คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

การเจ็บเต้านมจากฝีที่เต้านม

S__38199479

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? การอักเสบบวมแดงจากฝีที่เต้านม ส่วนใหญ่มักมีอาการของเต้านมอักเสบนำมาก่อน โดยจะมีอาการเจ็บเต้านม เต้านมบวมแดง คลำได้เป็นก้อนหยุ่นของหนองในเต้านม อาการของฝีที่เต้านม อาจพบหลังจากมารดาเป็นเต้านมอักเสบหลังได้รับการรักษาแล้วราว 4-5 วัน สาเหตุของการเกิดฝีที่เต้านมเกิดการจัดท่าให้นมลูกไม่เหมาะสม การมีหัวนมแตก การมีท่อน้ำนมอุดตัน การใส่เสื้อในหรือยกทรงที่แน่นจนเกินไป ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงเดียวกันกับการเกิดเต้านมอักเสบ แต่อาการมักจะรุนแรงมากกว่า มารดาจะมีไข้ ผิวเหนือบริเวณของฝีที่เต้านม อาจเป็นสีม่วงคล้ำ การรักษาเต้านมอักเสบที่ไม่เหมาะสมก็อาจเป็นอาการนำของฝีที่เต้านมได้

??????????????? การช่วยเหลือสำหรับปัญหานี้ ยังคงเริ่มต้นด้วยจัดท่าให้นมที่เหมาะสม และหากฝีของเต้านมไม่อยู่ใกล้หัวนมหรือลานนม การให้นมทารกยังสามารถให้นมต่อเนื่องได้ เนื่องจากหากฝีอยู่ใกล้หัวนมหรือเต้านม เมื่อมีการรักษาจำเป็นต้องระบายหนองออก ซึ่งจะทำให้เกิดแผล การดูดนมอาจรบกวนบริเวณแผล สำหรับการระบายหนองออก นิยมทำโดยการเจาะดูดออกด้วยเข็มฉีดยาเบอร์ใหญ่ หรืออาจใช้อัลตร้าซาวด์นำเพื่อการเจาะดูดแล้วใส่สายยางระบายหนองออก การผ่าตัดเพื่อการระบายหนองออกมักหลีกเลี่ยงเนื่องจากมีโอกาสที่จะตัดท่อน้ำนมได้ แต่หากจำเป็นควรผ่าตัดในแนวรัศมีของเต้านมเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดท่อน้ำนม

??????????????? หากไม่สามารถให้นมในข้างที่เป็นฝีที่เต้านมได้ ควรระบายน้ำนมโดยการบีบน้ำนมด้วยมือ สำหรับเต้านมอีกข้างควรให้นมตามปกติ โดยสามารถให้นมได้แม้ในระหว่างการรักษา นอกจากนี้ มารดาควรใส่ชุดหลวมๆ สบาย ไม่คับแน่น การให้ยาปฏิชีวนะจำเป็นต้องใช้ยาที่ครอบคลุมเชื้อที่ทำให้เกิดฝีที่เต้านม ได้แก่ cloxacillin หรือ dicloxacillin โดยให้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานราว 2-3 สัปดาห์หรือจนกว่าฝีที่เต้านมจะหาย ซึ่งหลังจากการรักษาแล้ว การเอาใจใส่จนมารดากลับมาให้นมได้ตามปกติและอย่างเหมาะสมมีความจำเป็น เนื่องจากส่วนหนึ่งของมารดา อาจมีความวิตกกังวลหลายอย่างจนมีโอกาสที่จะหยุดให้นมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

โภชนาการของมารดาในระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

00025-1-1-l-small

? ? ? ? ? ?รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ปัจจุบันแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนหลังคลอด การดูแลเรื่องอาหารของมารดาในช่วงเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและควรให้ความสำคัญ เนื่องจากจะทำให้นมแม่แม้มีสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วนเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก แต่หากมารดามีการขาดสารอาหารจะส่งผลต่อสารอาหารในน้ำนม จะส่งผลต่อสุขภาพทารก รวมทั้งพัฒนาการทางด้านร่างกายและสมอง

? ? ? ? ? ?โดยทั่วไป ความต้องการอาหารเพื่อสร้างพลังงานของมารดาสำหรับมารดาที่ให้นมบุตรเพิ่มขึ้นราว 500 กิโลแคลอรี แต่หากมารดาได้รับอาหารน้อยกว่าร้อยละ 30 จะทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงได้ ?????????

