การเจ็บหัวนมจากทารกมีภาวะลิ้นติด

IMG_8867

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเจ็บหัวนมจากทารกมีภาวะลิ้นติด เกิดจากการที่ทารกไม่สามารถจะขยับยื่นลิ้นออกไปทางด้านหน้าได้เพียงพอที่จะไปกดท่อน้ำนมบริเวณลานนม ?ทารกจึงออกแรงกดหรือขบบริเวณหัวนม ทำให้มารดาเจ็บหัวนม ลักษณะอาการเจ็บหัวนมจะเกิดขึ้นขณะเริ่มและระหว่างการให้นม การสังเกตภายในช่องปากทารก เมื่อทารกร้องไห้หรือยกลิ้นขึ้นจะสังเกตได้ดีขึ้น การใช้เครื่องมือ MED SWU tongue-tie director ช่วยในการยกลิ้นขึ้นเพื่อตรวจสอบภาวะลิ้นติดเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้การวินิจฉัยทำได้ง่ายขึ้น และสามารถบอกถึงความรุนแรงของภาวะลิ้นติดได้จากการวัดระยะจากผังพืดใต้ลิ้นถึงปลายลิ้น โดยในกรณีที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงรุนแรง อาจมีความจำเป็นต้องผ่าตัดแก้ไข1

??????????????? การช่วยเหลือสำหรับปัญหานี้ เริ่มต้นด้วยตรวจสอบว่ามารดามีท่าให้นมที่เหมาะสมก่อนเสมอ2 เนื่องจากในทารกที่มีภาวะลิ้นติดเล็กน้อย ท่าที่ให้นมลูกที่ทำให้ทารกได้อมหัวนมและลานนมได้ลึกพอที่ลิ้นของทารกจะสามารถขยับยื่นมากดท่อน้ำนมได้ ทารกจะสามารถดูดนมได้ การผ่าตัดแก้ไขจะไม่มีความจำเป็น แต่หากทารกที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางหรือรุนแรง และหลังการปรับท่าการให้นมแล้ว มารดายังมีการเจ็บหัวนมและทารกยังไม่สามารถเข้าเต้าได้อย่างเหมาะสม การผ่าตัด frenotomy ซึ่งเป็นการผ่าตัดเล็ก สามารถทำที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกได้ โดยไม่ต้องการการดมยาสลบ ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 3-5 นาที หลังผ่าตัดทารกสามารถดูดนมแม่ได้ทันที ซึ่งการแก้ไขสาเหตุของการเจ็บหัวนมของมารดาอย่างเหมาะสม จะส่งเสริมให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.
  2. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.