คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

มารดาดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างให้นมบุตร ได้หรือไม่

alcohol drinking3

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ในช่วงเทศกาลหรือมีการเลี้ยงฉลองในวาระต่างๆ อาจมีการเลี้ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คำถามที่มักถูกถามคือ มารดาดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้หรือไม่ แอลกอฮอล์จะดูดซึมได้เร็วจากทางเดินอาหารและผ่านไปสู่น้ำนมได้ดี โดยระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดมารดาจะใกล้เคียงกับระดับแอลกอฮอล์ในน้ำนม ดังนั้น การที่มารดามีอาการเมา และให้ลูกกินนม? ลูกจะได้รับน้ำนมที่มีแอลกอฮอล์ในระดับที่สูง คือ ลูกก็จะเมาด้วย การหลีกเลี่ยงที่ทำได้คือเว้นระยะของการให้นมบุตรให้ห่างออกไป ให้ร่างกายมารดากำจัดแอลกอฮอล์ไปเสียก่อน โดยหากมารดาดื่มไวน์ขนาดที่รินเสริ์ฟปกติหรือไม่เกินครึ่งแก้วไวน์ (150 มิลลิลิตร) หรือดื่มเบียร์ไม่เกินหนึ่งกระป๋องเล็ก (360 มิลลิลิตร) หรือดื่มค็อกเทลที่ผสมเหล้า 40 ดีกรีไม่เกิน 1 เป็กครึ่ง (45 มิลลิลิตร) ร่างกายจะกำจัดแอลกอฮอล์ออกได้ และสามารถให้นมลูกโดยปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นไปได้ มารดาควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในระหว่างการให้นมบุตร ซึ่งจะทำให้ไม่ได้ไม่ต้องมาวิตกกังวลว่าต้องเว้นระยะการให้นมลูกนานเท่าไหร่ และไม่ต้องวิตกกังวลว่าลูกจะได้รับแอลกอฮอล์ไปมากแค่ไหนด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.

ทารกกัดหัวนม แก้ไขอย่างไร

latching2-1-o

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การที่ทารกกัดหัวนมมักจะเกิดขณะที่เริ่มต้นการกินนมและขณะที่กินนมเสร็จแล้ว ซึ่งสาเหตุที่ทารกกัดหัวนมขณะที่เริ่มกินนมเกิดจากการที่มีการป้อนนมในช่วงที่ทารกไม่หิวหรือยังไม่ต้องการกินนม การแก้ไขควรให้นมทารกเมื่อทารกหิว ซึ่งมารดาต้องสังเกตอาการของทารกหิวได้และให้นมเมื่อทารกต้องการ กรณีที่ทารกกัดหัวนมเมื่อกินนมเสร็จแล้วเกิดจากการที่ทารกอิ่มและไม่ต้องการกินนมแล้ว การแก้ไขคือ มารดาจำเป็นต้องสังเกตอาการที่บ่งบอกว่าทารกอิ่ม โดยเมื่อทารกอิ่มแล้ว ต้องขยับทารกออกจากเต้านม จะเห็นว่าหลักการที่จะช่วยป้องกันการกัดหัวนมของทารกคือ การให้นมตามความต้องการของทารก ซึ่งจะทำให้ทารกไม่ประท้วงการกินนมโดยการกัดหัวนม ในกรณีที่ทารกกินหัวนมจนเป็นแผล ต้องระมัดระวังภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ ได้แก่ เต้านมอักเสบและฝีที่เต้านมด้วย

? ? ? ? ? ? อย่างไรก็ตาม บางครั้งในกรณีที่เริ่มมีฟันขึ้น ทารกอาจจะหมั่นเขี้ยว ซึ่งทำให้ทารกกัดหัวนมได้เช่นเดียวกัน แต่หลักการในการดูแลทารกก็ยังใช้หลักการเดียวกัน คือ ?ให้ทารกกินตามความต้องการเมื่อทารกหิวและหยุดให้เมื่อทารกอิ่ม? ซึ่งจะแก้ไขปัญหาทารกกัดหัวนมได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.

 

อาการท้องผูกในทารกที่กินนมแม่

IMG_1036

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ปกติในทารกที่กินนมแม่จะไม่ค่อยพบว่ามีอาการท้องผูกในทารก เนื่องจากในนมแม่จะมีสารที่ช่วยในการระบายซึ่งจะทำให้ทารกถ่ายได้ง่าย แต่อาการท้องผูกในทารกที่กินนมแม่อาจพบในทารกที่อายุมากกว่าหนึ่งเดือน ในทารกที่ได้รับนมผสมหรือในทารกที่เริ่มอาหารเสริม ซึ่งอาจจะเกิดจากการกินนมแม่ได้แต่พบน้อย ส่วนใหญ่มักเป็นจากการกินนมผสมหรืออาหารที่ทารกได้เสริมที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก การปรับเปลี่ยนลักษณะการชงนมผสม และชนิดของอาหารเสริมจะสามารถลดอาการท้องผูกได้

? ? ? ? ? อย่างไรก็ตาม ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่พบอาการท้องผูกในทารกที่กินนมแม่ ได้แก่ ทารกที่มีความผิดปกติของทางเดินอาหารแต่กำเนิด โรค Hirschsprung ภาวะไทรอยด์ต่ำ การติดเชื้อโบทิลิซึ่ม (botulism) ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ มารดาควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้รักษาและได้รับคำแนะนำสำหรับการแก้ไขที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.

