คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

เมื่อพบการเจ็บหัวนมของมารดาขณะให้นมบุตร ควรทำอย่างไร

img_1090

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเจ็บหัวนมเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย โดยผลของการเจ็บหัวนมอาจมีผลต่อจิตใจรวมทั้งอาการซึมเศร้าของมารดาและสัมพันธ์กับการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร ซึ่งมักพบการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหนึ่งเดือน1 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ แนะนำให้มีการซักประวัติการให้นมลูก ประวัติอาการเจ็บหัวนม ประวัติมารดา และประวัติทารก ตรวจร่างกายของมารดาและทารก และการสังเกตการดูดนมของทารก สาเหตุส่วนใหญ่จะสามารถวินิจฉัยได้จากประวัติ การตรวจร่างกาย และการสังเกตทารกขณะดูดนม ในกรณีที่สงสัยการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา อาจต้องมีการเพาะเชื้อเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและช่วยในการรักษา ดังนั้น การให้ความสำคัญกับรายละเอียดของการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการสังเกตทารกขณะดูดนมจึงมีความจำเป็นอย่างมากและเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยหรือมองข้าม เมื่อมารดามีอาการเจ็บหัวนมขณะที่ทารกกินนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

เครื่องมือช่วยวินิจฉัยภาวะลิ้นติดของทารก

Jpeg

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ช่วยวินิจฉัยภาวะลิ้นติดของทารก โดยบอกถึงความรุนแรงของภาวะลิ้นติดได้ ซึ่งในทารกที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางและรุนแรง ส่วนใหญ่จะมีการเข้าเต้าลำบากและทำให้มารดาเจ็บหัวนมขณะให้ทารกดูดนม1 การใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า ?MED SWU TONGUE-TIE DIRECTOR? วัดและให้การวินิจฉัยจะช่วยแพทย์ในการตัดสินใจในการให้การรักษา โดยที่การรักษาทำโดยการตัดพังผืดใต้ลิ้น สามารถทำที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก และหลังทำทารกสามารถดูดนมแม่ได้เลย ซึ่งเครื่องมือ MED SWU TONGUE-TIE DIRECTOR นอกจากจะช่วยในการวินิจฉัยแล้ว ยังช่วยในการตัดพังผืดรักษาด้วย ทำให้มีความสะดวกและแม่นยำในการให้การวินิจฉัยและให้การรักษามากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.

ภาวะลิ้นติดของทารกทำให้มารดาเจ็บหัวนมขณะกินนมแม่

dsc00797

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเจ็บหัวนมแม้เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยและมีสาเหตุได้หลากหลาย แต่สาเหตุหนึ่งที่สำคัญคือ การที่ทารกมีภาวะลิ้นติด การที่ทารกมีพังผืดใต้ลิ้นติดมาถึงหรือใกล้กับส่วนปลายลิ้น1 แล้วมีผลทำให้การเคลื่อนไหวของลิ้นออกมาข้างหน้าทำได้ไม่ดี จะมีผลต่อกระบวนการการดูดนมแม่จากเต้านมของมารดา ซึ่งจะทำให้ทารกออกแรงในการดูดนมมากขึ้นและทำให้เกิดการเจ็บหัวนม โดยที่การเจ็บหัวนมของมารดา หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม อาจทำให้มารดาหยุดการให้ลูกกินนมแม่ หรืออาจเกิดบาดแผลบริเวณหัวนม และเกิดภาวะแทรกซ้อนของเต้านมอักเสบและฝีที่เต้านมได้ อุบัติการณ์ของภาวะลิ้นตัดในทารกของไทยพบราวร้อยละ 13 โดยพบทารกที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงรุนแรงประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งหมดคือราวร้อยละ 6-72 ซึ่งทารกเหล่านี้ หากได้รับการแก้ไขภาวะลิ้นติดตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดจะลดการปัญหาการเกิดการเจ็บหัวนมของมารดาที่ต่อเนื่องจนกระทั่งหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Kotlow LA. Ankyloglossia (tongue-tie): a diagnostic and treatment quandary. Quintessence Int 1999;30:259-62.
  2. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.

