คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อภาคส่วนสังคม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? นมแม่มีประโยชน์และเป็นผลดีต่อสุขภาพของทั้งมารดาและทารก ทั้งเป็นผลในระยะสั้นและระยะยาวในช่วงของการใช้ชีวิต ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่ภาคส่วนของคนในสังคมต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงความสำคัญของการให้ทารกได้กินนมแม่ โดยในส่วนของภาครัฐควรมีการวางนโยบายเรื่องการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ชัดเจน มีการติดตามข้อมูลรวมทั้งตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่จะบ่งบอกถึงอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมมีการประเมินผลและปรับเปลี่ยนแนวทางการรณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามข้อมูลที่มีการศึกษาและวิจัย เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและมีความต่อเนื่อง1

? ? ? ? ? ? ?สำหรับภาคส่วนของการศึกษา ควรสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมบุคลากรที่มีความรู้ที่จะให้การดูแลและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ มีการวางบันไดอาชีพให้บุคลากรเหล่านี้มีความเจริญก้าวหน้าในการทำงาน และสนับสนุนให้ดำรงการทำงานอยู่ในสายงานนี้ได้อย่างเหมาะสม ไม่ต้องอดทนภายในงานที่หนัก ค่าตอบแทนที่น้อย หรือการที่ขาดความเอาใจใส่หรือความสนใจของผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชา สร้างระบบการประเมินการทำงานตามภาระงานที่ได้กระทำ ซึ่งยังมีความจำเป็นเนื่องจากมีความขาดแคลนของบุคลากรในสายงานนี้

? ? ? ? ? ? ? ในภาคส่วนของเอกชน การให้การสนับสนุนในด้านนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการ การจัดเวลาพักให้สามารถบีบเก็บนมแม่ได้ รวมทั้งจัดมุมนมแม่และอุปกรณ์สนับสนุน นอกจากนี้ ในส่วนของภาคสื่อสารมวลชน ควรสื่อสารให้เกิดความตื่นตัวถึงความสำคัญและประโยชน์ของนมแม่ที่จะมีการส่งเสริมให้มารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน หลังจากนั้นให้นมแม่ร่วมกับอาหารตามวัยจนกระทั่งถึงสองปีหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารกตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก ดังนั้น จะเห็นว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นไม่ได้เป็นเรื่องเฉพาะตัวที่ควรสนับสนุนให้เกิดขึ้น แม้จะมองเป็นเรื่องพื้นฐานตามธรรมชาติ แต่ก็เป็นสิ่งที่คนทุกภาคส่วนในสังคมควรร่วมกันส่งเสริมเพื่อสร้างต้นทุนทางสุขภาพที่ดีให้แก่ทารกที่จะเจริญเติบโตเป็นกำลังของสังคมในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

  1. The public health benefits of breastfeeding. Perspect Public Health 2017;137:307-8.

 

 

นมแม่ช่วยลดการเกิดเบาหวานในแม่และลูก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? แม้ว่ากระแสเรื่องการดูแลสุขภาพจะมีการตื่นตัวกันมากขึ้น แต่พฤติกรรมการกินของคนในสังคมปัจจุบันก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเมตาบอลิก โดยโรคที่มักเป็นกันมาก ได้แก่ เบาหวาน ดังนั้น การหาทางป้องกันการเกิดเบาหวานนอกเหนือจากการดูแลเรื่องพฤติกรรมการกินแล้ว ?จึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำ การเริ่มต้นให้ลูกได้กินนมแม่ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่มีข้อมูลสนับสนุนว่าช่วยลดทั้งการเกิดเบาหวานในระหว่างการตั้งครรภ์ของมารดาร้อยละ 11-27 และยังช่วยลดการเกิดเบาหวานในลูกด้วยร้อยละ 17 เมื่อได้ติดตามไปนาน 24 ปี1 ซึ่งจะเห็นว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นอกจากลูกจะได้รับสารอาหารที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและส่งเสริมด้านภูมิคุ้มกันให้กับลูกแล้ว ยังมีผลดีต่อทั้งตัวมารดาและทารกในด้านการลดความเสี่ยงในการเกิดเบาหวาน ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีต่อตัวมารดาและทารกเองแล้ว ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายเรื่องการดูแลสุขภาพของคนในสังคมของประเทศด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Breastfeeding Initiation Associated With Reduced Incidence of Diabetes in Mothers and Offspring: Correction. Obstet Gynecol 2017;129:394-5.

