คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

การสักหรือการเจาะหัวนมมีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่

368231_9144185_0

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ปัจจุบัน แฟชั่นการแต่งตัว มีความหลากหลายมากรวมถึงรสนิยมในการสัก หรือการเจาะส่วนต่างๆ ของร่างกาย?? ได้แก่ การเจาะหูหลายรู การระเบิดติ่งหู การเจาะจมูก เจาะปาก เจาะลิ้น เจาะสะดือและการเจาะหัวนม ซึ่งรายละเอียดของผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีดังนี้

? ? ? ? ? ?การสัก จะมีการฝังสีลงใต้ผิวหนัง เม็ดสีมีขนาดใหญ่ ไม่ได้ผ่านทางน้ำนม ดังนั้น มีความปลอดภัยในการให้นมลูก อย่างไรก็ตาม ต้องดูแลความสะอาดของอุปกรณ์ในการสักให้ดีและเหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อบาดทะยัก ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และการติดเชื้อเอชไอวี

? ? ? ? ? ?การเจาะใส่ห่วงตามที่ต่างๆ ของร่างกาย หากดูแลความสะอาดของเครื่องมือได้ดี ไม่มีผลเสียในระหว่างการให้นมลูก ยกเว้น การเจาะหัวนม เนื่องจากจะมีแผลที่หัวนม ซึ่งอาจเกิดการติดเชื้ออักเสบของหัวนมและเต้านม การเจาะหัวนม หากต้องการทำควรทำก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งจะใช้เวลาราว 6-10 เดือนเพื่อให้แผลหายได้ดีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนก่อนที่จะให้นมลูก นอกจากนี้ ระหว่างการให้นม ควรถอดห่วงหรือหมุดที่เจาะออก เพื่อป้องกันการสำลักนมของทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

มารดาที่ให้นมลูกเสริมสวยได้หรือไม่

 

g46

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? สตรีโดยทั่วไปจะรักสวยรักงาม ดังนั้น อาจมีคำถามที่อยากรู้ว่า ในช่วงหลังคลอด ขณะมารดาให้นมบุตรจะเสริมสวยได้หรือไม่ เนื่องจากมีกิจกรรมหลายอย่างที่เคยทำในชีวิตประจำวันในช่วงก่อนการตั้งครรภ์ ได้แก่ การย้อมสีผม การทำเล็บ การฉีดโบท็อกซ์ การลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย หรือการนอนที่ตู้ที่ปรับผิวให้สีแทนในคนที่นิยมผิวสีแทน รายละเอียดของแต่ละกิจกรรม มีข้อแนะนำดังนี้

? ? ? ? ? ? การย้อมสีผม จะมีสารเคมีที่ดูดซึมผ่านผิวหนัง เข้าไปในกระแสเลือด และผ่านน้ำนมได้ แต่มีปริมาณเล็กน้อย มารดาสามารถย้อมสีผมในระหว่างช่วงที่ให้นมลูกได้โดยปลอดภัย แต่ควรระมัดระวังสารระเหยที่เป็นตัวทำละลายสี หากขณะหมักหรือย้อมสีผมใช้เวลานาน มารดาอาจสูดดมสารที่เป็นตัวทำละลายสีจนเกิดอันตรายได้ ดังนั้น ควรทำในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก

? ? ? ? ? ?การทาเล็บ ในยาทาเล็บจะมีสารเคมีที่ดูดซึมผ่านผิวหนังได้ แต่มีปริมาณน้อย มารดายังสามารถทาเล็บได้ในช่วงที่ให้นมลูกได้โดยปลอดภัย แต่ต้องระวังสารระเหยจะยาทาเล็บ ในมารดาที่ต้องทำงานอยู่ในร้านเสริมสวย และต้องทาเล็บให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ควรจัดสถานที่ในร้านให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก

