitions for breastfeeding research. Int Breastfeed J 2012;7:9.

2.??????????? Zakarija-Grkovic I, Segvic O, Bozinovic T, et al. Hospital practices and breastfeeding rates before and after the UNICEF/WHO 20-hour course for maternity staff. J Hum Lact 2012;28:389-99.

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และนิยามอาหารสำหรับทารกแรกเกิด

นมแม่สร้างได้อย่างไร?

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประโยชน์ต่อทั้งมารดาและทารก ข้อแนะนำในระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เหมาะสมนั้น คือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน หลังจากนั้นเสริมอาหารอื่นๆ ให้ควบคู่กับนมแม่จนกระทั่งครบหนึ่งปี โดยยังสามารถให้นมแม่ต่อไปอีกจนครบสองปีหรือแล้วแต่ความต้องการของมารดาและทารก1 ลักษณะของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีคำอธิบายหรือคำนิยามที่แสดงความชัดเจนของลักษณะการเลี้ยงดูทารก ตาม WHO2 ดังนี้

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว (exclusive breastfeeding) คือ การเลี้ยงลูกโดยให้เฉพาะนมแม่อย่างเดียว อาจพิจารณาให้สารน้ำ แร่ธาตุ วิตามินและยาตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ได้

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหลัก (predominant breastfeeding) คือ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยถือว่าเป็นแหล่งของสารอาหารหลักของทารก ร่วมกับมีการของเหลวที่ได้แก่ น้ำ น้ำผลไม้หรือน้ำสมุนไพร

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับอาหารอื่น (complementary feeding) คือ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอาหารกึ่งของแข็งหรืออาหารที่เป็นของแข็ง รวมทั้งนมผสมหรือนมอื่นๆ

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (breastfeeding) หากใช้เพียงคำนี้เท่านั้น หมายถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอาจมีการให้อาหารกึ่งของแข็งหรืออาหารที่เป็นของแข็ง รวมทั้งนมผสมหรือนมอื่นๆ ความหมายทางนัยจะเหมือนกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับอาหารอื่น

การเลี้ยงลูกด้วยขวดนม (bottle feeding) คือ การเลี้ยงลูกจากการให้นมแม่ นมผสม นมอื่นๆ จากการป้อนด้วยขวดนม และอาจมีการให้อาหารกึ่งของแข็งหรืออาหารที่เป็นของแข็งร่วมด้วย

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? Noel-Weiss J, Boersma S, Kujawa-Myles S. Questioning current definitions for breastfeeding research. Int Breastfeed J 2012;7:9.

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 5)

ท้อง

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

  • เศรษฐานะ มารดาที่มีรายได้ต่ำสัมพันธ์ความล้มเหลวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1,2
  • การแต่งงาน ในมารดาที่แต่งงานเป็นปัจจัยบวกต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1
  • การศึกษา มารดาที่มีการศึกษาสูง มีแนวโน้มที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า3
  • อาชีพ พบบางอาชีพอาจเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ ทหาร4 อาชีพลูกจ้างมีความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงกว่ามารดาที่เป็นแม่บ้านหรือมีธุรกิจส่วนตัว5
  • การสนับสนุนจากบุคลากรทางการแพทย์ มีผลดีต่อความสำเร็จและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่6
  • การให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะสนับสนุนให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น7,8 โดยรูปแบบความรู้สามารถให้ได้ตั้งแต่ระยะฝากครรภ์ รูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) การให้ฝึกปฏิบัติ (hand on) การให้แก้โจทย์ปัญหาหรือการให้แสดงบทบาท (role-play) การจัดการสนับสนุนความรู้ที่เป็นรูปแบบที่เป็นการพูดคุยต่อหน้า (face to face) หลากหลายรูปแบบระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอดให้ผลดีกว่าการจัดรูปแบบเดียว9
  • การใช้นมผสม มีผลต่อระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมสั้นหากมีมารดาใช้นมผสม10
  • โรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก (Baby-Friendly Hospital Initiative) จะมีการปฏิบัติตามบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (Ten Steps to Successful Breastfeeding) ส่งผลดีต่อการเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่11-14
  • การกลับเข้าทำงานของมารดา มีผลต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่15
  • การลาพักหลังคลอด ในมารดาที่ลาพักหลังคลอดได้นานจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า5
  • สภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ ที่ให้นมแม่ ตู้เย็นเก็บนมแม่ สิ่งเหล่านี้ช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่16
  • การเยี่ยมบ้าน พบว่าหากมีการเยี่ยมบ้านของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะลดความเสี่ยงของการใช้นมผสมลง17

?