? ? ? ? ? ?วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ในนมแม่ บางชนิดจะมีปริมาณขึ้นอยู่กับอาหารของมารดาได้แก่ วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง วิตามินบีสาม วิตามินบีหก วิตามินบีสิบสอง วิตามินซี วิตามินดี กรดไขมัน และไอโอดีน ส่วนวิตามินอี โฟเลต และแร่ธาตุอื่นๆ ไม่ขึ้นอยู่กับอาหารของมารดาที่รับประทาน เนื่องจากมีปริมาณสารอาหารบางชนิดขึ้นอยู่กับอาหาร ดังนั้น มารดาจึงต้องรับประทานอาหารที่ครบส่วนและมีความหลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารอย่างครบถ้วน

? ? ? ? ? ?ในประเทศไทย มักให้ความสำคัญกับการเสริมอาหารให้กับมารดาในช่วงตั้งครรภ์ แต่ในความเป็นจริง ความต้องการสารอาหารในมารดาที่ให้นมบุตรมีมากกว่าระหว่างช่วงตั้งครรภ์และยังต้องใส่ใจกับการกินอาหารให้ครบห้าหมู่ตลอดการให้นมบุตร เช่นเดียวกันกับการเสริมสารอาหารที่มักมีการขาดในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง โดยกรมอนามัยแนะนำให้มีการเสริมธาตุเหล็ก ไอโอดีน และโฟเลต ให้แก่สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร ซึ่งในส่วนนี้? มารดาควรได้รับการเสริมสารอาหารเหล่านี้ตลอดการให้นมบุตรอย่างน้อยหกเดือน ถึงสองปีหรือนานกว่านั้น หากมารดายังคงให้บุตรกินนมแม่อยู่ สำหรับสารอาหารอื่นๆ เช่น วิตามินดี และดีเอชเอ มีบางประเทศแนะนำให้เสริมให้กับมารดาระหว่างการให้นมบุตร แต่ยังขาดข้อมูลการศึกษาถึงความจำเป็นในประเทศไทย จึงต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป

? ? ? ? ? ? การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้มารดา ครอบครัว และสังคม ตระหนักถึงความสำคัญนี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้มารดาได้สร้างน้ำนมที่มีคุณภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ทารกมีภูมิคุ้มกันโรคแล้ว ยังช่วยในการเจริญเติบโตสมวัย มีพัฒนาการทางร่างกายที่ดี มีความเฉลียวฉลาด และเป็นกำลังที่สำคัญของประเทศชาติในอนาคตด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Illingworth PJ, Jung RT, Howie PW, Leslie P, Isles TE. Diminution in energy expenditure during lactation. Br Med J (Clin Res Ed) 1986;292:437-41.
  2. English RM, Hitchcock NE. Nutrient intakes during pregnancy, lactation and after the cessation of lactation in a group of Australian women. Br J Nutr 1968;22:615-24.
  3. Smith CA. Effects of maternal under nutrition upon the newborn infant in Holland (1944-1945). J Pediatr 1947;30:229-43.
  4. Butte NF, Garza C, Stuff JE, Smith EO, Nichols BL. Effect of maternal diet and body composition on lactational performance. Am J Clin Nutr 1984;39:296-306.
  5. Greer FR, Marshall S, Cherry J, Suttie JW. Vitamin K status of lactating mothers, human milk, and breast-feeding infants. Pediatrics 1991;88:751-6.
  6. Greer FR, Marshall S. Bone mineral content, serum vitamin D metabolite concentrations, and ultraviolet B light exposure in infants fed human milk with and without vitamin D2 supplements. J Pediatr 1989;114:204-12.
  7. Pietschnig B, Haschke F, Vanura H, et al. Vitamin K in breast milk: no influence of maternal dietary intake. Eur J Clin Nutr 1993;47:209-15.
  8. Greer FR, Mummah-Schendel LL, Marshall S, Suttie JW. Vitamin K1 (phylloquinone) and vitamin K2 (menaquinone) status in newborns during the first week of life. Pediatrics 1988;81:137-40.
  9. Ross AC, Manson JE, Abrams SA, et al. The 2011 report on dietary reference intakes for calcium and vitamin D from the Institute of Medicine: what clinicians need to know. J Clin Endocrinol Metab 2011;96:53-8.
  10. Carlson SE. Docosahexaenoic acid supplementation in pregnancy and lactation. Am J Clin Nutr 2009;89:678S-84S.
  11. Koletzko B, Cetin I, Brenna JT. Dietary fat intakes for pregnant and lactating women. Br J Nutr 2007;98:873-7.

 

การเจ็บเต้านมจากการอักเสบบวมแดง

S__38199478

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเจ็บเต้านมจากการอักเสบบวมแดงในระยะหลังคลอด เป็นอาการของเต้านมอักเสบ สาเหตุเบื้องต้นอาจเกิดการจัดท่าให้นมลูกไม่เหมาะสม การมีหัวนมแตก การมีท่อน้ำนมอุดตัน การใส่เสื้อในหรือยกทรงที่แน่นจนเกินไป ซึ่งหากได้รับการดูแลที่ไม่เหมาะสมจะเกิดอาการของเต้านมอักเสบ และอาจลุกลามต่อไปเป็นฝีที่เต้านม อาการของเต้านมอักเสบจะสังเกตเห็นว่าเต้านมมีอาการบวมแดง เจ็บ และมารดามีไข้ ?

