คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

กินนมแม่แล้วห้ามมีเพศสัมพันธ์จริงหรือ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การที่มารดาให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวอย่างสม่ำเสมอในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด จะทำให้ร่างกายมีระดับฮอร์โมนโปรแลคตินสูง ซึ่งจะเป็นผลในการยับยั้งการตกไข่หรือมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิดได้ หลังคลอด ไม่ว่ามารดาจะคลอดปกติหรือได้รับการผ่าตัดคลอด หากแผลของมารดาหายและปราศจากความเจ็บปวดแล้ว การมีเพศสัมพันธ์ก็สามารถทำได้โดยไม่มีข้อห้ามใด ๆ แต่หากมารดายังไม่ต้องการจะมีบุตร การคุมกำเนิดวิธีใดวิธีหนึ่งควรจะมีการปฏิบัติก่อนที่มารดาจะเริ่มมีเพศสัมพันธ์ โดยหากมารดาให้นมลูกอย่างเดียวสม่ำเสมอ ก็ถือเป็นการคุมกำเนิดวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด หรือมารดาอาจเลือกใช้การคุมกำเนิดโดยใช้ยาฉีด ยาฝัง การใช้ถุงยางอนามัย การใส่ห่วงคุมกำเนิด หรือการที่จะเลือกใช้ยาคุมกำเนิดชนิดกินนั้น มารดาควรได้รับการให้คำปรึกษาถึงข้อดีข้อเสียของการเลือกใช้การคุมกำเนิดในแต่ละชนิดก่อนเสมอ ดังนั้นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกินนมแม่แล้วห้ามมีเพศสัมพันธ์ไม่เป็นความจริง1

เอกสารอ้างอิง

  1. The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017

จริงไหมที่การกินยาคุมกำเนิดทำให้น้ำนมลดลง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ยาคุมกำเนิดชนิดกินนั้นที่ใช้กินบ่อย ๆ คือยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ซึ่งจะประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูง อาจมีผลยับยั้งการหลั่งของน้ำนมได้ โดยเฉพาะหลังคลอดใหม่ ๆ ในหกสัปดาห์แรก อย่างไรก็ตาม ในมารดาที่มีน้ำนมมามากและต้องการคุมกำเนิดหลังหกสัปดาห์ไปแล้ว ก็สามารถเลือกใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมได้ อีกทางเลือกหนึ่ง หากมารดาต้องการเริ่มคุมกำเนิดเร็ว คือ การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดกินที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างเดียวที่เหมาะสำหรับการให้นมบุตร แต่จะมียี่ห้อของยาที่ขายในท้องตลาดสองชนิด ได้แก่ Exluton และ Cerazette ที่สามารถใช้ได้เร็วโดยไม่มีผลกระทบต่อน้ำนม อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป การเริ่มมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด ส่วนใหญ่มักเริ่มหลังหกสัปดาห์ที่แพทย์นัดตรวจหลังคลอดไปแล้ว สิ่งนี้จึงมักไม่เป็นปัญหาหากมารดาให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว สม่ำเสมอ และให้เกลี้ยงเต้า เนื่องจากน้ำนมมารดามาดีอยู่แล้ว การมีเพศสัมพันธ์ในขณะให้นมบุตรนั้น บางครั้งมารดาอาจรู้สึกเจ็บหรือแสบช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ต่ำในช่วงให้นมบุตรทำให้ในช่องคลอดแห้งและเยื่อบุผนังช่องคลอดบางทำให้เจ็บหรือแสบขณะมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้น หากสามีมีความเข้าใจการใช้เจลหล่อลื่นหรือเล้าโลมมารดานานเพียงพอ จะป้องกันการเจ็บระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ได้ ทำให้ปราศจากปัญหาระหว่างความสัมพันธ์ของสามีและภรรยา1

