คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

ปัจจัยที่ทำนายภาวะตัวเหลืองในทารกกินนมแม่

นมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ภาวะตัวเหลืองเป็นภาวะที่เป็นสาเหตุของการกลับเข้ามานอนโรงพยาบาลของทารกแรกเกิดที่พบได้บ่อย ในทารกที่กินนมแม่ภาวะตัวเหลืองสามารถตรวจพบได้โดยไม่พบสาเหตุอื่น ค่าระดับบิลลิรูบินที่สูงกว่า 15 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรถือว่ามีนัยสำคัญที่มีโอกาสเกิดอันตรายและส่งผลต่อสมองเกิดภาวะ kerniterus ซึ่งทำให้ทารกเกิดความพิการได้ เนื่องจากภาวะตัวเหลืองมักพบสูงในช่วง 4-6 วันหลังคลอดจึงมีการแนะนำให้ตรวจภาวะตัวเหลืองในทารกก่อนในช่วง 30-48 ชั่วโมงหลังคลอดก่อนการอนุญาตให้กลับบ้านเพื่อทำนายภาวะตัวเหลือง1 มีการศึกษาปัจจัยที่ทำนายภาวะตัวเหลืองในทารกที่กินนมแม่ที่คลอดกำหนดหรือใกล้กำหนดพบว่า อายุครรภ์ ร้อยละของน้ำหนักของทารกที่ลดลง และค่าสูงสุดของระดับบิลลิรูบินในช่วงสามวันแรกเป็นปัจจัยที่ใช้ทำนายภาวะตัวเหลืองในทารกหลังคลอดในช่วง 4-10 วันโดยมีความถูกต้องของการทำนายร้อยละ 78.82

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Management of hyperbilirubinemia in the newborn infant 35 or more weeks of gestation. Pediatrics 2004;114:297-316.

2.???????????? Huang HC, Yang HI, Chang YH, et al. Model to predict hyperbilirubinemia in healthy term and near-term newborns with exclusive breast feeding. Pediatr Neonatol 2012;53:354-8.

?

การควบคุมน้ำหนักหลังคลอดกับมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ท้อง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การมีน้ำหนักเกิน อ้วน ร้อยละของไขมันในร่างกายสูงหรือน้ำหนักขึ้นเร็วสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านมในวัยหมดประจำเดือน มีการศึกษาพบว่ามีความเสี่ยงสูงในการเกิดมะเร็งเต้านมสูงขึ้น 1.27-2.52 เท่าเมื่อมีดัชนีมวลกายสูงขึ้น1-4 การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักมักพบในช่วงของการตั้งครรภ์และหลังคลอด การสนับสนุนการลดน้ำหนักหลังคลอดจากการให้นมบุตรและการปรับเปลี่ยนลักษณะอาหารของมารดาอาจจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมได้ และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมน้ำหนักหลังคลอดได้5

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Morimoto LM, White E, Chen Z, et al. Obesity, body size, and risk of postmenopausal breast cancer: the Women’s Health Initiative (United States). Cancer Causes Control 2002;13:741-51.

2.???????? Lahmann PH, Lissner L, Gullberg B, Olsson H, Berglund G. A prospective study of adiposity and postmenopausal breast cancer risk: the Malmo Diet and Cancer Study. Int J Cancer 2003;103:246-52.

3.???????? Lahmann PH, Hoffmann K, Allen N, et al. Body size and breast cancer risk: findings from the European Prospective Investigation into Cancer And Nutrition (EPIC). Int J Cancer 2004;111:762-71.

4.???????? Pichard C, Plu-Bureau G, Neves ECM, Gompel A. Insulin resistance, obesity and breast cancer risk. Maturitas 2008;60:19-30.

5.???????? Stendell-Hollis NR, Laudermilk MJ, West JL, Thompson PA, Thomson CA. Recruitment of lactating women into a randomized dietary intervention: successful strategies and factors promoting enrollment and retention. Contemp Clin Trials 2011;32:505-11.

?

?