 

น้ำนมเป็นสีชมพูเกิดจากอะไร

00025-1-1-l-small

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?น้ำนมสีชมพูเกิดจากการมีเลือดปนออกมากับน้ำนม มักเป็นในช่วงแรกๆ ที่มีเต้านมคัด การบีบน้ำนมหรือปั๊มนมที่รุนแรงก็อาจทำให้เกิดน้ำนมสีชมพูได้ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า rusty-pipe syndrome แต่ในภาษาไทยอยากจะใช้คำว่า ?เลือดในอกที่ออกมาปนกับน้ำนมมารดา? ไม่มีอันตรายอะไรจากการที่ทารกกินน้ำนมสีชมพูนี้ โดยทั่วไป น้ำนมสีชมพูจะหายไปเองในหนึ่งสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม การที่น้ำนมสีชมพูหรือปนเลือดจะทำให้มารดาวิตกกังวลและเป็นสาเหตุที่ทำให้หยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนที่ควรจะเป็นได้ ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรให้คำแนะนำให้มารดาปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมเพื่อให้มารดาสามารถประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดังหวังได้

? ? ? ? ? ?สำหรับสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้น้ำนมมีเลือดปน อาจเกิดจากมารดามีหัวนมแตกหรือเต้านมอักเสบ ซึ่งมารดาจะมีอาการเจ็บหัวนมหรือเต้านมร่วมด้วย นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการกินยาคุมกำเนิดและยาช่วยนอนหลับบางตัว?และในกรณีที่เป็นนานกว่าหนึ่งสัปดาห์ยังไม่หาย อาจเกิดจากเนื้องอกในท่อน้ำนม (intraductal papilloma) หรือมะเร็งได้ ซึ่งมารดาควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้รักษาและแนะนำวิธีการให้นมแม่ที่ถูกต้องและเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.

 

สิ่งของและเครื่องใช้ที่แนะนำสำหรับมารดาให้นมบุตร

 

00024-5-1-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ในมารดาหลังคลอดใหม่ในการให้นมบุตรบางครั้งอาจจำเป็นต้องมีสิ่งของและเครื่องใช้หลายอย่าง ซึ่งหากมีการเตรียมตัวหรือเตรียมความพร้อมตั้งแต่ในระยะใกล้คลอด จะทำให้มารดาสามารถให้นมบุตรได้อย่างสะดวกและมีความสุข โดยสิ่งของและเครื่องใช้ที่แนะนำ ได้แก่

? ? ? ? ? -เสื้อชั้นในสำหรับให้นมบุตรที่เหมาะพอดี

? ? ? ? ? -แผ่นรองสำหรับใส่ในเสื้อชั้นในเพื่อซับน้ำนมที่ไหล

? ? ? ? ? -ครีมลาโนลิน (lanolin)

? ? ? ? ? -เลือกสถานที่ที่เหมาะสมในบ้านที่จะให้นมบุตร โดยอาจเลือกที่ที่สงบและอยู่ในตำแหน่งที่สะดวกของบ้าน

? ? ? ? ? -เก้าอี้ที่ใหญ่และสะดวกในการให้นมบุตร อาจจะเป็นโซฟา เก้าอี้โยก หรือเก้าอี้ที่มีที่วางหรือที่เหยียดขา

? ? ? ? ? ?-ที่วางขาสำหรับวางขายืดหรือเหยียดขาเพื่อความสบายในการให้นมบุตร

? ? ? ? ? ?-โต๊ะที่วางด้านข้างสำหรับวางของใช้ต่างๆ ไว้ใกล้กับเก้าอี้ที่ให้นมบุตร

? ? ? ? ? ?-หมอนรองที่สำหรับให้นมบุตรที่อาจเป็นลักษณะของหมอนที่โค้งโอบเข้าลำตัว เพื่อช่วยรองรับการวางทารก รองรับการวางแขน หรือเต้านม

? ? ? ? ? ?-ขวดใส่น้ำสำหรับมารดาดื่มขณะกระหายน้ำ

? ? ? ? ? ?-อาหารว่างหรืออาหารเพื่อสุขภาพสำหรับมารดาเวลาหิว เนื่องจากมารดาขณะให้นมบุตรความต้องการพลังงานที่ใช้ต่อวันสูงขึ้น

? ? ? ? ? ?-หากมารดาจะบีบน้ำนมด้วยมือหรือใช้เครื่องปั๊มนมเพื่อการเก็บน้ำนม ควรมีรูปทารกวางอยู่เพื่อมารดาใช้ดูซึ่งจะช่วยกระตุ้นออกซิโตซินหรือกลไกน้ำนมพุ่งได้ สำหรับมารดาที่ใช้เครื่องปั๊มนมอาจใช้ชุดชั้นในชนิดที่สามารถประคองหัวปั๊มนมได้ มารดาจะสามารถทำกิจกรรมได้ด้วยขณะทำการปั๊มนม การเตรียมนิตยสารหรือหนังสือที่มารดาชอบอ่านก็จะช่วยให้มารดาได้ผ่านคลายด้วยขณะปั๊มนมบุตร

? ? ? ? ? ?-หากมารดามีลูกคนก่อน อาจจัดให้เวลาลูกคนก่อนมีส่วนร่วมในการให้นมบุตร โดยอาจให้สามีหรือลูกคนก่อนช่วยหยีบของใช้ที่จำเป็นหรือช่วยในการเปลี่ยนผ้าอ้อม เพื่อให้มีกิจกรรมร่วมกันของครอบครัว เพื่อสร้างความสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิกคนใหม่และคนในครอบครัว

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.