คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

การเจ็บหัวนมจากทารกมีภาวะลิ้นติด

IMG_8867

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเจ็บหัวนมจากทารกมีภาวะลิ้นติด เกิดจากการที่ทารกไม่สามารถจะขยับยื่นลิ้นออกไปทางด้านหน้าได้เพียงพอที่จะไปกดท่อน้ำนมบริเวณลานนม ?ทารกจึงออกแรงกดหรือขบบริเวณหัวนม ทำให้มารดาเจ็บหัวนม ลักษณะอาการเจ็บหัวนมจะเกิดขึ้นขณะเริ่มและระหว่างการให้นม การสังเกตภายในช่องปากทารก เมื่อทารกร้องไห้หรือยกลิ้นขึ้นจะสังเกตได้ดีขึ้น การใช้เครื่องมือ MED SWU tongue-tie director ช่วยในการยกลิ้นขึ้นเพื่อตรวจสอบภาวะลิ้นติดเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้การวินิจฉัยทำได้ง่ายขึ้น และสามารถบอกถึงความรุนแรงของภาวะลิ้นติดได้จากการวัดระยะจากผังพืดใต้ลิ้นถึงปลายลิ้น โดยในกรณีที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงรุนแรง อาจมีความจำเป็นต้องผ่าตัดแก้ไข1

??????????????? การช่วยเหลือสำหรับปัญหานี้ เริ่มต้นด้วยตรวจสอบว่ามารดามีท่าให้นมที่เหมาะสมก่อนเสมอ2 เนื่องจากในทารกที่มีภาวะลิ้นติดเล็กน้อย ท่าที่ให้นมลูกที่ทำให้ทารกได้อมหัวนมและลานนมได้ลึกพอที่ลิ้นของทารกจะสามารถขยับยื่นมากดท่อน้ำนมได้ ทารกจะสามารถดูดนมได้ การผ่าตัดแก้ไขจะไม่มีความจำเป็น แต่หากทารกที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางหรือรุนแรง และหลังการปรับท่าการให้นมแล้ว มารดายังมีการเจ็บหัวนมและทารกยังไม่สามารถเข้าเต้าได้อย่างเหมาะสม การผ่าตัด frenotomy ซึ่งเป็นการผ่าตัดเล็ก สามารถทำที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกได้ โดยไม่ต้องการการดมยาสลบ ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 3-5 นาที หลังผ่าตัดทารกสามารถดูดนมแม่ได้ทันที ซึ่งการแก้ไขสาเหตุของการเจ็บหัวนมของมารดาอย่างเหมาะสม จะส่งเสริมให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.
  2. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

 

การเจ็บหัวนมจากการมีการอุดตันของรูเปิดของท่อน้ำนม

1404344111672

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเจ็บหัวนมจากการอุดตันรูเปิดของท่อน้ำนม เกิดจากไขของนมอุดตันที่รูและท่อน้ำนม จะเห็นเป็นจุดขาวติดอยู่ที่หัวนม ภาษาอังกฤษเรียกว่า white dot หรือ bleb หรือ milk blister ลักษณะอาการเจ็บหัวนมจะเกิดขึ้นขณะทารกดูดนมหรือระหว่างมื้อของการให้นม โดยการเจ็บจะร้าวจากหัวนมไปทางด้านหลัง หากมีการอุดตันเกิดขึ้นในหลายท่อน้ำนม จะพบมีเต้านมตึงคัดร่วมด้วย และอาจพบภาวะแทรกซ้อนคือ เต้านมอักเสบได้