เอกสารอ้างอิง

  1. The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017

หลังคลอดต้องให้มารดาบำรุงหรือกินยากระตุ้นน้ำนมไหม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? หากจะอธิบายเรื่องนี้ ต้องย้อนกลับไปพูดถึงเรื่องกลไกการสร้างและการหลั่งน้ำนม การพัฒนาของเต้านมให้พร้อมสำหรับการให้นมนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ในระยะของการตั้งครรภ์โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่สองที่จะมีการเพิ่มขึ้นมากของฮอร์โมนโปรแลคตินซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการสร้างน้ำนม แต่โดยทั่วไปน้ำนมที่สร้างขึ้นมามักจะยังไม่การไหลออกมา เนื่องจากยังมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงที่สร้างจากรกในร่างกายมารดาที่ยังยับยั้งไม่ให้เกิดการหลั่งน้ำนมออกมา แต่เมื่อหลังคลอดทารกและรกออกมาแล้ว ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดระดับลง ซึ่งขณะเดียวกันหากมีการเริ่มให้ลูกกระตุ้นดูดนมแม่ ฮอร์โมนออกซิโทซินซึ่งเป็นฮอร์โมนอีกตัวหนึ่งที่มีความสำคัญในการทำให้เกิดการบีบตัวของเซลล์กล้ามเนื้อของต่อมน้ำนม ทำให้เกิดการหลั่งและการไหลของน้ำนมจากต่อมน้ำนมสู่ท่อน้ำนมและไปสู่ทารกได้ง่ายขึ้น กลไกเหล่านี้จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อมีการคลอดทารก แต่การกระตุ้นให้ทารกเริ่มดูดนมเร็วหลังคลอดจะทำให้การมาของน้ำนมเร็วขึ้น ดังนั้นการที่น้ำนมจะมา มารดาไม่มีความจำเป็นต้องกินยาบำรุงใด ๆ หรือต้องกินยากระตุ้นน้ำนม การกินอาหารหรือการบำรุงมากเกินกว่าระดับการใช้พลังงานของมารดา จะทำให้มารดามีน้ำหนักเกินหรืออ้วน ซึ่งกลับมีผลเสียต่อมารดาในระยะยาวโดยอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคในกลุ่มของเมตาบอลิกได้ สำหรับการกินยากระตุ้นน้ำนมโดยส่วนใหญ่ กลไกของการกระตุ้นน้ำนมจะกระตุ้นระดับฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งในระยะหลังคลอดใหม่ ๆ ระดับฮอร์โมนโปรแลคตินนั้นมักจะยังสูงอยู่ จึงไม่เกิดประโยชน์ในการนำมาใช้ การให้ยากระตุ้นน้ำนมจึงจะได้ประโยชน์ก็ต่อเมื่อระดับฮอร์โมนโปรแลคตินต่ำซึ่งก็คือ หลังจากหยุดหรือไม่ได้มีการให้น้ำนมเป็นเวลานาน? และมารดามีระดับฮอร์โมนโปรแลคตินต่ำ ซึ่งจะเกิดในกรณีที่มารดาหยุดการให้น้ำนมเป็นเวลาและต้องการกลับมาให้นมแม่ใหม่นั่นเอง1

เอกสารอ้างอิง

  1. The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017

 

