คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

การตรวจร่างกายมารดา ในมารดาที่เจ็บหัวนมขณะให้นมลูก

img_2127

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? หลังจากการซักประวัติมารดา ประวัติทารก ประวัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และประวัติการเจ็บหัวนมแล้ว บุคลากรทางการแพทย์ควรตรวจร่างกายของมารดาและทารก เพื่อจะทำให้ได้ข้อมูลมาสนับสนุนและช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค รายละเอียดของการตรวจร่างกายมีดังนี้

??????????????? การตรวจร่างกายมารดา

  • การตรวจร่างกายทั่วไป
  • การตรวจประเมินหัวนม โดยตรวจสีของหัวนม ผื่น ความไวต่อความเย็น แสงและการสัมผัส รอยถลอก รอยแตก น้ำเหลืองหรือหนองที่ไหลออกมา และความสมบูรณ์ของผิวหนังที่หัวนม
  • การตรวจเต้านม โดยตรวจดูการกดเจ็บ ก้อนที่เต้านม และตรวจเต้านมโดยการกดตื้นและกดลึก
  • บีบน้ำนมด้วยมือ เพื่อประเมินการเจ็บเต้านม หัวนม และลักษณะของน้ำนม
  • ประเมินอารมณ์มารดา รวมทั้งหากสงสัยภาวะซึมเศร้า ควรตรวจเพิ่มเติมโดยใช้แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า (Edinburgh Postnatal Depression Scale)

? ? ? ? ? ? ? ?จะเห็นว่า นอกจากการตรวจทางด้านร่างกายของมารดาแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับการใส่ใจสภาพจิตใจและอารมณ์ของมารดาด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

การซักประวัติทารก เมื่อพบการเจ็บหัวนมของมารดาขณะให้นมบุตร

img_1055

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เมื่อมารดามีอาการเจ็บหัวนม การซักประวัติทารก ควรมีรายละเอียดของการซักประวัติ ดังนี้1

  • การบาดเจ็บจากการคลอดหรือความผิดปกติจากการตรวจร่างกาย
  • อายุปัจจุบันของทารกและอายุครรภ์ขณะคลอด
  • น้ำหนักขณะคลอด การเพิ่มขึ้นของน้ำหนัก และสุขภาพโดยทั่วไป
  • พฤติกรรมของทารกที่แสดงออกขณะอยู่ที่เต้านม ได้แก่ ดึง ดิ้น หรือกัดหัวนม หายใจถี่ หรือง่วงหลับมากเกินไป
  • กระสับกระส่าย
  • อาการทางด้านกระเพาะและลำไส้ ได้แก่ อาการแหวะนม อาการถ่ายมีมูกหรือมีเลือด
  • โรคประจำตัว
  • ประวัติการวินิจฉัยภาวะลิ้นติด และประวัติการผ่าตัดรักษา
  • ประวัติการใช้ยา

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

การซักประวัติมารดา เมื่อพบการเจ็บหัวนมของมารดาขณะให้นมบุตร

img_1104

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เมื่อมารดามีอาการเจ็บหัวนม การซักประวัติมารดา ควรมีรายละเอียดของการซักประวัติ ดังนี้1

  • ประวัติภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอด
  • โรคประจำตัวอื่นๆ รวมทั้งประวัติอาการไวต่ออากาศเย็น อาการผิวหนังอักเสบ การติดเชื้อรา หรือประวัติภาวะลิ้นติดในครอบครัว
  • ประวัติการผ่าตัดเต้านมและเหตุผลในการผ่าตัด
  • ประวัติการใช้ยา
  • ประวัติภูมิแพ้
  • ประวัติอาการซึมเศร้า หรือภาวะวิตกกังวล
  • ประวัติการเป็นงูสวัดหรือเริมที่หัวนมหรือบริเวณเต้านม
  • ประวัติการเคยมีการติดเชื้อที่เต้านม

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

การซักประวัติการอาการเจ็บหัวนม เมื่อพบการเจ็บหัวนมของมารดาขณะให้นมบุตร

img_1097

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เมื่อมารดามีอาการเจ็บหัวนม การซักประวัติอาการเจ็บหัวนม ซึ่งสาเหตุของการเจ็บหัวนมแต่ละอย่างมีความจำเพาะของลักษณะของอาการเจ็บ รายละเอียดของการซักประวัติ ควรมีดังนี้1

