คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

มารดาที่คลอดลูกที่บ้านจะมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีกว่าจริงหรือ?

จับเลอ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในสมัยก่อน ในประเทศไทยมารดาจะมีการคลอดลูกที่บ้านเป็นอัตราส่วนที่สูงและเชื่อว่ามีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูง แต่ในปัจจุบันส่วนใหญ่การคลอดลูกจะเกิดที่โรงพยาบาล จึงมีคำถามว่า ?การที่มารดาคลอดลูกที่บ้านจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีกว่าคลอดที่โรงพยาบาลจริงหรือไม่?? การคลอดลูกที่บ้านในสังคมไทยในปัจจุบันมีน้อย เนื่องจากการที่มารดาจะคลอดบุตรจำเป็นต้องมีผู้ทำคลอด ซึ่งผู้ทำคลอดโดยทั่วไปจะเป็นแพทย์หรือพยาบาล โดยมักจะอยู่ที่โรงพยาบาลมากกว่าจะออกไปทำคลอดตามบ้านเหมือนในสมัยก่อนที่จะมีผดุงครรภ์หรือหมอตำแยเป็นผู้ทำคลอดให้ เนื่องจากความพร้อมในการดูแลภาวะแทรกซ้อนในระหว่างคลอดจะมีความพร้อมมากกว่าที่โรงพยาบาล และการเดินทางเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนของการคลอดจากบ้านมาโรงพยาบาลแทบจะเป็นเรื่องยากมากและใช้เวลานานจนอาจเป็นอันตรายต่อมารดาและทารก ดังนั้น การดูแลการคลอดที่บ้านจะมีอยู่ในบางประเทศที่มีระบบของการส่งต่อจากบ้านมาโรงพยาบาลได้รวดเร็ว และเลือกอนุญาตให้คลอดที่บ้านในกรณีครรภ์มีความเสี่ยงต่ำ ดังนั้นหากมารดามีความเสี่ยงต่ำที่สามารถคลอดปกติเองที่บ้านได้ก็น่าจะมีโอกาสที่ดีในการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เร็วกว่ามารดาที่มีภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมารดาที่ผ่าตัดคลอด จะมีความเสี่ยงในการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ช้ากว่า[1] อย่างไรก็ตามในโรงพยาบาลที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีกระตุ้นให้มารดาได้เริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็วเช่นกัน ดังนั้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีกว่าจะมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยในการเริ่มต้นคือ ?ดูแลครรภ์ของมารดาให้มีความเสี่ยงต่ำก่อน? เพื่อช่วยให้มารดาสามารถคลอดบุตรปกติ โอกาสในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็จะดีกว่าไปด้วย

หนังสืออ้างอิง

  1. Veile A, Kramer K: Birth and breastfeeding dynamics in a modernizing indigenous community. J Hum Lact 2015, 31:145-155.

 

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวช่วยป้องกันการนอนโรงพยาบาลจากโรคทางเดินหายใจในเด็ก

28375829

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวช่วยป้องกันการติดเชื้อในทางเดินหายใจของทารก แต่ผลป้องกันในระยะยาวหลังจากนั้นยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด มีการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นในกลุ่มตัวอย่าง 43367 รายโดยติดตามถึงความเจ็บป่วยจากการติดเชื้อทางเดินหายใจที่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือนถึง 42 เดือน ซึ่งเป็นการดูผลระยะยาวหลังจากการหยุดนมแม่ไปแล้ว พบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอาจจะมีผลระยะยาวในการป้องกันการนอนโรงพยาบาลของเด็กอายุ 18-42 เดือนตั้งแต่ 0.76-0.82 เท่า[1] ดังนั้น การลงทุนให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในระยะแรกนอกจากจะป้องโรคติดเชื้อต่างๆ แล้ว ยังอาจส่งผลในระยะยาวต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจที่รุนแรงจนต้องนอนโรงพยาบาล ซึ่งมีผลต่อสุขภาพการเจริญเติบโตของตัวเด็ก สภาพจิตใจของมารดา ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นที่เกิดขึ้นจากการนอนโรงพยาบาลของเด็กและรายได้ที่ลดลงจากการหยุดงานดูแลลูกของครอบครัว น่าจะถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

หนังสืออ้างอิง

  1. Yamakawa M, Yorifuji T, Kato T, Inoue S, Tokinobu A, Tsuda T, Doi H: Long-Term Effects of Breastfeeding on Children’s Hospitalization for Respiratory Tract Infections and Diarrhea in Early Childhood in Japan. Matern Child Health J 2015.

