คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

การให้นมแม่นานช่วยป้องกันลูกมีสมาธิสั้นหรือมีอาการออทิสติก

IMG_3492

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การให้ลูกได้กินนมแม่นานพบว่ามีความสัมพันธ์กับความเฉลียวฉลาดของทารกที่พบเพิ่มขึ้น ซึ่งมีการศึกษาโดยการวัดความเฉลียวฉลาดในกลุ่มทารกปกติที่เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว แต่มีการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มทารกที่มีปัญหาทางพฤติกรรม ได้แก่ สมาธิสั้น และกลุ่มที่มีอาการของออทิสติก (autistic? trait) พบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงระยะเวลาที่นานกว่า จะช่วยเรื่องความเฉลียวฉลาดของทารกและป้องกันหรือช่วยลดปัญหาการเกิดสมาธิสั้นและอาการออทิสติกได้1 ซึ่งประโยชน์เหล่านี้ น่าจะเป็นจากกระบวนการในการให้ลูกได้กินนมแม่นั้น มีการกระตุ้นพัฒนาการทางการสัมผัส จากการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ การกระตุ้นความสนใจทารก การพูดคุยหยอกล้อระหว่างมารดาและทารก สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นรากฐานที่ช่วยในความเฉลียวฉลาดของทารกและช่วยป้องกันพฤติกรรมที่ผิดปกติที่พบในทารกที่ปัจจุบันพบมากขึ้นทั้งสมาธิสั้นและออทิสติกได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Boucher O, Julvez J, Guxens M, et al. Association between breastfeeding duration and cognitive development, autistic traits and ADHD symptoms: a multicenter study in Spain. Pediatr Res 2017.

เชื้อชาติมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3371

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เชื้อชาติมีผลต่อความเชื่อและพฤติกรรมในการปฏิบัติตัว รวมทั้งสภาพสังคม เศรษฐานะ และการดูแลด้านสุขภาพด้วย มีการศึกษาพบว่า เชื้อชาติที่แตกต่างกันมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และสุขภาวะของมารดาและทารก1 เมื่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แตกต่างกัน ผลกระทบด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็แตกต่างกันด้วย ได้แก่ อัตราการเกิดการติดเชื้อและอักเสบของหูส่วนกลาง อัตราการเกิดการติดเชื้อในทางเดินอาหาร อัตราการเกิดภาวะลำไส้เน่าตาย (necrotizing enterocolitis) และอัตราการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด ดังนั้น ควรมีการสำรวจถึงปัจจัยด้านเชื้อชาติที่อาจมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย ซึ่งการที่มีข้อมูลและทราบความสำคัญของปัจจัยนี้ จะทำให้การวางแผนเอาใจใส่ในกลุ่มหรือเชื้อชาติที่มีความเสี่ยงต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาที่เหมาะสมสามารถเลือกนัดติดตามดูแลมารดาในกลุ่มนี้ได้อย่างใกล้ชิด

เอกสารอ้างอิง

  1. Bartick MC, Jegier BJ, Green BD, Schwarz EB, Reinhold AG, Stuebe AM. Disparities in Breastfeeding: Impact on Maternal and Child Health Outcomes and Costs. J Pediatr 2017;181:49-55 e6.

 

ความเชื่อของชุมชนมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_1102

?รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ความเชื่อที่มีอยู่เป็นพื้นฐานในแต่ละสังคมจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติตัวของคนในสังคมนั้น ๆ รวมถึงความเชื่อเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาในหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่ที่แตกต่างกันและมีความเชื่อในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่แตกต่างกัน พบว่า ความเชื่อของชุมชนมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 ดังนั้น การรณรงค์ให้ความรู้ที่เหมาะสมและถูกต้องจึงมีความจำเป็น เพื่อให้มารดาและครอบครัวมีความเข้าใจถึงประโยชน์ ความสำคัญ และการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่แนะนำให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน หลังจากนั้นเริ่มอาหารเสริมตามวัยร่วมกับการให้นมแม่ต่อเนื่องจนกระทั่งครบสองปีหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารก

