คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

Breastfeeding case study 17

BF case study 17-1

BF case study 17-2

BF case study 17-3

ภาวะสับสนหัวนม


“ทารกสับสนหัวนม” (nipple confusion)เนื่องจากกลไกการดูดนมจากจุกนมของขวดนมแตกต่างจากการดูดนมจากเต้า ทารกจึงปฏิเสธการดูดนมจากเต้า การดูแลให้ทารกกลับมากินนมแม่ใหม่ต้องมีการฝึกฝนภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ชนิดของยาฝังคุมกำเนิดไม่มีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

              ในมารดาที่ต้องการคุมกำเนิดระยะยาวและเลือกที่จะคุมกำเนิดด้วยยาฝังคุมกำเนิด การที่ใช้ยาฝังคุมกำเนิด มารดาอาจมีความวิตกกังวลการใช้ยาฝังคุมกำเนิดจะมีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ มีการศึกษาการใช้ยาฝังคุมกำเนิดใส่ตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด แล้วมีการติดตามดูการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสองปีพบว่า มารดาที่ใส่ยาฝังคุมกำเนิดมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวสูงทั้งชนิดที่เป็นยาฝังคุมกำเนิด 2 แท่งที่มีฮอร์โมน levonorgestrel และยาฝังคุมกำเนิดชนิดแท่งเดียวที่มีฮอร์โมน etonogestrel1 จากผลการศึกษานี้ น่าจะช่วยสร้างความมั่นใจและลดความวิตกกังวลในการใช้ยาฝังคุมกำเนิดในมารดาที่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยการใช้ยาฝังคุมกำเนิดสามารถจะให้ได้ตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดก่อนมารดาออกจากโรงพยาบาล

เอกสารอ้างอิง

  1. Krashin JW, Lemani C, Nkambule J, et al. A Comparison of Breastfeeding Exclusivity and Duration Rates Between Immediate Postpartum Levonorgestrel Versus Etonogestrel Implant Users: A Prospective Cohort Study. Breastfeed Med 2019;14:69-76.

 

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเดือนแรก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การจัดพี่เลี้ยงที่คอยให้คำปรึกษาหรือดูแลสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยให้ผลลัพธ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาพบว่าในการดูแลในกลุ่มมารดาที่มีพี่เลี้ยงที่ให้คำปรึกษา ยังมีอุปสรรคหรือปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเดือนแรก ได้แก่ การที่มารดาให้ลูกกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารกก่อนการได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน ปัญหาเรื่องเต้านมหรือหัวนมหลังการอนุญาตให้มารดากลับบ้าน และการให้ทารกดูกหัวนมหลอก1 ซึ่งการเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ แนะนำมารดา และทำการให้คำปรึกษาอย่างเหมาะสม จะช่วยคงผลลัพธ์ที่ดีของการเลี้ยงลุกด้วยนมแม่ที่เกิดผลจากการดูแลโดยมีพี่เลี้ยงที่ให้การสนับสนุนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Gasparin VA, Strada JKR, Moraes BA, Betti T, Goncalves AC, Santo L. Pairs seen by lactation consultants and cessation of exclusive breastfeeding in the first month. Rev Esc Enferm USP 2019;53:e03422.

 

ทารกที่คลอดเกือบครบกำหนดสามารถให้นมแม่ได้ตามปกติ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                การคลอดก่อนกำหนดเป็นผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปัญหาน่าจะเกิดจาก ส่วนหนึ่งคือเนื่องจากความไม่พร้อมของทารกโดยอาจยังไม่มีพัฒนาการในการดูดและกลืนนมที่สมบูรณ์ และ อีกส่วนหนึ่งเกิดจากทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีภาวะแทรกซ้อนที่พบได้หลายอย่าง ได้แก่ การหายใจเร็ว หอบ ถ่ายเป็นมูกเลือด มีเลือดออกในสมอง และมีการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ทำให้มารดาที่คลอดทารกก่อนกำหนดมีอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนระยะเวลาอันควร หรือมีระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สั้นกว่ามารดาที่คลอดลูกครบกำหนด มีการศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดเล็กน้อยหรือจะเรียกว่า คลอดเกือบครบกำหนด พบว่า หากทารกไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด โอกาสของการให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเดียวหรือระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ได้แตกต่างจากมารดาที่คลอดลูกครบกำหนด1 นี่แสดงถึงว่า หากทารกคลอดเกือบครบกำหนดแล้ว น่าจะปราศจากอุปสรรคหรือปัญหาทางด้านการพัฒนาการในการดูดกลืนของทารก การป้องกันหรือลดภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังคลอด จะช่วยให้ทารกมีโอกาสที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหรือมีระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ไม่แตกต่างจากมารดาที่คลอดลูกครบกำหนดได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Fan HSL, Wong JYH, Fong DYT, Lok KYW, Tarrant M. Breastfeeding outcomes among early-term and full-term infants. Midwifery 2019;71:71-6.