? ? ? ? ? การฉีดโบท็อกซ์ สารโบท็อกซ์เป็นสารโมเลกุลใหญ่ส่วนใหญ่จะอยู่ในกล้ามเนื้อที่ฉีดเข้าไป ไม่ควรจะผ่านไปที่น้ำนม อย่างไรก็ตาม ควรเว้นการให้นมบุตร 4-6 ชั่วโมงหลังจากการฉีดโบท็อกซ์

? ? ? ? ? ?การลดน้ำหนัก ในสตรีที่ให้นมบุตรจะต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 500 กิโลแคลอรี่ ดังนั้น หากมารดาเลือกกินอาหารอย่างเหมาะสม น้ำหนักมารดาจะกลับสู่ในช่วงก่อนตั้งครรภ์ได้ดี ซึ่งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยตนเองจะเป็นส่วนช่วยเรื่องการควบคุมน้ำหนักด้วยอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการกินยาเพื่อลดน้ำหนักระหว่างการให้นมบุตร

? ? ? ? ? การออกกำลังกาย มารดาระหว่างการให้นมบุตรสามารถออกกำลังกายได้ แต่หากออกกำลังกายหนักมากจนร่างกายล้า ร่างกายจะผลิตกรดแลคติกเพิ่มขึ้น อาจทำให้รสชาติของนมเปลี่ยนไป ไม่มีผลเสียต่อทารก แต่หากทารกปฏิเสธการกินนม อาจใช้นมที่บีบเก็บไว้ก่อนการออกกำลังกายมาให้ทารกได้ อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายในขนาดที่เหมาะสม มารดาจะไม่เหนื่อยล้าจนเกินไป จิตใจแจ่มใส และมีเรี่ยวแรงในการเอาใจใส่ดูแลบุตร

? ? ? ? สำหรับการนอนในตู้ที่ปรับสีผิวให้เป็นสีแทน สามารถทำได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงในบริเวณเต้านมและหัวนม เนื่องจากอาจทำให้ผิวแห้ง แสบ ไหม้ และเจ็บขณะให้นมได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.

ปัญหาในการให้นมแม่ในทารกคลอดใกล้ครบกำหนด

IMG_1018

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ทารกที่คลอดใกล้ครบกำหนดตั้งแต่อายุครรภ์ 34-36 สัปดาห์ มักพบปัญหาในการให้ทารกกินนมแม่ได้ เนื่องจากพัฒนาการของทารกยังไม่พร้อมเต็มที่ ทารกมักง่วงหลับขณะดูดนมแม่ได้บ่อย ดังนั้น หากมารดาคลอดทารกใกล้ครบกำหนด และทารกสามารถดูดนมจากเต้าได้ การให้ลูกกินนมแม่ ควรปฏิบัติดังนี้

? ? ? ?-โอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนและหลังการกินนม เพราะนอกจากจะกระตุ้นพัฒนาการของระบบประสาทและกล้ามเนื้อแล้ว ยังช่วยให้ทารกตื่นตัว กินนมได้มากขึ้น และกระตุ้นการสร้างน้ำนมได้ดีขึ้น

? ? ? ?-หากทารกง่วงหลับขณะดูดนม มารดาอาจใช้การกระตุ้นที่มุมปากของทารก ใช้การนวดเต้าให้น้ำนมไหลมากเพื่อกระตุ้นทารก การเปลี่ยนสลับเต้าเพื่อให้นมราวทุก 5 นาที หากทารกยังง่วงหลับอยู่ อาจใช้การเปิดผ้าที่ห่อตัวทารกให้ทารกได้ขยับแขนขา ใช้การพลิกตัวทารก การเปลี่ยนผ้าอ้อม การสัมผัสกระตุ้นบริเวณหน้าอกและหลัง การกระตุ้นต่างๆ เหล่านี้จะทำให้ทารกตื่นตัวและทารกดูดนมได้ดีขึ้น

? ? ? ? อย่างไรก็ตาม ในทารกที่คลอดใกล้ครบกำหนด ควรมีการติดตามการเพิ่มของน้ำหนักและการเจริญเติบโตของทารกว่าเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ หากประเมินแล้วกินนมได้เองน้อย มารดาอาจต้องบีบน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนมป้อนทารกเพิ่มเติมด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

