การตรวจร่างกายมารดา ในมารดาที่เจ็บหัวนมขณะให้นมลูก

img_2127

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? หลังจากการซักประวัติมารดา ประวัติทารก ประวัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และประวัติการเจ็บหัวนมแล้ว บุคลากรทางการแพทย์ควรตรวจร่างกายของมารดาและทารก เพื่อจะทำให้ได้ข้อมูลมาสนับสนุนและช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค รายละเอียดของการตรวจร่างกายมีดังนี้

??????????????? การตรวจร่างกายมารดา

  • การตรวจร่างกายทั่วไป
  • การตรวจประเมินหัวนม โดยตรวจสีของหัวนม ผื่น ความไวต่อความเย็น แสงและการสัมผัส รอยถลอก รอยแตก น้ำเหลืองหรือหนองที่ไหลออกมา และความสมบูรณ์ของผิวหนังที่หัวนม
  • การตรวจเต้านม โดยตรวจดูการกดเจ็บ ก้อนที่เต้านม และตรวจเต้านมโดยการกดตื้นและกดลึก
  • บีบน้ำนมด้วยมือ เพื่อประเมินการเจ็บเต้านม หัวนม และลักษณะของน้ำนม
  • ประเมินอารมณ์มารดา รวมทั้งหากสงสัยภาวะซึมเศร้า ควรตรวจเพิ่มเติมโดยใช้แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า (Edinburgh Postnatal Depression Scale)

? ? ? ? ? ? ? ?จะเห็นว่า นอกจากการตรวจทางด้านร่างกายของมารดาแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับการใส่ใจสภาพจิตใจและอารมณ์ของมารดาด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.