เครื่องมือในการวัดทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

pregnant6

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทัศนคติของมารดาต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่สำคัญ โดยในมารดาที่มีทัศนคติเชิงบวกต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานกว่า มีการศึกษาและออกแบบสอบถามทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ Iowa Infant feeding Attitude Scale หรือใช้คำย่อเป็น IIFAS ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามใช้สำรวจทัศนคติของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยจะมีทั้งหมด 17 หัวข้อ ในเก้าหัวข้อจะถามเรื่องเกี่ยวกับความสนใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และอีกแปดหัวข้อจะสอบถามเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมซึ่งจะเป็นคะแนนในด้านลบของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ละหัวข้อจะมีลำดับคะแนนความคิดเห็น 1 ถึง 5 ตาม Likert scale ช่วงคะแนนที่เป็นผลลัพธ์ของการประเมินจะตั้งแต่ 17 ถึง 85 คะแนนของแบบสอบถามที่สูงบ่งบอกถึงทัศนคติเชิงบวกของมารดาต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คะแนนแบบสอบถามที่ต่ำบ่งบอกถึงทัศนคติเชิงบวกของมารดาต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมผสม นอกจากนี้คะแนนของแบบสอบถามยังทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่หกสัปดาห์หลังคลอดได้อย่างมีนัยสำคัญ1

ตารางที่ 1 แสดง Iowa Infant feeding Attitude Scale

คำถาม

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

ไม่เห็นด้วย

เฉยๆ

เห็นด้วย

เห็นด้วยอย่างยิ่ง

1.คุณประโยชน์ในด้านสารอาหารของนมแม่จะมีอยู่จนกระทั่งทารกหยุดนมแม่

2.การเลี้ยงลูกด้วยนมผสมสะดวกกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

3.การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มสายสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก

4.นมแม่ขาดธาตุเหล์ก

5.ทารกที่เลี้ยงด้วยนมผสมจะมีโอกาสที่จะได้รับการป้อนนมเกินมากกว่าทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่

6.การเลี้ยงลูกด้วยนมผสมเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับมารดาที่ทำงานนอกบ้าน

7.มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสมจะพลาดโอกาสในการมีความสุขจากความรู้สึกของการเป็นแม่

8.มารดาไม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานที่สาธารณะ เช่น ร้านอาหาร

9.ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่จะมีสุขภาพดีกว่าทารกที่เลี้ยงด้วยนมผสม

10.ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่จะมีโอกาสที่จะได้รับการป้อนนมเกินมากกว่าทารกที่เลี้ยงด้วยนมผสม

11.บิดาจะรู้สึกถูกทอดทิ้งหากมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

12.นมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทารก

13.นมแม่ย่อยง่ายกว่านมผสม

14.นมผสมให้สุขภาพที่ดีกับทารกมากกว่านมแม่

15.การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สะดวกกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมผสม

16.นมแม่ประหยัดกว่านมผสม

17.มารดาที่บางครั้งดื่มแอลกอฮอล์ไม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

?

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Ho YJ, McGrath JM. A Chinese version of Iowa Infant Feeding Attitude Scale: reliability and validity assessment. Int J Nurs Stud 2011;48:475-8.

?

?

วิตามินซีในนมแม่

images5

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

วิตามินละลายน้ำจะผ่านจากกระแสเลือดเข้าสู่น้ำนมได้ง่าย ดังนั้นปริมาณวิตามินจะเปลี่ยนแปลงตามอาหารที่มารดารับประทาน เมื่อศึกษาถึงวิตามินซี ความต้องการวิตามินซีจะเพิ่มขึ้นเมื่อมารดาอยู่ในภาวะเครียดหรืออยู่ในระยะให้นมบุตร ระดับของวิตามินซีจะพบในปริมาณสูงในทารกมากกว่าช่วงเวลาอื่น และพบในอวัยวะที่สำคัญ เช่น สมอง ระดับของวิตามินซีในน้ำนมพบ 44-158 มิลลิกรัมต่อลิตร1 ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีตามความต้องการของสตรีที่ให้นมบุตรจะทำให้ปริมาณวิตามินซีในน้ำนมมีเพียงพอสำหรับทารกด้วย

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Byerley LO, Kirksey A. Effects of different levels of vitamin C intake on the vitamin C concentration in human milk and the vitamin C intakes of breast-fed infants. Am J Clin Nutr 1985;41:665-71.

?

 

พรีไบโอติก (prebiotic) และโปรไบโอติก (probiotic)

images3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในน้ำนมแม่มีสารที่เป็นพรีไบโอติกจำนวนมาก ซึ่งในนมผสมพยายามจะเสริมพรีไบโอติกและโปรไบโอติกให้คล้ายคลึงกับนมแม่ โปรไบโอติกจะเป็นการเสริมอาหารพร้อมแบคทีเรียที่จะช่วยปรับสภาพในลำไส้ช่วยในการย่อยและเป็นประโยชน์ต่อทารก ส่วนพรีไบโอติกจะเป็นการเสริมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ช่วยในการกระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของแบคทีเรียในลำไส้ การเสริมพรีไบโอติกและโปรไบโอติกนั้นยังไม่มีข้อมูลยืนยันถึงความปลอดภัยโดยเฉพาะมารดาที่มีความเสี่ยง