คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

การเตรียมการฝึกปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดหลักสูตรอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

นมแม่31

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การฝึกปฏิบัติทางคลินิกต้องมีอย่างน้อย 4.5 ชั่วโมง ดังนั้นการเตรียมการสำหรับการฝึกปฏิบัติต้องมีการพูดคุยชี้แจงกระบวนการการปฏิบัติกับบุคลากรที่หน่วยงานที่ปฏิบัติทางคลินิก เพื่อให้การจัดเตรียมและขอความร่วมมือจากแพทย์ พยาบาล บุคลากรที่ร่วมรักษา มารดาและทารกทำได้อย่างเหมาะสมและฝึกปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหากเป็นการฝึกปฏิบัติในโรงพยาบาลนั้นๆ เอง ความคาดหวังของการจัดการปฏิบัติทางคลินิกนี้คือสร้างให้เกิดกระบวนการการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติจนทำให้การปฏิบัตินั้นเกิดเป็นลักษณะของงานประจำ

หนังสืออ้างอิง

1.?????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

การเตรียมตัวสำหรับการจัดหลักสูตรอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

นมแม่31

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การคัดเลือกทีมผู้ให้การฝึกอบรม

??????????? ทีมผู้ให้การฝึกอบรมควรจะมีความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการดูแลสุขภาพรวมถึงการคลอด มีประสบการณ์ในการนำเสนอและมีเทคนิคในการช่วยเหลือในการเรียนการสอน และมีผู้ให้การฝึกอบรมอย่างน้อยหนึ่งคนที่มีความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นอย่างดีที่จะสามารถตอบคำถามและให้คำแนะนำโดยอาศัยข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ จำนวนทีมผู้ให้การฝึกอบรมขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้รับการฝึกอบรมโดยจะต้องมีสัดส่วนเหมาะสมการเนื้อหาและการฝึกปฏิบัติ

??????????? หากหลักสูตรจัด 3 วัน ผู้ให้การฝึกอบรมหนึ่งคนไม่ควรสอนเกิน 3 หัวข้อต่อวัน เพื่อให้เกิดความหลากหลายและมีการเปลี่ยนแปลงผู้ให้การฝึกอบรมในทุกหัวข้อ หรือหนึ่งหัวข้ออาจจะให้ผู้ให้การฝึกอบรมมากกว่าหนึ่งคนแบ่งกันสอน แต่ในการฝึกปฏิบัติผู้ให้การฝึกอบรมอาจสามารถจัดได้ทั้งวัน

??????????? ในการฝึกปฏิบัติทางคลินิกผู้ให้การฝึกอบรมต้องมีจำนวนเพียงพอที่จะดูแลความปลอดภัยของมารดาและทารก? อาจมีการเสริมผู้ให้การฝึกอบรมจากบุคลากรที่ดูแลหรือปฏิบัติที่คลินิกหรือหอผู้ป่วยนั้นๆ ด้วย โดยแนะนำให้จัดผู้ให้การฝึกอบรมทางคลินิกหนึ่งคนดูแลผู้รับการฝึกอบรมสี่คนหรือไม่เกินหกคน

หนังสืออ้างอิง

1.?????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009.

 

ระยะเวลาของหลักสูตรอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

นมแม่31

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? หลักสูตร 20 ชั่วโมง อาจจะจัดเป็นการอบรมทั้งวันต่อเนื่องกัน 3 วัน หรือจัดครึ่งวันในจำนวนวันที่นานขึ้นสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของผู้ดูแลหลักสูตร เพื่อให้บุคลากรที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกแรกเกิดทั้งโรงพยาบาลได้มีโอกาสได้เข้าอบรมอย่างทั่วถึง

??????????? รายละเอียดของชั่วโมงในหลักสูตร จะเป็นการอบรมในห้องเรียนเกี่ยวกับการฝึกทักษะ การอภิปราย และการจับคู่การฝึกปฏิบัติจำนวน 15.5 ชั่วโมง ที่เหลืออีก 4.5 ชั่วโมงเป็นการฝึกปฏิบัติทางคลินิกับหญิงตั้งครรภ์และมารดาที่คลอดบุตรใหม่ สำหรับพิธีการเปิดงานและเวลาพักรับประทานอาหารจะไม่รวมอยู่ในชั่วโมงบังคับของหลักสูตร โดยหากมีความจำเป็นต้องเดินทางไปอีกที่หนึ่งเพื่อฝึกปฏิบัติทางคลินิกอาจต้องจัดเพิ่มเติมเวลาสำหรับการเดินทางไว้ด้วย

??????????? ในช่วงท้ายของหลักสูตร ผู้เข้าอบรมจะต้องสรุป แนวทางการดำเนินการที่จะนำความรู้และทักษะที่ได้ไปใช้ในงานประจำ ซึ่งจะทำให้ได้แผนปฏิบัติการ (action plan) ที่เมื่อนำไปลงรายละเอียดให้ครบ จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงและความยั่งยืนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

หนังสืออ้างอิง

1.?????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

ความคาดหวังของหลักสูตรอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

นมแม่31

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เมื่อศึกษาหลักสูตรนี้แล้ว ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถ

??????????? -มีทักษะในการสื่อสารกับหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกแรกเกิด

??????????? -ฝึกเรียนรู้บันไดสิบขั้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมและยึดถือหลักปฏิบัติในเรื่องหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง (The International Code of

Marketing of Breast-milk Substitutes)

??????????? -อภิปรายกับหญิงตั้งครรภ์ถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และขอบเขตของการสนับสนุนการเริ่มต้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????? -ช่วยในการให้ทารกได้สัมผัสกับหน้าอกของมารดา (skin to skin contact) และเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ระยะแรก

??????????? -ช่วยเหลือมารดาให้สามารถจัดท่าในการให้นมลูก นำลูกเข้าเต้า และสามารถบีบน้ำนมด้วยมือได้

??????????? -อภิปรายกับมารดาว่าจะสามารถช่วยเหลือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างไรเมื่อมารดากลับไปอยู่ที่บ้าน

??????????? -อภิปรายถึงสิ่งที่จำเป็นเมื่อมารดาไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และสามารถส่งต่อมารดาไปรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

??????????? -จำแนกว่าปัจจัยใดสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และปัจจัยใดขัดขวางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????? -ทำงานร่วมกับทีมสหสาขาในการสืบหาอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และช่วยกันแก้ปัญหาอุปสรรคเหล่านั้น

หนังสืออ้างอิง

1.?????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

กลุ่มเป้าหมายของหลักสูตรอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

 

นมแม่31

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? หลักสูตรนี้เหมาะกับบุคลาการทางการแพทย์ที่ดูแลหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกแรกเกิด ซึ่งได้แก่ แพทย์ พยาบาล ผดุงครรภ์ ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานช่วยเหลือผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ นอกจากนี้หลักสูตรนี้สามารถใช้สอนนักศึกษาที่ต้องเตรียมตัวสำหรับการศึกษาในเรื่องความรู้และทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?