คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

เต้านมกับการสร้างน้ำนม2

breast1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ส่วนใหญ่แล้วเต้านมของมารดาจะเหมาะสมกับบุตรของตนเอง บุคลากรทางการแพทย์ควรหลีกเลี่ยง การใช้คำพูดที่วิพากย์ว่า ?เต้านมเป็นปัญหา? เนื่องจากจะทำให้มารดาตื่นตระหนกและวิตกกังวล เครียดทำให้มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

 

นมแม่กับส่วนประกอบของนมแม่6

58887656

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? “สารอาหารในนมแม่มีหลายร้อยชนิด นอกเหนือจากสารอาหารพื้นฐาน ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ช่วยในการเจริญเติบโต สารที่ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกัน และสารที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งสารเหล่านี้จะไม่พบในนมผสมหรืออาหารเสริมสำหรับทารกชนิดอื่น”

 

นมแม่กับส่วนประกอบของนมแม่5

58887656

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ‘โดยทั่วไปในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แนะนำให้มารดารับประทานอาหารที่หลากหลายและรับประทานให้ครบหมู่ในปริมาณที่เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องเสริมอาหารใดเป็นพิเศษ สำหรับในพื้นที่พบมีการขาดสารอาหารเช่น ธาตุเหล็กหรือไอโอดีน แนะนำให้มีการเสริมตามความจำเป็น อย่างไรก็ตาม กรมอนามัยยังสนับสนุนให้เสริมธาตุเหล็ก โฟเลต และไอโอดีนให้แก่สตรีตั้งครรภ์และมารดาที่ให้นมบุตรจนถึงหกเดือน

 

นมแม่กับส่วนประกอบของนมแม่4

58887656

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?สารอาหารที่มีมากในนมแม่ ได้แก่ แลคโตส ไขมันและโปรตีนปริมาณ ส่วนสารอาหารที่มีปริมาณน้อยในนมแม่ ได้แก่ วิตามินและแร่ธาตุ

“ปริมาณแลคโตส? โปรตีน และไขมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับอาหารที่มารดารับประทาน แต่ชนิดของอาหารที่มารดารับประทานอาจมีผลต่อสัดส่วนของชนิดของโปรตีนและไขมันในน้ำนม สำหรับวิตามินและแร่ธาตุ ปริมาณในนมแม่ของวิตามินและแร่ธาตุส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับอาหารที่มารดารับประทานและปริมาณสารอาหารที่สะสมอยู่ในร่างกายมารดา โดยวิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง วิตามินบีสาม วิตามินบีหก วิตามินบีสิบสอง วิตามินซี วิตามินดี วิตามินเคและไอโอดีน หากมารดามีการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ การเสริมวิตามินและแร่ธาตุอาจมีความจำเป็น ส่วนโฟเลตและแร่ธาตุอื่นๆ ไม่ขึ้นอยู่กับอาหารของมารดาที่รับประทาน”

 

นมแม่กับส่วนประกอบของนมแม่3

58887656

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ?“มารดาที่ให้นมบุตรต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 500-600 กิโลแคลอรี แต่หากร่างกายมารดารับประทานอาหารที่ให้พลังงานไม่เพียงพอในการสร้างน้ำนม ร่างกายจะดึงพลังงานที่สะสมมาใช้เพื่อให้มีการผลิตน้ำนมที่เพียงพอ ดังนั้น หากมารดาอยู่ในสถานการณ์ที่มีภาวะฉุกเฉินหรือมีการขาดแคลนอาหารไม่รุนแรงและต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน มารดาจะยังคงมีน้ำนมให้ทารกได้”