 

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dennis CL. Breastfeeding initiation and duration: a 1990-2000 literature review. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2002;31:12-32.

2.???????????? Dettwyler KA. When to wean: biological versus cultural perspectives. Clin Obstet Gynecol 2004;47:712-23.

3.???????????? Hall WA, Hauck Y. Getting it right: Australian primiparas’ views about breastfeeding: A quasi-experimental study. Int J Nurs Stud 2007;44:786-95.

4.???????????? Bales K, Washburn J, Bales J. Breastfeeding rates and factors related to cessation in a military population. Breastfeed Med 2012;7:436-41.

5.???????????? Skafida V. Juggling work and motherhood: the impact of employment and maternity leave on breastfeeding duration: a survival analysis on Growing Up in Scotland data. Matern Child Health J 2012;16:519-27.

6.???????????? Britton C, McCormick FM, Renfrew MJ, Wade A, King SE. Support for breastfeeding mothers. Cochrane Database Syst Rev 2007:CD001141.

7.???????????? Scott JA, Landers MC, Hughes RM, Binns CW. Factors associated with breastfeeding at discharge and duration of breastfeeding. J Paediatr Child Health 2001;37:254-61.

8.???????????? Noel-Weiss J, Rupp A, Cragg B, Bassett V, Woodend AK. Randomized controlled trial to determine effects of prenatal breastfeeding workshop on maternal breastfeeding self-efficacy and breastfeeding duration. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2006;35:616-24.

9.???????????? Meedya S, Fahy K, Kable A. Factors that positively influence breastfeeding duration to 6 months: a literature review. Women Birth 2010;23:135-45.

10.????????? Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.

11.????????? Hawke BA, Dennison BA, Hisgen S. Improving Hospital Breastfeeding Policies in New York State: Development of the Model Hospital Breastfeeding Policy. Breastfeed Med 2012.

12.????????? Goodman K, DiFrisco E. Achieving baby-friendly designation: step-by-step. MCN Am J Matern Child Nurs 2012;37:146-52; quiz 52-4.

13.????????? Labbok MH. Global baby-friendly hospital initiative monitoring data: update and discussion. Breastfeed Med 2012;7:210-22.

14.????????? Venancio SI, Saldiva SR, Escuder MM, Giugliani ER. The Baby-Friendly Hospital Initiative shows positive effects on breastfeeding indicators in Brazil. J Epidemiol Community Health 2012;66:914-8.

15.????????? Olang B, Heidarzadeh A, Strandvik B, Yngve A. Reasons given by mothers for discontinuing breastfeeding in Iran. Int Breastfeed J 2012;7:7.

16.????????? Cameron B, Javanparast S, Labbok M, Scheckter R, McIntyre E. Breastfeeding support in child care: an international comparison of findings from Australia and the United States. Breastfeed Med 2012;7:163-6.

17.????????? Feldens CA, Ardenghi TM, Cruz LN, Cunha Scalco GP, Vitolo MR. Advising mothers about breastfeeding and weaning reduced pacifier use in the first year of life: a randomized trial. Community Dent Oral Epidemiol 2012.

 

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 4)

ท้อง

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ปัจจัยทางด้านครอบครัว ได้แก่

  • ทัศนคติของสามีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาถึงทัศนคติของสามีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับทัศนคติของมารดาอย่างมีนัยสำคัญ และในกรณีที่สามีมีทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่ามารดามีโอกาสหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อยกว่า1-3
  • การสนับสนุนจากปู่ย่าตายาย มีผลทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานขึ้น โดยพบว่าในมารดาที่แม่เล่าข้อมูลเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ฟังจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า4

 

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Scott JA, Landers MC, Hughes RM, Binns CW. Factors associated with breastfeeding at discharge and duration of breastfeeding. J Paediatr Child Health 2001;37:254-61.

2.??????????? Wolfberg AJ, Michels KB, Shields W, O’Campo P, Bronner Y, Bienstock J. Dads as breastfeeding advocates: results from a randomized controlled trial of an educational intervention. Am J Obstet Gynecol 2004;191:708-12.

3.??????????? Sharps PW, El-Mohandes AA, Nabil El-Khorazaty M, Kiely M, Walker T. Health beliefs and parenting attitudes influence breastfeeding patterns among low-income African-American women. J Perinatol 2003;23:414-9.

4.??????????? Ekstrom A, Widstrom AM, Nissen E. Breastfeeding support from partners and grandmothers: perceptions of Swedish women. Birth 2003;30:261-6.