คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

โครงสร้างของเต้านม พัฒนาการสำหรับการให้นมทารก ตอนที่ 2

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?เมื่อเข้าสู่ระยะตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงของเต้านมจะมีพัฒนาการเพิ่มขึ้น เต้านมและหัวนมจะขยาย สีของหัวนมและลานนมจะสีคล้ำขึ้น เพื่อให้ทารกสามารถมองเห็นหัวนมและลานนมได้ชัดเจนขึ้น ร่วมกับต่อมไขมันบริเวณลานนม คือ ต่อมมอนโกเมอรีจะสร้างไขช่วยหล่อลื่นหัวนมและนมลานขณะทารกดูดนม สร้างสารที่ช่วยต้านการติดเชื้อด้วย และมีการสร้างน้ำนมเพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับทารก โดยฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญคือ โปรแลคติน การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ กระบวนการการสร้างน้ำนมจะมีเริ่มผลิตน้ำนม แต่การหลั่งน้ำนมจะยังไม่เกิดขึ้น เนื่องจากผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ออกฤทธิ์ต้านการหลั่งน้ำนม จนเมื่อหลังคลอด ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดลง ร่วมกับการทำงานของออกซิโตซินจากการกระตุ้นดูดน้ำนม จะทำให้น้ำนมหลั่งออกมาได้

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

โครงสร้างของเต้านม พัฒนาการสำหรับการให้นมทารก ตอนที่ 1

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เต้านมของสตรีออกแบบมาสำหรับการให้นมทารก โดยโครงสร้างต่างๆ ได้มีพัฒนาการมาตั้งแต่ทารกหญิงขณะเป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดา การพัฒนาของเต้านมเริ่มต้นขณะทารกอายุครรภ์ราว 18-19 สัปดาห์ โดยตุ่มที่โป่งคล้ายหลอดไฟที่จะเจริญเป็นเต้านมจะเจริญจากเนื้อเยื่อชั้นนอกเข้าไปในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ด้านใน จากนั้น ส่วนที่เป็นท่อน้ำนมจะยืดออก แตกกิ่งก้านสาขาอยู่ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันใต้เต้านม เมื่อมีการเจริญเติบโตเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เต้านมจะมีการพัฒนาการเพิ่มขึ้น เต้านม หัวนม และลานนมขยาย โครงสร้างของเต้านมจะเริ่มซับซ้อนมากขึ้น การพัฒนาการจะเริ่มตั้งแต่ก่อนการมีประจำเดือน 2.5-3 ปี ซึ่งระหว่างช่วงหลังการตกไข่ (luteal phase) จะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่จะช่วยในการพัฒนาโครงสร้างของเต้านม ระยะเวลาของการพัฒนาการในช่วงนี้จะใช้เวลา 3-3.5 ปี

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

เลปติน ฮอร์โมนที่ควบคุมการกินอาหารในนมแม่

00024-1-l-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ปัญหาในเรื่องการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม ภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน การกินนมแม่ช่วยฝึกให้ทารกรู้จักควบคุมการกินอาหารจากการที่มารดาให้ทารกกินนมแม่ตามความต้องการ นอกจากนี้ ในน้ำนมแม่ยังมีฮอร์โมนเลปติน (leptin) และอะดิโพเนคติน (adiponectin) ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการกินอาหารและการเผาพลาญพลังงานของร่างกาย เมตาบอลิสมของไขมัน และความไวของการตอบสนองของอินซูลิน ซึ่งจะมีผลต่อภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนได้ ซึ่งเรื่องนี้มีความน่าสนใจและมีการศึกษาถึงฮอร์โมนเลปตินกับการกินอาหารเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หากเราทราบรายละเอียดถึงกลไกที่สำคัญในการควบคุมการกิน? การป้องกันโรคอ้วนและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดตามมาหลังจากโรคอ้วนก็จะสามารถทำได้และจะเป็นประโยชน์อย่างมากในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

ไขมัน ส่วนสำคัญที่ให้พลังงานในนมแม่

IMG_9698

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในน้ำนมแม่นั้น ไขมันในน้ำนมเป็นส่วนให้พลังงานที่สำคัญมากถึงร้อยละ 50 ลักษณะของไขมันในนมแม่จะอยู่ในรูปกลุ่มก้อนไขมันเล็กๆ (fat globule) ไลเปสที่กระตุ้นการทำงานของน้ำดี และกรดไขมันที่จำเป็นซึ่งอยู่ในรูปไตรกลีเซอไรด์ กรดไขมันที่จำเป็นและมีลักษณะเฉพาะที่พบในนมแม่ ได้แก่ กรดอะแรชิโดนิก (arachidonic acid หรือ AA) และกรดไดโคซาเฮซาโนอิก (dicosahexaenoic acid หรือ DHA) ซึ่งจะช่วยในพัฒนาการของจอประสาทตาและสมอง กรดไขมันเหล่านี้จะไม่พบในนมวัว นอกจากนี้กรดไขมันที่อยู่ในรูปกรดปาล์มมิติก (palmitic acid) ยังช่วยในการดูดซึมเกลือแร่จากทางเดินอาหารให้ดีขึ้นด้วย

? ? ? ? ? ? ? อย่างไรก็ตาม ในน้ำนมส่วนหน้า (foremilk) หรือน้ำนมในส่วนที่ทารกกินก่อนจะมีปริมาณไขมันน้อยกว่าและมีแลตโตสมากกว่าน้ำนมส่วนหลัง (hindmilk) หรือน้ำนมในส่วนที่ทารกกินในตอนท้ายใกล้เกลี้ยงเต้า ดังนั้น การที่จะให้ทารกได้รับพลังงานจากน้ำนมที่เพียงพอ อิ่ม และหลับนาน ควรให้ทารกดูดนมจนเกลี้ยงเต้าก่อนจะเปลี่ยนไปดูดนมจากอีกเต้าหนึ่ง

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

 

ลักษณะที่น่าสนใจของคาร์โบไฮเดรตในนมแม่

 

S__45850801

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในน้ำนมแม่จะมีคาร์โบไฮเดรตที่พบมากได้แก่ แลคโตส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ย่อยได้ง่าย ส่วนใหญ่จะย่อยจนเกือบหมด ในส่วนที่เหลือจะช่วยให้อุจจาระนุ่ม ช่วยในการขับถ่าย ช่วยในการดูดซึมของเกลือแร่ และช่วยลดการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โอลิโกแซคคาไรด์พบร้อยละ 5-10 ของคาร์โบไฮเดรตในนมแม่ ซึ่งมีชนิดที่แตกต่างกันกว่า 100 ชนิด โดยเป็นสารอาหาร และช่วยในเรื่องภูมิคุ้มกันเป็นพรีไบโอติกที่ช่วยในการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้และช่วยลดการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อร่างกายด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.