คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้นมท่าไหนดี?

laid back-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การให้นมลูกในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น่าจะเป็นสิ่งที่แม่ควรทำได้ในธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันจำเป็นต้องมีการสอนท่าในการให้นมลูกให้เหมาะสมโดยเฉพาะในมารดามือใหม่หรือคุณแม่ท้องแรก ซึ่งการสอนท่าในการให้นมลูกมักจะสอนท่าไกวเปล (cradle หรือ cross cradle) ท่าอุ้มเหมือนอุ้มฟุตบอล (football hold) หรือท่านอนตะแคงให้นมลูก (side-lying) ซึ่งท่าแต่ละท่าจะเหมาะสมสำหรับมารดาในแต่ละคนไม่เหมือนกัน มารดาจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ท่าในการให้นมลูกในลักษณะต่างๆ เพื่อจะนำมาใช้ในการให้นมลูกได้อย่างเหมาะสม สบายและผ่อนคลาย มีการศึกษาการใช้ท่าเอนหลัง (laid back) ในการให้นมลูกซึ่งพบว่าทารกจะมีกลไกการตอบสนองพื้นฐานของทารกแรกเกิด (primitive neonatal reflex) ได้ดีกว่าในท่าอื่นๆ1 ดังนั้น อาจต้องมีการสอนท่าเอนหลังเพิ่มเติมในการให้นมลูกและเปิดโอกาสให้มารดาได้มีอิสระในการเลือกใช้ท่าให้นมลูก

หนังสืออ้างอิง

  1. Colson SD, Meek JH, Hawdon JM. Optimal positions for the release of primitive neonatal reflexes stimulating breastfeeding. Early Hum Dev 2008;84:441-9.

 

การเริ่มกลับไปทำงานเต็มเวลาของมารดาเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

1410868258888-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เป็นที่ทราบกันดีว่า มารดาที่ทำงานเป็นอิสระหรือเป็นแม่บ้านมีโอกาสที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยาวนานกว่ามารดาที่เป็นลูกจ้าง พนักงานหรือข้าราชการ ซึ่งแม้มีการอนุญาตให้ลาพักหลังคลอดได้ 45-90 วัน (ขึ้นอยู่กับแต่ละอาชีพ) แต่การเริ่มกลับไปทำงานของมารดาเต็มเวลามีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมีการศึกษาที่สหรัฐอเมริกาพบว่า มารดาที่กลับไปทำงานเต็มเวลาก่อน 3 เดือนจะมีผลทำให้มารดาที่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 3 เดือนทำได้น้อยลง1 ดังนั้น การที่มารดาสามารถมีเวลาที่จะทุ่มเทให้กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากการที่เพิ่มระยะเวลาของการลาพักหลังคลอดโดยเพิ่มเป็นลาพักเพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกอย่างน้อยจนครบหกเดือนแรก ร่วมกับการเปิดโอกาสให้มารดาสามารถมีเวลาพักให้นมบุตรระหว่างการทำงานจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้นได้

หนังสืออ้างอิง

  1. Mirkovic KR, Perrine CG, Scanlon KS, Grummer-Strawn LM. Maternity leave duration and full-time/part-time work status are associated with US mothers’ ability to meet breastfeeding intentions. J Hum Lact 2014;30:416-9.

 

 

การพูดจาจูงใจให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรทางการแพทย์

IMG_20140528_105758

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? บุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ที่เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การจัดระบบและวางแผนการติดตามมารดาหลังคลอดตามระยะที่มีความเสี่ยงในการเกิดการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น มีการศึกษาพบว่า การที่บุคลากรทางการแพทย์ได้สอบถามมารดา พูดจูงใจและติดตามการดูแลมารดาหลังคลอดให้คงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยให้ระยะของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยาวนานขึ้น1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการสร้างพื้นฐานสุขภาพที่ดีประชากรในสังคมไทย

หนังสืออ้างอิง

  1. Wilhelm SL, Aguirre TM, Koehler AE, Rodehorst TK. Evaluating motivational interviewing to promote breastfeeding by rural mexican-american mothers: the challenge of attrition. Issues Compr Pediatr Nurs 2015;38:7-21.

 

การขาดวิตามินดีในสตรีตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด

ท้อง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การขาดวิตามินดีเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นทั้งๆ ที่ร่างกายมนุษย์สามารถสร้างวิตามินดีได้โดยผ่านการรับแสงแดด ในสตรีตั้งครรภ์และทารกแรกเกิดก็เช่นกัน มีการศึกษาพบว่ามีความชุกของการขาดวิตามินดีในสตรีตั้งครรภ์ร้อยละ 17-62 และการขาดวิตามินดีในทารกแรกเกิดร้อยละ 6-62 โดยขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ ฤดูกาล อาหาร การเสริมวิตามินดี และการได้รับแสงแดด1 สำหรับสังคมไทย การทำงานในอาคาร ค่านิยมการหลีกเลี่ยงแสงแดดเพิ่มมากขึ้น ความชุกของการขาดวิตามินดีก็น่าจะเพิ่มขึ้นคล้ายคลึงกัน ดังนั้น การศึกษาข้อมูลในสตรีตั้งครรภ์และทารกแรกแรกของคนไทยในแต่พื้นที่ที่มีความเสี่ยงมีความจำเป็น เพื่อการดูแลและการให้วิตามินเสริมจะสามารถทำได้อย่างมั่นใจและเหมาะสม

หนังสืออ้างอิง

  1. Dawodu A, Davidson B, Woo JG, et al. Sun exposure and vitamin d supplementation in relation to vitamin d status of breastfeeding mothers and infants in the global exploration of human milk study. Nutrients 2015;7:1081-93.