คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

การตรวจเต้านมสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_0640

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การตรวจร่างกายในส่วนของเต้านมมีความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเต้านมว่ามีความพร้อมสำหรับการให้นมบุตรหรือไม่ และที่เต้านมมีความผิดปกติใดๆ ที่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือเป็นอันตรายแก่มารดาที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยทั่วไป การตรวจเต้านมของสตรีที่ไม่ได้มีการตั้งครรภ์แนะนำให้ตรวจในช่วงครึ่งแรกหลังจากการมีประจำเดือนก่อนการตกไข่ เพราะหลังจากการตกไข่ เต้านมจะบวมน้ำ เจ็บ และไวต่อการสัมผัสมากขึ้น แต่ในสตรีที่ตั้งครรภ์ควรทำการตรวจเต้านมตั้งแต่มารดามาฝากครรภ์ครั้งแรก หลังการตรวจเต้านม ควรบันทึกลักษณะของพัฒนาการของเต้านม ความสมมาตร ลักษณะหัวนมและลานนม ความผิดปกติที่พบบริเวณเต้านม ก้อน แผลและแผลเป็นต่างๆ บริเวณเต้านมและลานนม เพื่อเป็นประโยชน์ในการให้คำปรึกษาสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

 

การซักประวัติสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่คลินิกฝากครรภ์

IMG_9705

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มารดาเมื่อเริ่มตั้งครรภ์และมาฝากครรภ์ นอกจากการให้ความรู้เรื่องความสำคัญและประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว การซักประวัติเพื่อประเมินความเสี่ยงของมารดาที่จะเป็นอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความจำเป็น ประวัติที่ควรสอบถามมารดา ได้แก่

? ? ? ?-ประวัติโรคประจำตัว ภาหะไวรัสตับอักเสบ การติดเชื้อเอชไอวี และการเป็นงูสวัดบริเวณเต้านม

? ? ? ?-ประวัติการใช้ยา ยาที่มารดาใช้เป็นประจำ หรือใช้เพื่อรักษาโรคประจำตัวอาจจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของทารกในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร

? ? ? ?-ประวัติการบาดเจ็บและผ่าตัดบริเวณเต้านม โดยเฉพาะบริเวณหัวนมและลานนม ซึ่งอาจรบกวนท่อน้ำนมที่จะนำน้ำนมจากต่อมน้ำนมมาที่หัวนม รวมทั้งการผ่าตัดเสริมเต้านมหรือลดขนาดของเต้านม

? ? ? ?-ประวัติลักษณะการรับประทานอาหาร ควรแนะนำมารดาให้รับประทานอาหารครบห้าหมู่โดยมีสัดส่วนที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปอาหารปกติที่มารดารับประทานไม่ได้ส่งผลต่อปริมาณน้ำนม แต่หากมารดารับประทานอาหารได้เหมาะสม ร่างกายของมารดาก็จะผลิตน้ำนมที่มีสมบูรณ์และเพียงพอโดยไม่รบกวนสารอาหารที่สะสมในร่างกายของมารดา

? ? ? ? –ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติด ควรมีการงดหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมสำหรับมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร คนในครอบครัวที่อยู่ในบ้านเดียวกัน

? ? ? ? –ประวัติการให้นมลูกในครรภ์ก่อน ปัญหา อุปสรรคและความวิตกกังวลในการให้นมของมารดาที่เกิดขึ้นในครรภ์ก่อนทั้งในโรงพยาบาลและเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านกับครอบครัว

? ? ? ? –ประวัติการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสามี คนในครอบครัว ญาติ เพื่อนสนิทและชุมชนในบริเวณใกล้บ้าน

? ? ? ? ? การซักประวัติข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าใจบริบท ปัญหา และอุปสรรคที่มารดาอาจต้องเผชิญมากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน จากนั้นให้อาหารเสริมตามวัยพร้อมให้นมแม่ต่อจนถึงสองปีหรือนานกว่านั้นด้วยความมั่นใจและเกิดประสบการณ์ที่ประทับใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

