คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่มีผลให้น้ำนมลดลง

IMG_0715

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?มีความเชื่อหลายอย่างที่เกี่ยวกับการทำให้น้ำนมลดลง ซึ่งมีคำอธิบายที่ถูกต้องเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่มารดาและครอบครัว ได้แก่

? ? ? ? ? -การดื่มน้ำมากๆ โดยทั่วไป แนะนำให้มารดาดื่มน้ำเมื่อมารดารู้สึกกระหาย สำหรับการดื่มน้ำมากไม่ได้ทำให้น้ำนมลดลง แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้มีน้ำนมมากขึ้น

? ? ? ? ? -มารดาที่ต้องออกแรงในการทำงานหรือทำงานหนัก ไม่ได้มีผลทำให้น้ำนมลดลง

? ? ? ? ? -มารดาที่อ่อนเพลีย ไม่ได้มีผลทำให้น้ำนมมารดาลดลง หากมารดาไม่มีโรคประจำตัว ได้แก่ ภาวะไทรอยด์สูงหรือต่ำ หรือได้รับยาที่มีผลทำให้น้ำนมลดลง ได้แก่ pseudoephedrine สเตียรอยด์ หรือยาคุมกำเนิด

? ? ? ? ? -มารดาที่เครียดมีผลต่อปริมาณน้ำนม แต่มารดาที่ให้นมแม่มีความเครียดน้อยกว่ามารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม

? ? ? ? ? -การรับประทานอาหารของมารดา โดยปกติ หากมารดาไม่ได้ขาดอาหารเกินร้อยละ 30 จะไม่มีผลต่อปริมาณน้ำนม

? ? ? ? ? ? ดังนั้น เมื่อมารดามีความเข้าใจที่ถูกต้อง นระหว่างการให้นมลูกมารดายังสามารถทำงานที่ออกแรงได้ การเหนื่อยอ่อนเพลียก็เป็นปกติธรรมดาของการทำงาน หากมารดารับประทานอาหารได้หลากหลายและครบถ้วน ก็ไม่ต้องวิตกกังวลเรื่องผลที่จะทำให้น้ำนมลดลง ยังสามารถทำงานต่อเนื่องได้ และการทำงานก็ไม่ได้เป็นข้อห้ามในขณะให้นมลูก

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

นมแม่ไม่เพียงพอเป็นจากอะไร (ตอนที่2)

S__38207902

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? สาเหตุอีกสาเหตุหนึ่งของน้ำนมไม่เพียงพอที่พบบ่อยกว่า คือ มารดาคิดไปเองว่าน้ำนมไม่เพียงพอ อาจเป็นจากในช่วงแรก มารดาจะมีเพียงแค่หัวน้ำนมหรือน้ำนมเหลือง (colostrums) ที่มีปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่จะมีประโยชน์สูงมากเนื่องจากอุดมไปด้วยภูมิคุ้มกันที่ส่งผ่านจากมารดาสู่ทารก และปริมาณน้ำนมที่น้อยจะช่วยในการฝึกการกระตุ้นดูดนมของทารกโดยจะเตรียมทารกให้พร้อมสำหรับการดูดนมเมื่อน้ำนมของมารดามากขึ้น ร่วมกับขนาดของกระเพาะอาหารในระยะแรกเกิดใหม่ๆ จะมีขนาดเพียงลูกปิงปอง ซึ่งเหมาะสมกับปริมาณน้ำนมในระยะแรก เมื่อทารกปรับตัวได้ดีขึ้น ความต้องการปริมาณนมจะสูงขึ้นโดยสอดคล้องกับปริมาณน้ำนมที่สร้างเพิ่มขึ้น การประเมินความเพียงพอของน้ำนมใช้การเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของทารกเทียบกับกราฟการเจริญเติบโตที่ใช้ข้อมูลของทารกที่กินนมแม่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งการชี้ให้มารดาเห็นว่าทารกมีการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมเทียบกับกราฟ จะทำให้มารดาเข้าใจและช่วยลดความเชื่อว่าน้ำนมไม่เพียงพอได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

นมแม่ไม่เพียงพอเป็นจากอะไร (ตอนที่1)

S__38207887

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? โดยทั่วไป นมแม่จะเพียงพอสำหรับทารก แต่จะมีมารดาบางคนรู้สึกว่านมแม่ไม่เพียงพอ ซึ่งจะมีทั้งไม่เพียงพอจริงๆ และรู้สึกไปเองว่าน้ำนมไม่เพียงพอ