??????????????? การช่วยเหลือสำหรับปัญหานี้ เริ่มต้นด้วยตรวจสอบว่ามารดามีท่าให้นมที่เหมาะสมก่อนเสมอ เนื่องจากสาเหตุส่วนหนึ่งอาจเกิดจากท่าให้นมที่ไม่เหมาะสม ทำให้ทารกดูดน้ำนมได้ไม่ดี มีน้ำนมขังอยู่ในท่อน้ำนมจนจับตัวเป็นไข อุดตันรูเปิดท่อน้ำนม สำหรับสาเหตุอื่น ได้แก่ การใส่ยกทรงหรือชุดชั้นในที่แน่นเกินไป หรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บ การชนกระแทกจนเกิดจ้ำเลือดเขียวช้ำที่ขัดขวางการไหลของน้ำนม การให้การรักษาด้วยการประคบอุ่นบริเวณเต้านมและการบีบน้ำนมด้วยมืออาจช่วยให้ไขที่อุดตันหลุดออกได้ แต่หากไขที่อุดตันมีเยื่อบุผิวหนังเจริญคลุมท่อการเจ็บหัวนม ซึ่งจะสังเกตเห็นเป็นจุดขาวเป็นมัน การช่วยบีบน้ำนมให้ไล่ไขที่ติดอยู่ออกอาจไม่ได้ผล การสะกิดไขออกโดยใช้ปลายเข็มอาจช่วยได้ แต่ควรพิจารณาทำโดยแพทย์ ร่วมกับแนะนำให้มารดาใส่ยกทรงหรือชุดชั้นในที่ไม่แน่นจนเกินไป อย่างไรก็ตาม หากภาวะนี้ไม่ได้รับการแก้ไข ทารกต้องดูดนมแรงขึ้น มารดาเจ็บหัวนม หัวนมแตก เกิดเต้าอักเสบ และฝีที่เต้านมตามมาได้ การเอาใจใส่ของมารดาและบุคลากรทางการแพทย์ว่า ?เรื่องการเจ็บหัวนม แม้เป็นเรื่องที่พบบ่อย แต่ไม่ใช่สิ่งที่เป็นปกติของการให้นม? ดังนั้น การแก้ปัญหานี้ตั้งแต่เริ่มต้น จะลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

การเจ็บหัวนมจากการติดเชื้อรา

00026-1-1-o-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเจ็บหัวนมจากการติดเชื้อราที่หัวนมและลานนม ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 จะเห็นลักษณะผิวหนังบริเวณหัวนมหรือลานนมเป็นแผ่นหรือสะเก็ด เป็นมัน โดยอาจพบร่วมกับการพบฝ้าขาวในปาก กระพุ้งแก้ม หรือลิ้นของทารก ลักษณะของอาการเจ็บหัวนมจากการติดเชื้อราจะเกิดขณะหรือหลังทารกดูดนม ในมารดาที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะต่อเนื่องกันเป็นเวลานานจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อรา อย่างไรก็ตาม ช่องทางที่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อราอาจพบในอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเก็บน้ำนมให้ทารก เช่น หัวนมหลอก ขวดนม สายยาง หรือฝาขวดของเครื่องปั๊มนม ซึ่งการแช่ช่องแข็งของตู้เย็นไม่ได้ทำลายเชื้อราที่อยู่ในรูปยีสต์ แต่โดยทั่วไป การติดเชื้อราจะเกิดผลเสียที่รุนแรงเฉพาะต่อทารกที่คลอดก่อนกำหนดและอ่อนแอเท่านั้น ในกรณีที่มารดามีอาการเจ็บหัวนมร้าวไปที่เต้านมด้วย ควรระมัดระวังการติดเชื้อแบคทีเรียมากกว่า

??????????????? การช่วยเหลือสำหรับปัญหานี้ เริ่มต้นด้วยตรวจสอบว่ามารดามีท่าให้นมที่เหมาะสมก่อนเสมอ เนื่องจากอาการเจ็บหัวนมส่วนใหญ่เป็นจากท่าที่ไม่เหมาะสมมากกว่า แม้ว่าจะมีการติดเชื้อราร่วมด้วย ซึ่งการเห็นแผ่นผิวหนังเป็นมันที่หัวนมและลานนมแล้วสรุปว่ามารดาเจ็บหัวนมจากการติดเชื้อราและรักษาแต่เชื้อราโดยไม่จัดท่าให้นมให้เหมาะสม มารดาจะไม่หายเจ็บหัวนม สำหรับการรักษาเชื้อรา อาจใช้ยา Nystatin หรือ Fluconazole ในการรักษา ร่วมกับกำจัดปัจจัยเสี่ยงจากแหล่งสะสมเชื้อรา โดยการต้มอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับทารกในน้ำเดือดนาน 20 นาที ซึ่งหากรักษาอย่างเหมาะสม อาการเจ็บหัวนมจะหายไปใน 1-2 วัน

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

 