  • ระยะเวลาที่เริ่มของอาการเจ็บหัวนมในระยะหลังคลอด
  • มีการบาดเจ็บหัวนม ได้แก่ หัวนมถลอก หัวนมแตก หรือมีเลือดออกจากหัวนมหรือไม่
  • ช่วงเวลาของอาการเจ็บหัวนมมีในขณะเข้าเต้า ขณะให้นมลูก หรือมีในระหว่างช่วงการให้นมลูกเสร็จแล้ว รวมทั้งอาการมีขณะบีบน้ำนมหรือปั๊มนมหรือไม่
  • ตำแหน่งของอาการปวด เจ็บที่หัวนม เต้านม อาการเจ็บมีบริเวณผิวหรือเจ็บบริเวณลึกๆ
  • ระยะเวลาของการเจ็บหัวนมเป็นนานแค่ไหน อาการเจ็บหัวนมเป็นต่อเนื่องหรือเป็นพักๆ
  • ลักษณะของการเจ็บหัวนมเป็นแบบแสบร้อน คัน เจ็บจี๊ด เจ็บตื้อๆ หรือมีปวดร้าวไปที่ใด
  • อาการหรืออาการแสดงร่วม ได้แก่ ผิวหนังบริเวณที่เจ็บเปลี่ยนแปลงอย่างไร สีของหัวนมเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ลักษณะของหัวนมหลังการให้นมเป็นอย่างไร มีไข้ร่วมด้วยหรือไม่
  • สิ่งใดเป็นปัจจัยส่งเสริมหรือบรรเทาอาการเจ็บปวด ได้แก่ ความเย็น ความร้อน การสัมผัสอย่างนุ่มนวล หรือการออกแรงกดบริเวณหัวนม
  • การรักษาที่ได้รับมาก่อน ได้แก่ ยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ ยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อรา สมุนไพร สารหล่อลื่น หรือยาอื่นๆ

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

 

 

การซักประวัติการให้นมลูก เมื่อพบการเจ็บหัวนมของมารดาขณะให้นมบุตร

img_1067

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เมื่อมารดามีอาการเจ็บหัวนม การซักประวัติการให้นมลูก ควรมีรายละเอียดของการซักประวัติ ดังนี้1

  • ประวัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในครรภ์ก่อน ปัญหา และอาการเจ็บหัวนม เพราะสาเหตุที่พบในครรภ์ก่อน อาจจะเป็นสาเหตุเดียวกันกับสาเหตุที่พบในปัจจุบัน
  • ประวัติความไวต่อความรู้สึกหรือความเจ็บปวดของหัวนมและเต้านมก่อนการตั้งครรภ์ ประวัตินี้จะช่วยในการวินิจฉัยอาการเจ็บหัวนมจากการขาดเลือด (Raynaud phenomenon) ได้
  • ประวัติการตึงคัดเต้านม ปริมาณน้ำนมมากหรือน้อย บางครั้งสาเหตุของการเจ็บหัวนมอาจเกิดจากการตึงคัดเต้านม หรือการที่น้ำนมมีมากและไหลเร็ว หรือน้ำนมมีน้อยแล้วทารกหงุดหงิด ออกแรงขบกัดหัวนมมารดา ทำให้มารดาเจ็บหัวนม
  • ลักษณะของการให้นมลูก ได้แก่ ความถี่ ระยะเวลาการให้นมในแต่ละครั้ง รวมถึงการบีบน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มนม สิ่งนี้จะช่วยบอกถึงลักษณะของการเจ็บหัวนมว่า ?เป็นในขณะให้นมและเป็นขณะบีบน้ำนมหรือปั๊มนมด้วยหรือไม่ และการให้นมมีปริมาณที่เหมาะสมหรือให้มากหรือน้อยเกินไป
  • ทัศนคติของมารดาต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และความตั้งใจรวมทั้งเป้าหมายของระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะแสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของมารดาที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งในมารดาที่มีทัศนคติที่ดี มีความคาดหวังตั้งใจที่จะให้ลูกกินนมแม่ หากเกิดอาการเจ็บหัวนมและไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้อาจสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าในมารดาได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.