ลดการเจ็บปวดของลูกจากการฉีดวัคซีนด้วยนมแม่ได้

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?บ่อยครั้งที่แม่มักรู้สึกกังวลเมื่อลูกร้องหลังจากการฉีดวัคซีน เพราะว่าเสียงลูกร้องมักสร้างความสะเทือนใจและหวั่นวิตกแก่แม่ได้ ด้วยความรักและผูกพันระหว่างแม่กับลูก แม้ว่าจะรู้ว่าเป็นเสียงร้องไห้จากการฉีดวัคซีนที่ล่วงรู้มาก่อนแล้วก็ตาม แต่แม่บางคนก็รู้สึกว่าต้องร้องไห้ตามเสียงร้องของลูกอยู่นั่นเอง ซึ่งการลดความเจ็บปวดให้กับลูกจากการฉีดวัคซีนนั้น มักไม่มีการใช้ยาแก้ปวดหรือยาชา การให้กินนมแม่จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่มีการศึกษาวิจัยแล้วว่าสามารถช่วยลดความเจ็บปวดของทารกจากการฉีดวัคซีนได้1 โดยที่การให้นมลูกนอกจากจะลดความเจ็บปวดแก่ลูกแล้ว ยังสร้างความสงบและอบอุ่นแก่ลูกด้วย ประโยชน์ของนมแม่ในเรื่องนี้มีอย่างชัดเจนโดยไม่มีข้อเสียหรืออาการข้างเคียงใด ๆ ซ้ำยังเพิ่มความรักความผูกพันของแม่กับลูกยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Zurita-Cruz JN, Rivas-Ruiz R, Gordillo-Alvarez V, Villasis-Keever MA. Breastfeeding for acute pain control on infants: a randomized controlled trial. Nutr Hosp 2017;34:301-7.

 

ความหมายที่ชัดเจนของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ควรใส่ใจ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หมายถึง พฤติกรรมร่วมสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกในการป้อนนมจากเต้าของแม่ให้แก่ลูก โดยความหมายนี้เป็นความหมายตามที่คาดคะเนตามประกาศขององค์การอนามัยโลกถึงสิทธิของทารกที่จะได้รับนมจากเต้านมของแม่ อย่างไรก็ตาม ความหมายของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คงขาดความชัดเจนเมื่อเวลาผ่านไป เพราะว่า การพัฒนาเครื่องปั๊มนมที่แม่สามารถจัดหามาเก็บน้ำนมแล้วป้อนน้ำนมให้ลูกด้วยการป้อนด้วยขวดนมหรือป้อนด้วยถ้วย ดังนั้น ในการให้นมแม่จึงไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะการกินนมจากเต้าแม่เท่านั้น ยังหมายถึงการป้อนนมแม่ที่ได้จากเต้าด้วยขวดนมหรือถ้วยด้วย แม้ในกรณีที่หยุดให้นมจากเต้าของแม่แล้ว แต่ยังมีนมที่บีบเก็บไว้ให้ได้อีกหลายเดือน1

? ? ? ? ? ? ? ?การกำหนดคำนิยามเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงมีความจำเป็น คำที่นิยมใช้และควรกำหนดเป็นมาตรฐาน1 ได้แก่

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากเต้า (feeding at the breast หรือ at-the-breast feeding) หมายถึง พฤติกรรมของแม่ในการให้นมลูกจากเต้านม โดยไม่รวมแม้ว่าจะเป็นการให้นมแม่จากการป้อนนมวิธีอื่น

นมแม่ที่บีบเก็บ (expressed breast milk) หมายถึง น้ำนมแม่ที่ได้จากการบีบเก็บน้ำนมด้วยมือหรือใช้เครื่องปั๊มนม

นมแม่ที่บริจาค (donated breast milk) หมายถึง น้ำนมแม่ที่มีการบีบเก็บและมีการตรวจคัดกรองการติดเชื้อบางโรค โดยแม่ได้บริจาคให้แก่ธนาคารนมแม่

นมแม่ที่แบ่งปัน (shared breast milk) หมายถึง น้ำนมแม่ที่มีแบ่งปันให้กับทารกของแม่คนอื่นโดยไม่ได้มีการคิดเงินจากการนมแม่ที่มีการแบ่งปัน ซึ่งนมแม่ที่แบ่งปันนี้จะไม่มีการคัดกรองการติดเชื้อเหมือนการบริจาคเข้าธนาคารนมแม่

นมแม่ที่จัดซื้อ (purchased breast milk) หมายถึง น้ำนมแม่ที่ได้รับจากแม่ของทารกคนอื่นจากการซื้อขาย นมแม่ที่ได้จากการซื้อขายนี้จะไม่มีการคัดกรองการติดเชื้อเหมือนการบริจาคเข้าธนาคารนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Rasmussen KM, Felice JP, O’Sullivan EJ, Garner CD, Geraghty SR. The Meaning of “Breastfeeding” Is Changing and So Must Our Language About It. Breastfeed Med 2017;12:510-4.