อาการคันหัวนมหลังคลอดของมารดาเป็นจากอะไร

S__38199475

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? หลังคลอดในมารดาบางคนอาจมีอาการคันบริเวณหัวนมได้ โดยในระยะแรก อาการคันอาจเป็นเพียงอาการเดียวที่มารดามี แต่เนื่องจากอาการคันนั้นมีสาเหตุได้จากหลายอย่าง มารดาอาจจะต้องสังเกตอาการแสดงที่เห็นร่วมกับอาการคัน โดยสังเกตและติดตามบริเวณที่คันว่ามีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ซึ่งอาจจะมีอาการแดง เจ็บ เป็นแผล เป็นสะเก็ด เป็นตุ่มผื่น หรือมีลักษณะของการถูกกัดจากแมลง สิ่งเหล่านี้ จะช่วยในการให้การวินิจฉัยและการรักษา

-มารดาที่มีผื่นแดงหรือลมพิษร่วมกับอาการคัน ควรตรวจสอบการแพ้สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาซักผ้าหรือปรับผ้านุ่ม น้ำหอม หรือครีมที่ใช้สัมผัสกับหัวนมหรือเต้านม การดูแลรักษา ควรหลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ และอาจใช้ยาแก้แพ้ช่วยบรรเทาอาการ

? ? ? ? ? -มารดาที่มีผื่นแดง อักเสบ เป็นสะเก็ด และแห้ง ร่วมกับมีประวัติการเป็นผื่นแดง อักเสบในบริเวณอื่นๆ ควรตรวจสอบอาการผื่นแดงอักเสบ (eczema) และให้การดูแลรักษาโดยให้ยาแก้แพ้ และยาทาสเตียรอยด์เฉพาะที่ แต่ยาทานี้ต้องล้างออกก่อนการให้นมบุตร

? ? ? ? ? -มารดามีตุ่มหรือผื่นแดง ลักษณะแยกจากกัน และมีน้ำเหลืองไหลออกมา ควรตรวจสอบการอักเสบติดเชื้อที่ผิวหนัง ที่เรียกว่า Impetigo ซึ่งจะเป็นการติดเชื้อจากเชื้อ streptococcus หรือ staphylococcus การดูแลรักษาจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ

? ? ? ? ? -มารดาที่มีการอักเสบแดง และกดเจ็บของเต้านมร่วมด้วย ควรตรวจสอบการอักเสบหรือการติดเชื้อของเต้านม (mastitis) การดูแลรักษาอาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ

-มารดามีหัวนมเป็นสีชมพู ใสเป็นมัน และเป็นสะเก็ด ควรตรวจสอบการติดเชื้อรา การดูแลรักษาจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อราได้แก่ Gentian violet ทาบริเวณหัวนม และอาจต้องใช้ทาในปากทารกด้วย

? ? ? ? ? -มารดามีตุ่มใส และบริเวณฐานของตุ่มเป็นสีแดง ต้องตรวจสอบการอักเสบจากการติดเชื้ออีสุกอีใส (varicella) หรือการกลับเป็นซ้ำของงูสวัด

? ? ? ? ? -มารดาที่มีตุ่มอักเสบ เป็นหลุม ร่องหรือเป็นรู ร่วมกับทารกมีอาการลักษณะเดียวกัน ควรตรวจสอบการอักเสบจากหิด ซึ่งจำเป็นต้องรักษาหิด

? ? ? ? ? ?-มารดามีตุ่มอักเสบและมีร่องรอยของแมลงกัด หรือต่อย การดูแลรักษาต้องรักษาการปวดหรือคันตามอาการ แต่ควรหลีกเลี่ยงหรือป้องกันการกัด หรือต่อยของแมลงที่จะเกิดต่อไปด้วย