คลินิกฝากครรภ์สำคัญต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_9405

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เมื่อมารดาเริ่มตั้งครรภ์ มารดาประมาณ 3 ใน 4 คนได้ตัดสินใจในเรื่องการเลี้ยงลูกหลังคลอดก่อนหรือในระหว่างการฝากครรภ์ว่า จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่1 ความตั้งใจของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะต่อไป แม้ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ที่มารดาต้องเผชิญระหว่างการให้นมลูก ดังนั้น จุดเริ่มต้นที่จะนำให้มารดาเกิดความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือ คลินิกฝากครรภ์ จึงมีความสำคัญอย่างมากที่ควรสร้างให้เกิดบรรยากาศของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตั้งแต่รูปภาพมารดาให้นมทารก การมีมุมนมแม่หรือคลินิกนมแม่อยู่บริเวณเดียวกันกับคลินิกฝากครรภ์ การให้ความรู้เรื่องประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่คลินิกฝากครรภ์ การสอบถามหรือย้ำเตือนมารดาบ่อยๆ ในระหว่างการฝากครรภ์ รวมทั้งเตรียมความพร้อมให้มารดามีความพร้อมในการให้นมลูก แม้บางรายอาจมีปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงที่ทารกจำเป็นต้องอยู่หอผู้ป่วยทารกวิกฤตหลังคลอดใหม่ เช่น ทารกน้ำหนักตัวน้อย หรือ ทารกที่คลอดก่อนกำหนด ซึ่งการเตรียมให้คำปรึกษาอาจส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้คำปรึกษาตั้งแต่ก่อนการคลอด การเตรียมตัวทที่ดีจะทำให้มารดามีความพร้อมสำหรับการให้นมลูก

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

 

กลไกการดูดนมแม่ของทารก

00024-5-1-o-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การดูดนมจากเต้านมมารดาของทารกจะมีการสร้างแรงดูดในช่องปากทารก เริ่มจากการที่ปากทารกประกบกับเต้านม ทารกยื่นลิ้นออกไปกดบริเวณลานนม การขยับลิ้นกลับลงด้านล่าง จะสร้างแรงดูดในช่องปากทารกเพิ่มขึ้น น้ำนมจะไหลจากเต้านมมารดา ร่วมกับแรงจากการบีบตัวของเซลล์กล้ามเนื้อต่อมเต้านมที่จะช่วยขับไล่น้ำนมออกจากเต้านม เมื่อน้ำนมอยู่ไหลเข้ามาในช่องปากมากขึ้น แรงดูดนมจะลดลง ทารกจะยกลิ้นขึ้นเพื่อให้เกิดการกลืนน้ำนม น้ำนมจะไหลลงคอหอยและหลอดอาหาร ลิ้นของทารกจะลดต่ำลงอีกครั้ง แรงดูดในช่องปากทารกจะเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการไหลของน้ำนมจากเต้านมในรอบถัดไป การดูดนมของทารกจะเป็นรอบจังหวะการดูด โดยจังหวะจะเป็นรอบช้าและมีหยุดพักสั้นๆ บางช่วง การเข้าใจกลไกการดูดนมของทารกจะช่วยให้มารดาสามารถสังเกตการดูดนมที่มีประสิทธิภาพของทารกได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

โครงสร้างของเต้านม พัฒนาการสำหรับการให้นมทารก ตอนที่ 3

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? หลังคลอด การหลั่งน้ำนมมักเกิดขึ้นภายใน 40 ชั่วโมง ซึ่งหากเกิดขึ้นหลัง 72 ชั่วโมงจะเรียกว่าเกิด ภาวะน้ำนมมาช้า โดยปัจจัยที่มีผลต่อน้ำนมมาช้า ได้แก่ มารดาท้องแรก มารดาอายุมากกว่า 30 ปี มารดาที่มีทารกน้ำหนักมากกว่า 3600 กรัม มารดามีน้ำหนักเกินหรือมีโรคอ้วน มารดาที่มีภาวะเบาหวาน และมารดาที่ขาดการให้ทารกดูดนมอย่างมีประสิทธิภาพใน 24 ชั่วโมง เมื่อน้ำนมเริ่มมาแล้ว กลไกการควบคุมการสร้างน้ำนมจะขึ้นอยู่กับการกินนมให้เกลี้ยงเต้า และหลังจากเมื่อถึงระยะของการหยุดให้นม การเปลี่ยนแปลงจะค่อยๆ กลับเข้าสู่ระยะก่อนการตั้งครรภ์

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.