กัญชา ปัญหาในวัยรุ่นและระหว่างการให้นมบุตร

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัจจุบัน ด้วยสภาพสังคมที่เร่งเร้าและแข่งขันกันอย่างมาก สร้างความกดดันและเพิ่มความเครียดให้แก่คนในสังคมมากขึ้นโดยเฉพาะวัยรุ่นซึ่งยังขาดความมั่นคงทางอารมณ์และมีแนวโน้มที่จะถูกชักจูงในการใช้ยาหรือสารเสพติดต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย การใช้ยาหรือสารเสพติดเพื่อการผ่อนคลายหรือให้ความสนุกสนานจึงพบมากขึ้น เช่น การดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ การสูบบุหรี่ การใช้ยาบ้า ยาอี รวมทั้งการใช้กัญชาโดยเพื่อตอบสนองต่อภาวะเครียดที่ไม่รู้จะหาทางออกหรือระบายความอัดอั้นในใจต่าง ๆ ได้อย่างไรผสมไปกับการชักจูงโดยกลุ่มเพื่อนที่ใช้ยาหรือสารเสพติดเหล่านี้อยู่แล้ว ทำให้มีแนวโน้มของการใช้ยาหรือสารเสพติดเพื่อการผ่อนคลายเกิดขึ้นได้ และเมื่อเกิดขึ้นขณะที่ร่างกายได้รับยาหรือสารเสพติดเหล่านี้ จะมีการกระตุ้นประสาทที่ทำให้เกิดอาการคึกคักหรือสนุกสนานและการกดระบบประสาทที่ทำให้ซึมหรือมึนงง โดยยาหรือสารเสพติดบางชนิดอาจมีฤทธิ์ในการหลอนประสาทด้วย ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดขาดการยับยั้งชั่งใจ การมีเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์โดยขาดความตั้งใจเป็นผลติดตามมาได้

??????????? กัญชาเป็นสารเสพติดชนิดหลอนประสาท โดยออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทในตอนต้น กดและหลอนประสาทเมื่อได้รับปริมาณขนาดที่เพิ่มขึ้น ในบางประเทศเช่น โคลัมเบีย และบางรัฐในสหรัฐอเมริกา การใช้กัญชาในรูปแบบเพื่อการผ่อนคลายหรือให้ความสนุกสนานไม่ผิดกฎหมาย ประเทศไทยซึ่งมีลัทธิตามอย่างประเทศเสรีนิยมจึงเริ่มพบการใช้สารเหล่านี้เพิ่มขึ้นในวัยรุ่นรวมถึงพบการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยไม่ได้ตั้งใจสูงขึ้นด้วย กัญชาสามารถตรวจพบในร่างกายของผู้เสพหรือใช้ได้ราว 1 สัปดาห์หลังการใช้ หากใช้ระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรย่อมเกิดผลเสียต่อทั้งมารดาและทารกอย่างแน่นอน แม้ว่าโทษของกัญชาจากข้อมูลการศึกษาวิจัยในผลของการใช้กัญชาในระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตรยังมีข้อมูลที่น้อยและขาดการยืนยัน1-3 เนื่องจากหากมารดาใช้กัญชาในระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรย่อมมีช่วงเวลาที่ขาดสติและมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อทั้งมารดาและทารกได้ ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุดที่ทำได้คือ การงดหรือการลดการใช้ลงด้วยการยับยั้งชั่งใจ และความใส่ใจในสุขภาพอย่างน้อยก็เพื่อสุขภาพของลูกที่จะเกิดและเจริญเติบโตขึ้น โดยคงไม่มีมารดาคนใดที่จะเจตนาสร้างความพิกลพิการแก่ระบบประสาทและสติปัญญาของลูกน้อยที่จะเป็นตราบาปที่คงอยู่ตราบเท่าชีวิตที่คงอยู่ของคนทั้งสอง

เอกสารอ้างอิง

  1. Eidelman AI. Marijuana/Cannabis Use and Breastfeeding: A Clinical Dilemma. Breastfeed Med 2017;12:579.
  2. Mourh J, Rowe H. Marijuana and Breastfeeding: Applicability of the Current Literature to Clinical Practice. Breastfeed Med 2017;12:582-96.
  3. Anderson PO. Cannabis and Breastfeeding. Breastfeed Med 2017;12:580-1.

?