คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

ข้อดีของการป้อนนมทารกด้วยถ้วย

การป้องกันลูกติดขวดนม1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????????? ข้อดีของการป้อนนมทารกด้วยถ้วย เมื่อเทียบกับวิธีอื่น

??????? ทารกจะพึงพอใจ เนื่องจากไม่มีสายยางใส่เข้าไปในปากที่รบกวนทารก

??????? ทารกได้ควบคุมการใช้ลิ้นและเรียนรู้รสชาติของนม

??????? จะกระตุ้นการย่อยอาหารของทารก

??????? จะกระตุ้นการทำงานที่สัมพันธ์กันของการหายใจ? การดูด และการกลืน

??????? ทารกจะได้รับการอุ้มอย่างใกล้ชิด และการส่งสายตาระหว่างมารดาและทารกอาจสามารถทำได้

??????? ทารกสามารถควบคุมปริมาณและความเร็วในการกินนมได้

??????? ถ้วยสามารถทำความสะอาดได้ง่ายกว่าขวดนมและจุกนมเทียม

??????? การป้อนนมด้วยถ้วยอาจจะใช้ช่วยในฐานะวิธีที่จะเปลี่ยนผ่านจากการกินนมจากเต้านมเองไม่ได้จนกินนมจากเต้าเองได้ดี

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

วิธีป้อนนมที่เป็นทางเลือก

latch1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????????? วิธีป้อนนมที่เป็นทางเลือก ควรจะได้รับการประเมินให้เหมาะสมกับมารดาและทารกแต่ละคน

??????????? -การป้อนนมโดยสายยางใช้สำหรับทารกที่ไม่สามารถดูดหรือกลืนได้

??????????? -การป้อนนมด้วยหลอดฉีดยาหรือหลอดหยดใช้สำหรับให้นมปริมาณน้อยมากได้ เช่น หัวน้ำนม การให้นมโดยหลอดฉีดยาหรือหลอดหยดควรให้นมราว 0.5 มิลลิลิตรใส่ในปากตรงช่องแกล้ม แล้วให้ทารกกลืนน้ำนมก่อนจะป้อนเพิ่มเติม

??????????? -การป้อนนมโดยใช้ช้อน คล้ายคลึงกับการป้อนนมโดยใช้หลอดฉีดยาที่สามารถป้อนนมในปริมาณที่น้อยมากได้ ทารกจะไม่สามารถควบคุมการความเร็วของการไหลของน้ำนมได้ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงในการที่ทารกจะเกิดการสำลักหากป้อนนมเร็วเกินไป การป้อนนมปริมาณมากจากการป้อนช้อนจะใช้เวลานาน ซึ่งผู้ที่ดูแลทารกอาจจะเหนื่อยก่อนที่ทารกจะได้รับน้ำนมเพียงพอ โดยหากใช้ช้อนที่ใหญ่ ลักษณะการป้อนนมจะคล้ายกับการป้อนด้วยถ้วย

??????????? -การบีบน้ำนมเข้าปากทารกโดยตรงอาจกระตุ้นให้ทารกดูดนม มารดาบางคนสามารถจะบีบน้ำนมและป้อนนมโดยตรงในทารกที่มีเพดานโหว่

??????????? โดยในแต่ละวิธีที่ป้อนนมทารก บุคลากรทางการแพทย์จะต้องตัดสินใจว่าควรจะป้อนนมทารกมากน้อยเพียงใด และความเร็วในการให้นมมากน้อยแค่ไหน

???????????? -การป้อนนมด้วยถ้วย ใช้ในทารกที่สามารถจะกลืนได้ แต่ไม่สามารถจะดูดนมได้ดีที่จะทำให้ได้น้ำนมเพียงพอสำหรับตนเอง โดยที่ทารกอาจจะมีการอ้าปากอมหัวนมและลานนมลำบาก ดูดนมได้ช่วงสั้นๆ หรือเหนื่อยเร็วจนไม่สามารถได้น้ำนมเพียงพอ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่อายุครรภ์ 30-32 สัปดาห์มักต้องเริ่มต้นการป้อนนมด้วยถ้วย

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

วิธีการป้อนน้ำนมที่บีบจากเต้านมให้กับทารก

การป้องกันลูกติดขวดนม1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ทารกที่ไม่ได้กินนมจากเต้า อาจจะได้รับการป้อนนมโดยใช้วิธีการป้อนนมดังต่อไปนี้