การเจ็บหัวนมจากเส้นเลือดหดรัดตัวและหัวนมขาดเลือด

breast stimulation2-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเจ็บหัวนมจากเส้นเลือดหดรัดตัวและหัวนมขาดเลือด ภาษาอังกฤษเรียกว่า Raynuad?s phenomenon ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เส้นเลือดที่หัวนมหดรัดตัวและขาดเลือดไปเลี้ยง จึงเกิดอาการปวดจี๊ดขึ้นมาที่หัวนม มักเกิดขึ้นในช่วงหลังจากการให้นม บีบน้ำนมด้วยมือ หรือปั๊มนม ขณะที่หัวเปียกและเย็น มักสังเกตเห็นว่า หัวนมจะเปลี่ยนสีเป็นสีซีดหรือเขียวคล้ำในช่วงสั้นๆ ไม่เป็นสีชมพูเหมือนปกติ อาการปวดส่วนใหญ่จะเกิดที่หัวนมและใกล้หัวนม แต่บางครั้งอาจพบมีอาการปวดร้าวไปที่เต้านมตามเส้นประสาทได้ ในมารดาบางคน อาจเคยมีอาการเจ็บหัวนมลักษณะเดียวกันนี้หลังจากการอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ การสังเกตเห็นหัวนมที่ซีดขณะมารดาปวดจะช่วยในการวินิจฉัย และการช่วยให้หัวนมแห้งและอุ่นขึ้นช่วยลดอาการปวดหัวนมลงได้

??????????????? การช่วยเหลือสำหรับปัญหานี้ เริ่มต้นด้วยตรวจสอบว่ามารดามีท่าให้นมที่เหมาะสม หลังจากนั้น แนะนำให้มารดาใส่เสื้อผ้าอุ่นๆ ที่สะดวกจะช่วยให้หัวนมอุ่นหลังให้นมเสร็จ เช็ดหัวนมให้แห้ง หากการแนะนำเบื้องต้น ไม่ดีขึ้น อาการปวดยังเป็นบ่อยและเป็นปัญหา ควรปรึกษาแพทย์ โดยอาจพิจารณาการใช้ยา nifedipine อย่างไรก็ตาม กว่าอาการปวดจะหายไปจะใช้เวลาหลายวัน สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการตรวจสอบสาเหตุของอาการเจ็บหัวนม คือ มีสาเหตุอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เนื่องจากอาการเจ็บหัวนมอาจมีหลายสาเหตุร่วมกันได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

 

การเจ็บหัวนมจากน้ำนมไหลมากหรือเร็วเกินไป

00024-2-1-o-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเจ็บหัวนมขณะที่ทารกดูดนม อาจเกิดจากน้ำนมไหลมากหรือเร็วเกินไปได้ โดยทารกจะพยายามควบคุมให้น้ำนมไหลช้าลงด้วยการออกแรงในการงับหัวนมมากขึ้นเพื่อชะลอการไหลของน้ำนม ซึ่งจะทำให้มารดาเจ็บหัวนม อาการนี้มักเกิดเมื่อมีน้ำนมมาดีหรือมากแล้ว โดยทั่วไปจะอยู่ในช่วง 3-4 วันหลังคลอด อาการเจ็บหัวนมมักเป็นมากในช่วงเริ่มกินนมที่น้ำนมในเต้ายังมีมาก ผู้ดูแลหรือมารดาจะสังเกตได้จาก มารดามีน้ำนมมามาก ทารกอาจมีอาการของการกินนมที่มากเกินไป ได้แก่ สำรอกหรือแหวะนม ขับถ่ายบ่อย และน้ำหนักขึ้นเร็ว

??????????????? การช่วยเหลือสำหรับปัญหานี้ เริ่มต้นด้วยการจัดท่าให้นมที่เหมาะสม โดยให้ศีรษะทารกสามารถขยับได้อย่างเหมาะสมเพื่อช่วยควบคุมปริมาณน้ำนมที่ไหลเร็วเกินไป การจัดท่าที่มารดาเอนหลัง นอนเอนหลังหรือนอนราบขณะให้นมจะช่วยไม่ให้น้ำนมไหลเข้าปากทารกเร็วเกินไป หรือการบีบน้ำนมออกก่อนการให้นมและเก็บน้ำนมไว้ก็ช่วยลดความเร็วในการไหลของน้ำนมได้ โดยน้ำนมที่เก็บไว้ อาจนำมาให้ทารกกินได้ เมื่อมารดาไม่สะดวกจะให้นม ซึ่งมารดาสามารถเลือกใช้การแก้ปัญหาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือใช้ร่วมกันหลายวิธีก็ได้ เมื่อควบคุมให้น้ำนมไม่ไหลเร็วเกินไปแล้ว การเจ็บหัวนมขณะทารกดูดนมควรหายไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.