 

ความอ้วนกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

img3_67288

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มารดาที่มีดัชนีมวลกายสูงอยู่ในเกณฑ์อ้วนจะส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยตรงและโดยทางอ้อม มารดาที่มีภาวะอ้วนก่อนการตั้งครรภ์จะเสี่ยงต่อการมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอด ได้แก่ เบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอดยาก ทารกคลอดติดไหล่ และการที่ทารกต้องย้ายไปดูแลที่หอทารกวิกฤต นอกจากนี้ ภาวะอ้วนยังส่งผลทำให้เกิดการสร้างน้ำนมช้าในระยะหลังคลอด ดังนั้น ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จึงเชื่อมโยงและมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาในประเทศแคนาดาที่ติดตามมารดาที่มีภาวะอ้วน 6592 ราย โดยดูการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอดพบว่า มารดาที่มีภาวะอ้วนมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้เริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงกว่ามารดากลุ่มน้ำหนักปกติถึง 1.26 เท่า (95% CI 1.08-1.46)[1]

หนังสืออ้างอิง

  1. Verret-Chalifour J, Giguere Y, Forest JC, Croteau J, Zhang P, Marc I: Breastfeeding Initiation: Impact of Obesity in a Large Canadian Perinatal Cohort Study. PLoS One 2015, 10:e0117512.

 

 

การช่วยกันดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของพ่อและแม่

w38

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? แม้แม่จะมีส่วนสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่พ่อก็มีบทบาทสำคัญเช่นเดียวกันในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาที่ประเทศแคนาดาเปรียบเทียบการร่วมกันดูแลเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของกลุ่มที่ดูแลโดยพ่อและแม่กับกลุ่มที่มีการดูแลตามปกติ พบว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ 12 สัปดาห์หลังคลอดในกลุ่มที่ดูแลโดยพ่อและแม่สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ พ่อมีความสามารถในการช่วยให้นมแม่แก่ทารกด้วยตนเองสูงขึ้น และแม่รู้สึกพึงพอใจที่พ่อช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่[1] สิ่งนี้น่าจะบอกถึงประโยชน์ของการสนับสนุนและช่วยเหลือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของพ่อ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีการเริ่มต้นของกระแสบทบาทของพ่อในการดูแลนมแม่ โดยในกลุ่มข้าราชการสามีสามารถลาไปช่วยภริยาเลี้ยงดูบุตรได้ 15 วันทำการ แม้จะยังมีคนที่ทราบข้อมูลนี้ไม่มากและการลาในทางปฏิบัติยังมีน้อย แต่จุดนี้น่าจะเริ่มกระตุ้นให้ภาคส่วนอื่นๆ ในสังคมเห็นความสำคัญและช่วยสร้างโอกาสให้เด็กไทยได้กินนมแม่มากขึ้น เพื่อเป็นการลงทุนสร้างรากฐานทางสุขภาพที่ดีของประชากรในประเทศไทย

หนังสืออ้างอิง

  1. Abbass-Dick J, Stern SB, Nelson LE, Watson W, Dennis CL: Coparenting breastfeeding support and exclusive breastfeeding: a randomized controlled trial. Pediatrics 2015, 135:102-110.

 

 

การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต

58887641

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? วิธีการสื่อสาร หรือรณรงค์ให้ความรู้กับมารดาและสังคมในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีหลากหลายรูปแบบ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ และสื่อสารสนเทศ ซึ่งสื่อแต่ละสื่อจะเหมาะสมกับแต่ละสังคมในแต่ละประเทศ สังคมไทยในปัจจุบันมีการเข้าถึงสื่อสารสนเทศผ่านระบบอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามกระแสของโลก มีการศึกษาในประเทศออสเตรเลียพบว่า การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ผ่านเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ตสามารถช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้[1] ดังนั้นในประเทศไทย การใช้สื่อในเว็บไซต์ที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตน่าจะเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ด้วย

หนังสืออ้างอิง

  1. Giglia R, Cox K, Zhao Y, Binns CW: Exclusive breastfeeding increased by an internet intervention. Breastfeed Med 2015, 10:20-25.