คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

การใช้กรณีศึกษาในหลักสูตรอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

นมแม่31

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? กรณีศึกษาเป็นสถานการณ์ที่ใช้ในการอภิปรายหรือใช้ในการเรียนที่ใช้การแสดงบทบาท ผู้รับการอบรมอาจจะปรับเปลี่ยนกรณีศึกษาให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมหรือสังคมของประเทศ สามารถจะปรับชื่อและลักษณะของตัวละครในกรณีศึกษา? และหากมีเวลาไม่เพียงพอ อาจจัดกรณีศึกษาให้ตอบเป็นการบ้านได้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

การเรียนจากการแสดงบทบาท (Role plays) ในหลักสูตรอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

นมแม่31

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเรียนโดยใช้การแสดงบทบาทเป็นรูปแบบหนึ่งในการเรียนการสอน ซึ่งควรจะมีการซ้อมก่อนการเริ่มบทเรียน และควรจะให้ผู้รับการฝึกอบรมเป็นส่วนหนึ่งในบทบาท การเรียนจากการแสดงบทบาทควรจะมีรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ ไม่ต้องใช้การแสดงบทบาทที่ยาก และใช้เวลาไม่นาน การเรียนลักษณะนี้สามารถกระตุ้นให้เกิดการอภิปราย การปฏิสัมพันธ์ และใช้ในการเริ่มกรณีศึกษาได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ให้การฝึกอบรมควรเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับหัวข้อของการเรียน เพื่อสร้างความสนุกสนานและความน่าสนใจในหัวข้อที่ทำการเรียนการสอน ซึ่งสิ่งนี้ขึ้นกับเทคนิคและทักษะของผู้ให้การฝึกอบรมด้วย

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

การจับคู่ฝึกปฏิบัติในหลักสูตรอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

นมแม่31

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การฝึกปฏิบัติเป็นคู่ จะช่วยให้ผู้รับการฝึกอบรมได้ฝึกทักษะการสื่อสารกับคู่ โดยการจับคู่อาจให้ผู้รับการฝึกอบรมเลือกคู่เองหรืออาจสุ่มเลือกก็ได้ หากมีผู้รับการฝึกอบรมที่ไม่มีคู่ อาจจับคู่กับผู้ให้การฝึกอบรม เทคนิคการจับคู่ฝึกปฏิบัตินี้อาจจะใช้ในการเรียนกรณีศึกษาได้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

รูปแบบการอภิปรายในหลักสูตรอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

นมแม่31

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การอภิปรายจะเปิดโอกาสให้ผู้รับการฝึกอบรมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและถามคำถาม โดยผู้ให้การฝึกอบรมต้องชี้นำการอภิปรายและควบคุมให้การอภิปรายอยู่ในประเด็น หากมีผู้รับการฝึกอบรมคนใดอภิปรายมากคนเดียว ผู้ให้การฝึกอบรมต้องควบคุมและแบ่งให้ผู้รับการฝึกอบรมอื่นได้อภิปรายบ้าง และผู้ให้การฝึกอบรมไม่ควรใช้วิธีการตั้งคำถามคนเดียวตลอด เพราะจะเป็นการถามตอบมากกว่าการอภิปราย

??????????? การจัดเป็นกลุ่มย่อยแล้วอภิปรายจะช่วยให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ได้ดีขึ้น และเปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้รับการฝึกอบรม นอกจากนี้การหมุนเปลี่ยนย้ายกลุ่มจะทำให้การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางการปฏิบัติมากขึ้น

??????????? เมื่ออภิปรายเสร็จ ในกลุ่มควรจะมีผู้สรุปการอภิปรายที่ได้ใจความและตรงกับหัวข้อที่เรียนเพื่อกระจายให้ทุกคนในกลุ่มได้อ่าน และสามารถนำเสนอในภาพของตัวแทนกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มใหญ่ได้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

รูปแบบการเรียนการสอนในหลักสูตรอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

นมแม่31

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การจัดการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเรียน

??????????? การสอนไม่ควรเป็นการอ่านสไลด์ ควรให้ผู้รับการอบรมได้มีปฏิสัมพันธ์ด้วย เพื่อทำให้บทเรียนน่าสนใจขึ้น โดย

??????????? -ตั้งคำถามนำสู่การเข้าบทเรียน เช่น กระบวนการปฏิบัติระหว่างการคลอดมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไร?

??????????? -ถามคำถามถึงประสบการณ์ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกแรกเกิด เช่น หญิงตั้งครรภ์ควรจะได้รับการพูดคุยหรืออธิบายเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อไร?

??????????? -ถามเกี่ยวกับการนำวิธีการปฏิบัติที่ได้เรียนรู้ไปใช้ เช่น คุณคิดอย่างไรหากจะนำวิธีการปฏิบัตินี้มาใช้ที่นี่?

??????????? -เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ที่ได้รับการอบรมกับการปฏิบัติ เช่น หากมารดามาปรึกษาคุณด้วยเรื่องเจ็บหัวนม คุณจะต้องดูอะไรบ้างระหว่างที่ทารกดูดนมแม่?

??????????? -หากต้องการให้ผู้รับการฝึกอบรมดูรูปภาพ ควรปล่อยให้ผู้รับการฝึกอบรมมีเวลาคิด และช่วยกันวิพากษ์วิจารณ์รูปภาพนั้น

??????????? อย่างไรก็ตาม ต้องระลึกเสมอว่า มีระยะเวลาการเรียนการสอนที่จำกัด การบรรยายหรือการฝึกต้องกระชับ ตรงประเด็น และไม่ใช้เวลามากไปกับกรณีที่พบได้น้อย หากผู้รับการฝึกอบรมต้องการข้อมูลที่มากขึ้น ควรแนะนำแหล่งที่สามารถจะค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมได้หรืออบรมในหลักสูตรพิเศษเฉพาะเพิ่มเติม และระหว่างการบรรยายหรือการฝึกปฏิบัติอาจใช้สรรพนามแทนทารกว่า ?ลูก? ซึ่งเป็นคำกลางแทนเพศชายหรือเพศหญิงได้

หนังสืออ้างอิง

1.?????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009