?????? ถ้วย

??????? บีบน้ำนมเข้าปากทารกโดยตรง

??????? ช้อน

??????? หลอดฉีดยาหรือหลอดหยด

??????? สายยาง

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

การใช้น้ำนมจากมารดาคนอื่น

ทารกคลอดก่อนกำหนด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? -หากทารกไม่สามารถดูดนมจากเต้านมได้ ขั้นตอนการดูแลต่อไปคือบีบน้ำนมจากมารดาแล้วให้กับทารก แต่หากมารดาไม่มีน้ำนม น้ำนมจากมารดาอีกคนอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมกว่านมวัว นมแพะ นมอูฐ หรือนมของสัตว์อื่นๆ และนมพืช ได้แก่ นมถั่วเหลือง

??????????? -เมื่อมารดาอีกคนให้นมกับทารกที่ไม่ได้ให้กำเนิด เราจะเรียกมารดาเหล่านี้ว่า ?แม่นม (wet nursing)? ส่วนน้ำนมที่บีบจากมารดาที่ยินดีมอบนมให้กับทารกคนอื่น เรียก ?น้ำนมบริจาค (donor milk)?

??????????? -บางที่อาจจะมีธนาคารนมแม่สำรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือเจ็บป่วย มารดาที่บริจาคน้ำนมจะได้รับการตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีและความเจ็บป่วยอื่นๆ น้ำนมที่เก็บได้จะได้รับการพลาสเจอไรส์ การใช้นมบริจาคจากธนาคารนมแม่เป็นทางเลือกในระยะสั้น ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรอภิปรายถึงของจำกัดและให้มารดาเตรียมการให้นมรูปแบบอื่นสำหรับทารกต่อไป

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

ประเด็นที่ควรจะใส่ใจในการบีบน้ำนม

latch1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? -ไม่มีความจำเป็นที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องสัมผัสเต้านมมารดาขณะที่สอนมารดาบีบน้ำนมด้วยมือ

??????????? -การบีบน้ำนมด้วยมือมารดาอาจต้องพยายามลองทำ 2-3 ครั้งกว่าจะได้น้ำนม บุคลากรทางการแพทย์ควรพยายามกระตุ้นให้มารดาไม่เลิกล้มความตั้งใจในการบีบน้ำนมหากไม่ได้น้ำนมหรือได้น้ำนมเพียงเล็กน้อยในการพยายามลองทำในครั้งแรก มารดาจะบีบน้ำนมได้ดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อฝึกบีบน้ำนมด้วยมือบ่อยๆ

??????????? -อธิบายมารดาว่าไม่ควรรีบหรือบีบเฉพาะหัวนม การกดหรือดึงเฉพาะหัวนมไม่สามารถทำให้น้ำนมออกมาได้ แต่จะทำให้เกิดอาการปวด การบาดเจ็บหรือหัวนมแตกได้

??????????? -อธิบายมารดาว่าควรจะหลีกเลี่ยงการเลื่อนตำแหน่งหรือถูเต้านมขณะกดบีบน้ำนม เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของเต้านมได้

??????????? -ด้วยการฝึกฝน มารดาอาจจะสามารถบีบน้ำนมจากเต้านมทั้งสองข้างพร้อมๆ กัน

??????????? -หากมารดาจำเป็นต้องบีบน้ำนมและให้นมลูกคนที่โตกว่าด้วย มารดาควรบีบน้ำนมก่อน แล้วจึงให้ลูกคนที่โตกว่าดูดนม เนื่องจากลูกจะได้กินน้ำนมส่วนหลังซึ่งมีปริมาณไขมันที่สูง ให้พลังงานและทำให้อิ่มดีกว่า

??????????? -การบีบน้ำนมควรไม่จะเจ็บ หากมารดาเจ็บขณะบีบน้ำนม มารดาควรตรวจสอบขั้นตอนการบีบน้ำนมในแต่ละขั้นตอนใหม่ และบุคลากรทางการแพทย์อาจต้องสังเกตมารดขณะให้นมด้วย

????????? เมื่อไรจึงจะบีบน้ำนม?

??????????? หากหลังคลอดทารกยังดูดนมเองไม่ได้ สามารถเริ่มการบีบน้ำนมได้เร็วที่สุดที่เป็นไปได้ ซึ่งจะดีมากหากสามารถเริ่มได้ภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอด

 

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009