คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

ควรมีการสนับสนุนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไร ในมารดาตั้งครรภ์ไตรมาสสาม

IMG_9410

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? จากที่มารดาและครอบครัวเห็นประโยชน์ ความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้เข้ากลุ่มและมีพี่เลี้ยงสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากการแนะนำในไตรมาสแรกที่สองแล้ว ในไตรมาสที่สาม ข้อแนะนำที่บุคลากรทางการแพทย์ควรให้1 ได้แก่

??????????????? –สอนการเข้าเต้าโดยใช้ตุ๊กตาให้มารดาทดลองอุ้มและท่าในการให้นมลูก ได้แก่ ท่าเอนหลัง (laid-back) ท่าอุ้มขวางตัก ท่าอุ้มขวางตักประยุกต์ ท่าฟุตบอล และท่านอนตะแคง

? ? ? ? ? ? ? ? ?-ทบทวนกระบวนการเริ่มการให้นม การสร้างและการหลั่งน้ำนม

? ? ? ? ? ? ? ? -กระตุ้นให้มารดาได้เข้าร่วมสังเกตกลุ่มมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามแต่ละขั้นตอนที่มารดาสนใจ

? ? ? ? ? ? ? ?-ให้ข้อมูลทางเลือกของการลดความเจ็บปวดระหว่างการคลอด และผลกระทบของการใช้ยาแก้ปวดต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ? ? ?-อภิปรายถึงความสำคัญของการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ (skin-to-skin contact) ต่อความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มารดาควรต้องปฏิบัติไม่ว่ามารดาจะคลอดบุตรด้วยวิธีการคลอดวิธีใด การเริ่มให้ทารกดูดนมตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด การให้ทารกคืบคลานเข้าหาเต้านมมารดา (breast crawl) และวิธีการที่จะทำให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จไปได้ด้วยดี

? ? ? ? ? ? ? ? -แนะนำให้มีการอภิปรายพูดคุยกับมารดาและครอบครัวเกี่ยวกับแผนในการเลี้ยงดูทารกและแผนในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรทางการแพทย์

? ? ? ? ? ? ? ? -เน้นให้มารดาและครอบครัวเห็นความสำคัญของการติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ในสัปดาห์แรกหลังคลอดโดยเฉพาะในมารดาและทารกที่มีความเสี่ยงจะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร

เอกสารอ้างอิง

  1. Rosen-Carole C, Hartman S. ABM Clinical Protocol #19: Breastfeeding Promotion in the Prenatal Setting, Revision 2015. Breastfeed Med 2015;10:451-7.

 

 

ควรมีการสนับสนุนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไร ในมารดาตั้งครรภ์ไตรมาสสอง

IMG_9407

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? หลังจากที่มารดาและครอบครัวเห็นประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากการแนะนำในไตรมาสแรกแล้ว ในไตรมาสที่สอง ข้อแนะนำที่บุคลากรทางการแพทย์ควรให้1 ได้แก่

??????????????? -สร้างให้มารดามีความมั่นใจและกำลังใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยการพูดคุยถึงบุคคลที่เป็นแบบอย่างที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จ โดยอาจเป็นคนที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับ หรือเป็นคนในครอบครัว พี่น้อง หรือเพื่อน เพื่อช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

-แนะนำให้มารดา ครอบครัว หรือผู้ที่มีส่วนในการดูแลทารกได้เข้ากลุ่มเพื่อนมารดาที่สนใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อให้มีการพูดคุยระหว่างสตรีตั้งครรภ์ด้วยกัน หรือมีการแลกเปลี่ยนปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหา ซึ่งทำให้ได้เห็นมารดาที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปัญหาที่มารดาอาจพบหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีการปฏิบัติได้จริงเป็นตัวอย่าง

-ทบทวนพื้นฐานของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ ความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน การสร้างน้ำนม การเข้าเต้าและการดูดนมของทารกที่เหมาะสม การให้นมตามความต้องการของทารก จำนวนครั้งและปริมาณของการให้นม อาการหิวหรืออาการอิ่มของทารก และการหลีกเลี่ยงการป้อนนมจากขวดนมหรือการใช้จุกนมหลอก

-สำหรับมารดาที่ต้องกลับไปทำงานหรือจำเป็นต้องแยกจากทารก ชี้แจงถึงสิทธิในการลาพักหลังคลอดเพื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กระตุ้นและให้กำลังใจให้มารดามองเห็นกระบวนการจัดการเพื่อให้ยังคงสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ การบีบน้ำนมด้วยมือ การปั๊มนม การเก็บน้ำนม นโยบายการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสถานประกอบการ การมีมุมนมแม่

-สนับสนุนให้มีพี่เลี้ยง (doula) ที่จะดูแลมารดาในระหว่างการคลอด หลังคลอด และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยอาจจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนสนิท หรืออาสาสมัครที่มารดาคุ้นเคยและไว้ใจที่จะให้กำลังใจ ให้คำปรึกษาและแนะนำให้มารดาผ่านกระบวนการการคลอดไปได้ด้วยดีและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จ

เอกสารอ้างอิง

  1. Rosen-Carole C, Hartman S. ABM Clinical Protocol #19: Breastfeeding Promotion in the Prenatal Setting, Revision 2015. Breastfeed Med 2015;10:451-7.