? ? ? ? ? ? ? ? ? สำหรับในประเทศไทย การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรกยังมีอุปสรรคจากความเชื่อในหลาย ๆ เรื่องที่พบ ได้แก่ การให้ลูกกินน้ำเนื่องจากความกลัวว่าทารกจะตัวเหลือง หรือให้ทารกกินน้ำเมื่อทารกสะอึก การให้ลูกกินกล้วย กินข้าว หรืออาหารอื่นก่อนเวลาที่เหมาะสมเนื่องจากความเชื่อว่าจะทำให้ลูกอิ่มและหลับได้นาน ความเชื่อเหล่านี้ จำเป็นต้องแก้ไขด้วยการให้ความรู้ ซึ่งต้องอาศัยกำลังสำคัญจากบุคลากรทางการแพทย์ เครือข่ายสาธารณสุข ร่วมกับการสื่อสารรณรงค์ของคนในสังคมที่จะกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว และการเปลี่ยนแปลงความเชื่อในสังคมที่เคยมีมานานได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Atyeo NN, Frank TD, Vail EF, Sperduto WA, Boyd DL. Early Initiation of Breastfeeding Among Maya Mothers in the Western Highlands of Guatemala. J Hum Lact 2017:890334416682729.

แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ปัจจัยที่สำคัญในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_1069

?รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีมากมายขึ้นอยู่กับจะพิจารณาในรูปแบบใด ปัจจัยด้านมารดา ปัจจัยด้านทารก ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยทางด้านโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ปัจจัยทางด้านสังคม หรืออาจพิจารณาในลักษณะของปัจจัยทางด้านกายภาพ สุขภาพของมารดาและทารก ปัจจัยทางด้านจิตใจ หรือพิจารณาตามช่วงระยะเวลาของการดูแลการตั้งครรภ์และการคลอด และปัจจัยในระยะหลังคลอด ซึ่งมีการศึกษาพบว่า แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เป็นปัจจัยที่ได้รับการพิจารณาว่าสำคัญมากที่สุดในการกระตุ้น ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ขณะที่ปัจจัยที่ทำให้เกิดการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนระยะเวลาที่เหมาะสมที่สำคัญที่สุด คือ ระยะเวลาที่มารดาได้ลาพักหลังคลอดและการกลับไปทำงานของมารดา1

เอกสารอ้างอิง

  1. Archer LE, Dunne TF, Lock LJ, Price LA, Ahmed Z. Breastfeeding in Samoa: A Study to Explore Women’s Knowledge and the Factors which Influence Infant Feeding Practices. Hawaii J Med Public Health 2017;76:15-22.

สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรกินปลามากน้อยแค่ไหน3

IMG_1219

?รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ชนิดของปลา สัตว์น้ำ และอาหารทะเลที่ควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากมีการปนเปื้อนปริมาณสารปรอทสูง ได้แก่

  • King mackerel
  • Marlin
  • Orange roughy
  • Shark
  • Swordfish
  • Tilefish (Gulf of Mexico)
  • Tuna, bigeye

? อย่างไรก็ตาม ในข้อแนะนำในการรับประทานชนิดของปลา สัตว์น้ำ และอาหารทะเล ควรเลือกให้มีความหลากหลาย ไม่ควรรับประทานซ้ำ ๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน สำหรับชนิดของปลา สัตว์น้ำ และอาหารทะเลในประเทศไทยยังขาดการสำรวจและเผยแพร่แนะนำการปฏิบัติสู่สาธารณะ การนำข้อมูลชนิดของอาหารในสหรัฐอเมริกามาใช้กับประเทศไทยอาจมีข้อจำกัดในหลาย ๆ ด้าน จึงอาจนำมาใช้ในแนวทางการพัฒนาความรู้สู่สาธารณะในอนาคตต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. ข้อมูลจาก http://www.fda.gov/Food/FoodborneIllnessContaminants/Metals/ucmhtm