??????????????? การช่วยเหลือสำหรับปัญหานี้ เริ่มต้นด้วยจัดท่าให้นมที่เหมาะสม เนื่องจากสาเหตุส่วนหนึ่งอาจเกิดจากท่าให้นมที่ไม่เหมาะสมและทารกดูดนมอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดหัวนมแตก หรือมีท่อน้ำนมอุดตัน ร่วมกับให้มารดาใส่ชุดหลวมๆ สบาย ไม่คับแน่น การอับเสบของเต้านมอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยได้ ซึ่งข้อบ่งชี้ในการให้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่

??????????????? -มารดามีไข้นาน หรืออาการไม่ดีขึ้นใน 24 ชั่วโมง

??????????????? -มารดามีหัวนมแตกร่วมด้วย

??????????????? -มารดามีอาการทรุดลงเร็ว

??????????????? ส่วนใหญ่ เมื่อได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาการเต้านมอักเสบจะดีขึ้นและหายใน 5-7 วัน โดยในระหว่างนี้ มารดายังสามารถให้นมลูกอย่างต่อเนื่องได้ หากมารดายังมีอาการมากอยู่และคลำได้เป็นก้อนหยุ่นในลักษณะที่มีน้ำขังอยู่ภายใน มารดาอาจมีภาวะแทรกซ้อนของฝีของเต้านม ซึ่งต้องการการดูแลรักษาที่มากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

 

การเจ็บเต้านมและคลำพบก้อนจากท่อน้ำนมอุดตัน

IMG_0761 small

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเจ็บเต้านมและคลำได้ก้อนที่เต้านมจากท่อน้ำนมอุดตัน ภาษาอังกฤษ เรียกว่า plugged duct หรือ clogged duct หรือ cake breast มารดาจะคลำพบก้อนที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของเต้านม ลักษณะก้อนจะแข็งตึง ขอบเขตไม่ชัดเจน เจ็บตรงบริเวณก้อน โดยไม่มีไข้ ท่อน้ำนมที่เกิดการอุดตันนี้จะทำให้ก้อนจากการขังของน้ำนมในท่อน้ำนมที่ไม่สามารถจะระบายออกได้ ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลหรือปฏิบัติอย่างเหมาะสม อาจมีไข้ ซึ่งจะนำไปสู่การวินิจฉัยเต้านมอักเสบหรือฝีที่เต้านมได้

??????????????? การให้การดูแลและแนะนำในปัญหานี้ ควรเริ่มต้นด้วยการให้ลูกดูดนมข้างที่มีท่อน้ำนมอุดตันก่อน และควรเลือกท่าให้นมลูกที่วางตำแหน่งคางของทารกตรงกับตำแหน่งของก้อน เพื่อให้ทารกได้ดูดในท่อน้ำนมที่มีการอุดตันได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้น้ำนมที่อุดตันอยู่หลุดออก โดยอาจช่วยนวดคลึงเบาๆ บริเวณก้อนร่วมด้วย ซึ่งโดยทั่วไป ก้อนจากท่อน้ำนมอุดตัน เมื่อให้ทารกได้ดูดนมได้ดีในท่อน้ำนมท่ออุดตัน ก้อนมักจะหายไปใน 24-48 ชั่วโมง แต่หากอาการก้อนไม่หายไป มีอาการบวมแดงเพิ่มขึ้น มีไข้ ลักษณะสื่อถึง อาการของเต้านมอักเสบ ซึ่งมารดาควรต้องปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาจจำเป็นมีการให้ยาปฏิชีวนะร่วมในการรักษาด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

การเจ็บเต้านมและคลำพบก้อน

inverted nipple6

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเจ็บเต้านมและคลำได้ก้อนที่เต้านมในระหว่างการให้นมบุตรหรือหลังคลอด หากอาการหรือก้อนที่ตรวจพบเพิ่งจะตรวจเจอ ส่วนใหญ่ปัญหาน่าจะมาการปัญหาของการให้นมลูก ซึ่งเกิดจากการขังของน้ำนมจากท่อน้ำนมอุดตัน การมีเต้านมอักเสบ รวมถึงการเป็นฝีที่เต้านม อย่างไรก็ตาม สาเหตุอื่นๆ ที่สามารถพบในสตรีทั่วไป ได้แก่ การเป็นถุงน้ำ ก้อนเนื้อ หรือมะเร็งที่เต้านมก็อาจเป็นได้ แต่พบน้อยกว่า ซึ่งลักษณะที่ตรวจพบของก้อนจากสาเหตุต่างๆ จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนั้น ไม่ว่าในระหว่างการตั้งครรภ์หรือหลังคลอด มารดาควรตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยแนะนำการตรวจระหว่างการอาบน้ำ การคลำตรวจเต้านมอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้มารดาสามารถตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งหากสาเหตุของก้อนได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม จะลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และช่วยให้มารดาสามารถให้นมลูกอย่างมีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.