กินน้ำช่วยป้องกันลูกตัวเหลืองจริงไหม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? อย่างที่ย้ำเตือนกันบ่อย ๆ ว่านมแม่ดีและเหมาะสมที่สุดในช่วงหกเดือนแรก ดังนั้น การให้อาหารอื่น ๆ ทดแทนนมแม่นั้นก็เท่ากับไปลดคุณประโยชน์ที่ลูกจะได้จากนมแม่นั่นเอง การให้น้ำ น้ำส้ม กล้วยบดอาจทำให้ลูกอิ่มได้ชั่วคราวแต่ประโยชน์ที่ได้แตกต่างจากนมแม่ จึงไม่สมควรเริ่มอาหารเหล่านี้เร็วเกินไป มารดาบางคนเห็นลูกปากแห้งและอากาศร้อนอบอ้าว กลัวว่าลูกจะหิวน้ำ จึงให้ลูกกินน้ำ ซึ่งหากให้ลูกกินน้ำแล้วลูกจะอิ่มน้ำ และกินนมแม่ได้ลดลง ซึ่งหากลองคิดทบทวนดูดี ๆ ในนมแม่นั้นจะมีน้ำประกอบอยู่เป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว จึงสามารถช่วยลดการกระหายของลูกได้ ดังนั้น หากลูกกระหายควรให้ลูกกินนมแม่มากกว่า นอกจากนี้ในนมแม่ยังมีสารอาหารที่ย่อยง่ายและช่วยในการขับถ่ายขี้เทาที่หากมีระยะเวลาที่อยู่ในลำไส้นาน จะมีการดูดซึมสารเหลืองเข้าสู่ร่างกายทารกได้มากขึ้น จากเหตุผลนี้ การให้ลูกกินน้ำ หากทำให้ลูกอิ่มและกินนมได้น้อยลง ขับถ่ายขี้เทาได้ไม่ดี กลับจะเป็นผลเสียโดยส่งผลต่อการเกิดตัวเหลืองมากขึ้นเข้าไปอีก ความเชื่อเรื่องการให้ลูกกินน้ำจะช่วยป้องกันลูกตัวเหลืองจึงเป็นความเชื่อที่ผิด ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การที่พบทารกตัวเหลืองนั้น หนึ่งในสาเหตุใหญ่ที่พบทารกตัวเหลือง ก็คือ การให้ลูกกินนมแม่ไม่เพียงพอ นั่นเอง1

เอกสารอ้างอิง

  1. The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017

 

ต้องให้นมลูกไปนานแค่ไหน

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ระยะเวลาของการให้นมลูกว่าต้องให้ไปนานแค่ไหน ไม่มีคำตอบที่แน่ชัดขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารก แต่หากสังเกตจากสิ่งมีชีวิตอื่นที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว พบว่ามักมีระยะเวลาของการกินนมแม่ราวสองถึงสามเท่าของระยะของระยะของการตั้งครรภ์หรือยาวนานกว่านั้น ดังนั้น มนุษย์ซึ่งมีระยะการตั้งครรภ์ราว 9 เดือนก็ควรจะมีระยะเวลาการให้ลูกกินนมแม่ไม่ต่ำกว่า 18 ถึง 27 เดือน ซึ่งราว 2 ปีสอดคล้องกับคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2 ปีหรือนานกว่านั้น แล้วนมแม่อย่างเดียวเพียงพอสำหรับความต้องการลูกหรือและเพียงพอไปถึงนานแค่ไหนนั้นมีการศึกษามามากมายตั้งแต่ในอดีต โดยในสมัยก่อนเชื่อว่า 3-4 เดือนน่าจะต้องปรับนมแม่เป็นอาหารเสริม แต่ปัจจุบันข้อมูลชี้ไปทางให้นมแม่อย่างเดียวเพียงพอสำหรับลูกไปถึง 6 เดือน หากกังวลใจว่านมแม่อาจไม่พอและต้องการเสริมอาหารอื่นก่อนหกเดือนเพื่อจะได้เพียงพอได้ไหม คำตอบคือหากนมแม่ยังเหมาะสมที่สุดในหกเดือนแรก การกินอย่างอื่นทดแทน จะทำให้ลูกได้รับนมแม่น้อยลง นั่นคือลูกได้รับประโยชน์จากนมแม่น้อยลงไปด้วย ดังนั้นในหกเดือนแรกควรตั้งใจและส่งเสริมให้มีน้ำนมที่เพียงพอที่จะเป็นอาหารหลักอย่างเดียวสำหรับลูก และหลังจากนั้นจึงเสริมอาหารตามวัยที่เหมาะสมสำหรับทารกโดยให้นมแม่ต่อเนื่องไปอย่างนน้อยสองปีหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารก1

เอกสารอ้างอิง

  1. The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017