? ? ? ? ? ? ในกรณีที่มารดามีน้ำนมไม่เพียงพอจริง ส่วนใหญ่ เกิดจากการกระตุ้นให้นมลูกที่ไม่เหมาะสม การกระตุ้นในการให้นมแต่ละครั้งสั้นและมีระยะห่างจนเกินไป ในช่วยเหลือโดยการบีบน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนมจะช่วยได้ โดยแต่ละครั้งควรบีบน้ำนมหรือปั๊มนมทั้งสองเต้า ระยะเวลาในการบีบหรือปั๊มนมในแต่ละครั้งควรนานอย่างน้อย 10 นาที และความถี่ของการบีบน้ำนมหรือปั๊มนมร่วมกับการให้ทารกดูดนมกระตุ้นควรจะบ่อย 8-12 ครั้งต่อวัน อย่างไรก็ตาม มีภาวะแทรกซ้อนหรือโรคประจำตัวของมารดาทารกบางอย่างที่จะมีผลต่อปริมาณน้ำนมได้ ได้แก่ มารดาที่มีเศษหรือชิ้นส่วนของรกค้างอยู่ในมดลูกหลังคลอด มารดาที่ตกเลือดหลังคลอดและเกิดกลุ่มอาการชีแฮนด์ (Sheehan?s syndrome) มารดาที่มีภาวะไทรอยด์สูงหรือต่ำ มารดาที่เคยมีการบาดเจ็บหรือผ่าตัดที่เต้านม มารดาที่มีภาวะผิดปกติของการเจริญของเต้านมที่พบตั้งแต่กำเนิด มารดาที่ได้รับยา pseudoephedrine, สเตียรอยด์, ยาคุมกำเนิด หรือ วิตามินบีหกในปริมาณที่สูง

? ? ? ? ? ? การแก้ไขน้ำนมไม่เพียงพอจริง จำเป็นต้องหาสาเหตุ และแก้ไขสาเหตุที่สามารถแก้ไขได้ ร่วมกับการพยายามกระตุ้นการสร้างน้ำนมโดยการช่วยบีบน้ำนมหรือปั๊มนมบ่อยๆ และให้เกลี้ยงเต้า ซึ่งเป็นกลไกช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมพื้นฐาน จากนั้น ประเมินการเจริญเติบโตของทารกเทียบกับกราฟการเจริญเติบโตของทารกที่กินนมแม่ก็จะทำให้ทราบว่า ทารกได้อาหารเพียงพอตามเกณฑ์กำหนดหรือไม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

น้ำหนักทารกที่กินนมแม่จะขึ้นอย่างไร

IMG_0717

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? โดยทั่วไป ทารกหลังคลอดใหม่จะมีน้ำหนักลดได้ แต่น้ำหนักที่ลดไม่ควรเกินร้อยละ 7 และหลังคลอดวันที่ 5 น้ำหนักของทารกจะเริ่มขึ้น ซึ่งจะมีน้ำหนักขึ้น ? ถึง 1 ออนซ์ต่อวันในช่วงเดือนแรก เมื่อเทียบน้ำหนักทารกที่กินนมแม่กับกราฟการเจริญเติบโตของทารก จะพบว่าทารกที่กินนมแม่จะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในเดือนแรก หลังจากนั้น การเพิ่มขึ้นของการเจริญเติบโตจะลดลง และหลังหกเดือนหลังคลอดน้ำหนักทารกที่กินนมแม่จะเจริญเติบโตช้ากว่าทารกที่กินนมผสม ดังนั้น การเปรียบเทียบน้ำหนักทารกที่กินนมแม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบกับกราฟการเจริญเติบโตของทารกที่กินนมแม่ขององค์การอนามัยโลก เนื่องจากหากเปรียบเทียบกับกราฟการเจริญเติบโตที่ได้จากข้อมูลของทารกที่กินนมแม่ร่วมกับทารกที่กินนมผสม น้ำหนักทารกจะไม่เป็นไปตามกราฟการเจริญเติบโต ซึ่งจะทำให้มารดาวิตกกังวลได้ อย่างไรก็ตาม หลังทารกอายุ 6 เดือนไปแล้ว ควรเริ่มอาหารเสริมตามวัยให้มีความหลากหลายและพอเพียงโดยร่วมกับการให้นมแม่ต่อเนื่องไปได้จนครบสองปีหรือนานกว่านั้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

เมื่อไรมารดาจึงจะให้นมทารก

IMG_0721

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?มารดาที่คลอดบุตรใหม่ๆ อาจจะสงสัยว่าในวันหนึ่งๆ จะต้องให้นมลูกบ่อยแค่ไหน ซึ่งในมารดาและทารกแต่ละคู่จะมีความถี่ในจำนวนครั้งของการให้นมที่แตกต่างกัน เนื่องจากการให้นมบุตร แนะนำให้ให้ตามความต้องการของบุตร ดังนั้น การให้มารดาได้อยู่กับทารกตลอด 24 ชั่วโมงหลังคลอดจะช่วยให้มารดาได้สังเกตความต้องการของทารกจากอาการของบุตรที่มีลักษณะที่แตกต่างกันมากน้อยไม่เท่ากันในแต่ละคน นอกจากนี้ ยังขึ้นกับเต้านมของมารดาที่มีความสามารถในการเก็บสะสมน้ำนมได้มากน้อยแค่ไหน และทารกแต่ละคนดูดนมได้เก่งมากน้อยแค่ไหน ทารกบางคนดูดนมได้เร็ว ทารกบางครั้งดูดนมได้ช้า ซึ่งนมแม่สามารถให้ได้บ่อยๆ อยู่แล้ว จากการทางเดินอาหารทารกสามารถย่อยนมแม่ได้ง่ายกว่านมผสม อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป วันหนึ่งมารดามักให้นมทารกราว 8-12 ครั้ง

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.