 

 

มารดาตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก ควรมีการสนับสนุนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไร

IMG_9411

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การให้ความรู้ความเข้าใจกับสตรีตั้งครรภ์ สามี และคนในครอบครัวที่จะช่วยดูแลมารดาและทารกถึงประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรมีการปฏิบัติในตั้งแต่ในระยะของการฝากครรภ์ ซึ่งในไตรมาสแรกบุคลากรทางการแพทย์ควร1

??????????????? -แนะนำให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน จากนั้นเริ่มอาหารตามวัยควบคู่กับการให้นมแม่ต่อจนครบ 2 ปีหรือนานกว่านั้น โดยขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารก มีการศึกษาว่าการแนะนำนี้แม้เพียงอย่างเดียวก็ยังมีผลในการช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นได้

??????????????? -แนะนำและให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่สตรีตั้งครรภ์ สามี และคนในครอบครัวที่จะดูแลมารดาและทารก

??????????????? -ให้คำปรึกษาถึงปัญหาที่พบบ่อย ได้แก่ ความไม่มั่นใจ การเขินอาย ข้อจำกัดในด้านเวลาหรือสภาวะทางสังคม ความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องอาหารและสุขภาพ การขาดการสนับสนุนทางสังคมในการดูแลทารก และความกลัวเรื่องความเจ็บปวด การให้คำปรึกษานี้จะช่วยได้มากในมารดากลุ่มที่มีความเสี่ยงในการที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนระยะเวลาที่เหมาะสม ได้แก่ มารดาวัยรุ่นและมารดาที่มีภาวะอ้วน

เอกสารอ้างอิง

  1. Rosen-Carole C, Hartman S. ABM Clinical Protocol #19: Breastfeeding Promotion in the Prenatal Setting, Revision 2015. Breastfeed Med 2015;10:451-7.

 

สเต็มเซลล์ในนมแม่

latching2-1-o

????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? สเต็มเซลล์ (stem cell) หรือเซลล์ต้นกำเนิดซึ่งปัจจุบันมีการให้ความสนใจเป็นอย่างมากในการนำมารักษาโรคต่างๆ เนื่องจากสเต็มเซลล์จะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงและสามารถซ่อมแซมเซลล์ที่มีการบาดเจ็บหรือถูกทำลายของอวัยวะต่างๆ ที่หลากหลายได้ อย่างไรก็ตาม การหาแหล่งที่จะเก็บสเต็มเซลล์ให้ได้ปริมาณมากเพียงพอที่จะใช้ในการรักษายังมีข้อจำกัด

? ? ? ? ? ? สเต็มเซลล์ในนมแม่จะมีการหลั่งสารที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ (growth factor) ได้แก่ ? vascular endothelial growth factor และ hepatocyte growth factor ซึ่งจะช่วยกระตุ้นสาร surfactant ในปอดทารก ทำให้ปอดทารกทำงานได้อย่างสมบูรณ์ และยังช่วยทารกให้มีพัฒนาการสมบูรณ์ด้วย มีการศึกษาพบว่า สเต็มเซลล์ที่เลี้ยงโดยมีน้ำนมแม่จะมีการสร้างสารที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซล์ได้มากกว่าสเต็มเซลล์ที่เลี้ยงในหลอดทดลองที่ไม่มีนมแม่1 ซึ่งการค้นพบนี้ อาจจะนำไปสู่การสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์หรือสเต็มเซลล์ที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคได้โดยใช้ปัจจัยเรื่องนมแม่เป็นบทบาทที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์

เอกสารอ้างอิง

  1. Kaingade PM, Somasundaram I, Nikam AB, Sarang SA, Patel JS. Assessment of Growth Factors Secreted by Human Breastmilk Mesenchymal Stem Cells. Breastfeed Med 2016;11:26-31.

 

 

ความสำคัญของบุคลากรทางการแพทย์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

S__46162106

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ในการดูแลสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นบทบาทส่วนที่สำคัญของบุคลากรทางการแพทย์ อุปสรรคที่พบในการให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรทางการแพทย์1,2 ได้แก่ การขาดทักษะและมีเวลาน้อยที่ให้กับการให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาถึงเหตุผลในการหยุดการให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรทางการแพทย์ พบว่า จากการที่บุคลากรมีเวลาน้อย ขาดทักษะ และให้ข้อมูลได้น้อยนำไปสู่ความไม่มั่นใจว่าจะช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและติดตามดูแลมารดาและบุตรได้ครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่3 เมื่อไม่มีความมั่นใจก็อาจจะวนไปสู่วงจรของการไม่ให้เวลา หรือให้ข้อมูลน้อย ดังนั้น การสร้างทักษะและความมั่นใจในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรอาจเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างผู้นำที่ควรจะมีบทบาทนำในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Taveras EM, Li R, Grummer-Strawn L, et al. Opinions and practices of clinicians associated with continuation of exclusive breastfeeding. Pediatrics 2004;113:e283-90.
  2. Schanler RJ, O’Connor KG, Lawrence RA. Pediatricians’ practices and attitudes regarding breastfeeding promotion. Pediatrics 1999;103:E35.
  3. Garner CD, Ratcliff SL, Thornburg LL, Wethington E, Howard CR, Rasmussen KM. Discontinuity of Breastfeeding Care: “There’s No Captain of the Ship”. Breastfeed Med 2016;11:32-9.