 

การเจ็บหัวนมขณะให้นมลูก

img_1084

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเจ็บหัวนมขณะที่มารดาให้นมบุตรนั้น เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด1 ?สาเหตุมีได้หลายประการ ตั้งแต่ การจัดท่าเข้าเต้าและให้นมลูกไม่เหมาะสม การที่ทารกมีภาวะลิ้นติด การที่มารดามีน้ำนมไหลมากเกินไป การเกิดบาดแผลบริเวณหัวนม การติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย หัวนมและเต้านมอักเสบ และการขาดเลือดบริเวณหัวนม ซึ่งตามปกติในมารดาทั่วไปครรภ์แรกที่เริ่มให้ลูกกินนมใหม่ๆ อาจจะมีอาการเจ็บที่หัวนมได้บ้าง แต่อาการเหล่านี้มักหายไปในสองสามวันแรกหลังการให้ลูกกินนม แต่หากอาการเจ็บหัวนมยังคงมีต่อเนื่องไปจนถึง 7 วันหรือหนึ่งสัปดาห์2 บุคลากรทางการแพทย์ควรหาสาเหตุที่แน่ชัดเพื่อแก้ปัญหาอาการเจ็บหัวนมที่ยังเป็นหนึ่งในสาเหตุที่สำคัญในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาที่ควร โดยหากให้การดูแลรักษาตั้งแต่อย่างเหมาะสมตั้งแต่ในระยะแรกแล้ว อาการมักหายใน 1-2 สัปดาห์ และไม่มีผลกระทบต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Morland-Schultz K, Hill PD. Prevention of and therapies for nipple pain: a systematic review. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2005;34:428-37.
  2. Buck ML, Amir LH, Cullinane M, Donath SM, Team CS. Nipple pain, damage, and vasospasm in the first 8 weeks postpartum. Breastfeed Med 2014;9:56-62.

ท่าในการให้นมลูก สำคัญไหม

img_1076

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ท่าที่นิยมใช้ในการให้นมลูกนั้น ได้แก่ ท่าขวางตัก ท่าขวางตักประยุกต์ ท่าฟุตบอล และท่านอนตะแคง โดยในระยะหลังมีการกล่าวถึงท่าเอนหลัง (laid-back) ซึ่งมีรายงานว่าอาจจะช่วยให้การเริ่มการให้นมลูกทำได้ดีขึ้น1-4 อย่างไรก็ตาม ท่าที่ให้นมลูก หากมารดามีการจัดท่าที่เหมาะสม จะทำให้การเข้าเต้าดีและช่วยลดปัญหาในการเจ็บเต้านมและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ท่าแต่ละท่าอาจมีความเหมาะสมในกลุ่มมารดาที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในทางปฏิบัติ แนะนำให้บุคลากรทางการแพทย์สอนท่าให้นมลูกแก่มารดาอย่างน้อยสองท่าขึ้นไป5 ซึ่งมารดาอาจทดลองใช้ท่าแต่ละท่า และอาจเลือกใช้ท่าที่ชอบหรือเหมาะสมกับตนเอง สิ่งนี้น่าจะช่วยให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยความสบายและพึงพอใจ และอาจให้นมลูกได้ในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Colson S. Maternal breastfeeding positions: have we got it right? (2). Pract Midwife 2005;8:29-32.
  2. Colson S. Cuddles, biological nurturing, exclusive breastfeeding and public health. J R Soc Promot Health 2003;123:76-7.
  3. Colson SD, Meek JH, Hawdon JM. Optimal positions for the release of primitive neonatal reflexes stimulating breastfeeding. Early Hum Dev 2008;84:441-9.
  4. Colson S. Biological Nurturing: the laid-back breastfeeding revolution. Midwifery Today Int Midwife 2012:9-11, 66.
  5. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Ketsuwan S, Sinutchanan W. The Number of Infant Feeding Positions and the 6-Month Exclusive Breastfeeding Rates. J Med Assoc Thai 2015;98:1075-81.