? ? ? ? ? ? สำหรับอาการคันของมารดาที่มีผื่นแดง อักเสบ ร่วมกับการคลำได้ก้อน อาจสงสัย Paget disease ซึ่งเป็นอาการทางผิวหนังของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม สิ่งนี้มีอันตรายและมีความจำเป็นเร่งด่วนในการรักษา อย่างไรก็ตาม อาการคันหัวนมของมารดา สาเหตุส่วนใหญ่มักเป็นภาวะที่ไม่มีอันตรายรุนแรง ความผิดปกติหรือสาเหตุจากมะเร็งพบน้อย แต่หากดูแลรักษาเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

ทารกกินนมแม่แล้วมีลมในท้องมากเกิดจากอะไร

IMG_0687

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ในทารกที่กินนมแม่ หากทารกมีอาการแน่นท้อง ผายลมบ่อย ไม่สบายตัว สิ่งแรกที่ต้องสังเกตคือ การเข้าเต้าและการดูดนมของทารกทำได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพหรือไม่ หากทารกเข้าเต้าได้ไม่ดีหรือดูดลมเข้าไปมากระหว่างการกินนมแม่ ทารกจะมีอาการแน่นท้อง ซึ่งการอุ้มพาดบ่าหรือจับทารกเรอจะช่วยลดอาการได้ สำหรับสาเหตุอื่นที่ทำให้ทารกแน่นท้องหรือผายลมบ่อย อาจเกิดจากการที่มารดารับประทานอาหารที่ทำให้เกิดลมมาก ได้แก่ หัวหอม บร็อคคอลี่ กะหล่ำปลี ลูกพรุน ถั่ว แอปริคอต และช็อคโกแลต หรือการที่ทารกกินนมแม่และได้เฉพาะส่วนของน้ำนมส่วนหน้า (foremilk) มากเกินไป การที่มารดากินอาหารชนิดที่ทำให้เกิดลมในท้องมาก สารอาหารจะผ่านไปในน้ำนม และทำให้ทารกเกิดลมในท้องมากเช่นเดียวกัน การหลีกเลี่ยงไม่กินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งอย่างเดียวกันมากจนเกินไปจะสามารถช่วยลดอาการได้ สำหรับทารกที่กินนมแม่ในน้ำนมส่วนหน้ามาก จะมีอาการถ่ายและผายลมบ่อย อุจจาระสีเขียวและเป็นฟอง ในกรณีนี้อาจเกิดจากทารกกินนมได้ไม่นานแล้วหลับ และครั้งต่อไปมารดาให้นมจากเต้าอีกข้างซึ่งจะทำให้ทารกได้รับเฉพาะน้ำนมส่วนหน้าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีน้ำตาลกาแลคโตสสูง ทำให้มีการขับถ่ายได้บ่อยๆ น้ำดีที่ออกมากับอุจจาระยังไม่ได้ถูกย่อยโดยแบคทีเรีย ทำให้อุจจาระมีสีเขียว การดูแลหรือช่วยเหลือในกรณีนี้มารดาให้กระตุ้นทารกที่ดูดนมแล้วหลับให้ดูดนมได้เต็มที่เกลี้ยงเต้า ซึ่งจะทำให้ทารกได้รับน้ำนมส่วนหลังที่มีไขมันมากกว่า ทารกจะอิ่มนาน และไม่ขับถ่ายบ่อยจนเกินไป หรืออาจใช้การบีบน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนมส่วนหน้าออกก่อนในกรณีที่น้ำนมมามาก โดยบีบหรือปั๊มนมออกก่อน 5 นาทีก่อนการให้ทารกกินนมก็จะทำให้ทารกได้กินน้ำนมส่วนหลัง ซึ่งจะช่วยลดอาการถ่ายและผายลมบ่อยลงได้ นอกจากนี้ การให้ทารกได้อาบน้ำอุ่น จะช่วยให้ทารกสบายตัว ลดอาการแน่นท้องและผายลมได้ดีขึ้นด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.