คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

การสร้างความเชื่อมั่นแก่มารดาช่วยให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? ?การที่มารดามีความเชื่อมั่นในตนเองว่าสามารถจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นจะมีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจในการให้นมแม่แก่ลูกและคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปได้นาน ทำให้โอกาสที่มารดาจะให้นมลูกตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกสูงขึ้น1 ดังนั้น การให้ความสำคัญกับกระบวนการต่าง ๆ ที่จะเสริมพลังให้มารดามีความมั่นใจว่าสามารถให้นมลูกได้ จึงเป็นสิ่งที่หน่วยงานที่ดูแลสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรจัดสรรให้มี ได้แก่ การให้ความรู้มารดาและครอบครัวในระหว่างการตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอด ฝึกให้มารดามีความมั่นใจว่าสามารถให้นมแม่ได้ด้วยตนเองก่อนการอนุญาตให้มารดากลับบ้านหลังคลอด หรือในกรณีที่มารดาได้กลับบ้านก่อน ควรมีการนัดติดตามเสริมสร้างความมั่นใจให้มารดาในสัปดาห์แรกหลังคลอด หรืออาจเป็นการเสริมพลังจากการออกเยี่ยมบ้านหลังคลอด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของสถานพยาบาลและเครือข่ายที่ให้การดูแล ความร่วมมือร่วมใจของทุกคนทุกฝ่ายจะส่งเสริมให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Faridvand F, Mirghafourvand M, Mohammad-Alizadeh-Charandabi S, Malakouti J. Breastfeeding performance in Iranian women. Int J Nurs Pract 2018:e12659.

 

แพทย์ประจำบ้านกับบทบาทในสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? แพทย์ประจำบ้านทางสูติศาสตร์และกุมารเวชศาสตร์ล้วนมีบทบาทในเรื่องสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากในโรงพยาบาลที่มีการอบรมแพทย์ประจำบ้านนั้น แพทย์ประจำบ้านถือเป็นกลไกที่สำคัญในการดูแลมารดาและทารก แพทย์ประจำบ้านทางสูติศาสตร์เป็นผู้ที่จะพบเจอกับมารดาและครอบครัวตั้งแต่ระยะฝากครรภ์ ระยะคลอด รวมถึงหลังคลอด ในขณะแพทย์ประจำบ้านทางกุมารเวชศาสตร์ดูแลทารกต่อเนื่องหลังจากนั้น ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของบทบาทนี้จึงได้มีการประเมินโดยออกข้อสอบในเรื่องการดูแลปัญหาในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในปีนี้ ซึ่งพบว่าแพทย์ประจำบ้านทางสูติศาสตร์ยังขาดความรู้เรื่องการดูแลปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สำหรับแพทย์ประจำบ้านทางกุมารเวชศาสตร์มีการศึกษาในประเทศแคนาดา พบว่ามีการขาดความรู้และทักษะในการดูแลปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เช่นกัน1 ดังนั้น การสนับสนุนให้มีการจัดการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุน เพื่อส่งเสริมและสร้างโอกาสให้เด็กไทยได้กินนมแม่มากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Esselmont E, Moreau K, Aglipay M, Pound CM. Residents’ breastfeeding knowledge, comfort, practices, and perceptions: results of the Breastfeeding Resident Education Study (BRESt). BMC Pediatr 2018;18:170.

 

บิดากับบทบาทในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?บทบาทในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบิดานั้น มักจะมีความแตกต่างกันในแต่ละค่านิยมหรือสังคมโดยบทบาทซึ่งจะมากหรือน้อยน่าจะขึ้นอยู่กับการมีส่วนรับผิดชอบงานบ้านและการเลี้ยงดูลูก อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาถึงบทบาทของบิดากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่า บทบาทของบิดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความซับซ้อนและหลากหลาย1 โดยบทบาทหลัก ได้แก่

  • บทบาทในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจให้ลูกกินนมแม่
  • ช่วยรับผิดชอบในการดูแลงานบ้านหรืองานในครอบครัว
  • ช่วยสนับสนุนและให้กำลังใจแก่มารดา

? ? ? ? ?จะเห็นว่า บิดามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรใส่ใจกับการให้คำปรึกษาบิดา มารดา และคนในครอบครัวที่มีบทบาทในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากเป็นหนทางหนึ่งที่จะเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. deMontigny F, Gervais C, Lariviere-Bastien D, St-Arneault K. The role of fathers during breastfeeding. Midwifery 2018;58:6-12.

การขาดวิตามินบี 12 ในมารดาที่ให้นมแม่ที่กินมังสวิรัติ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ในมารดาที่กินอาหารมังสวิรัติมีโอกาสเสี่ยงที่จะขาดวิตามินบี 12 โดยเนื่องจากวิตามินบี 12 มักมีในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบในอาหารจำพวกปลา หอย และผลิตภัณฑ์นม ในมารดาที่ให้นมบุตรที่ขาดวิตามินบี 12 ก็มีโอกาสที่ทารกจะกินนมแม่จะขาดวิตามินบี 12 ด้วย ในทารกที่ขาดวิตามินบี 12 จะพบมีอาการหงุดหงิด เบื่ออาหาร ปฏิเสธการกินอาหารแข็ง การเจริญเติบผิดปกติ พัฒนาการถดถอย1 ในเรื่องของการขาดสารอาหารของทารก แน่นอนการป้องกันในมารดาที่มีความเสี่ยงจะช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติของทารกได้ แต่หากมีการผิดพลาดหรือตรวจไม่พบจากการตรวจคัดกรอง การให้การวินิจฉัยตั้งแต่แรกเริ่มจากประวัติที่สงสัย จะมีผลดีกว่ารอให้ทารกแสดงอาการหรือเกิดการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการถดถอยแล้ว การแก้ไขหรือรักษาจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก ดังนั้น การเน้นให้ความสำคัญกับการแนะนำให้มารดาป้องกันการเกิดการขาดวิตามินบี 12 ในมารดาที่กินอาหารมังสวิรัติหรือมีความเสี่ยง น่าจะเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด

เอกสารอ้างอิง

  1. Delbet JD, Ulinski T. Thrombotic microangiopathy and breastfeeding: where is the link? Answers. Pediatr Nephrol 2018;33:987-9.

 

การทำความชัดเจนกับนิยามของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ในการศึกษาวิจัยข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ส่วนใหญ่จะแบ่งข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นกินนมแม่กับกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารก ซึ่งอาจเป็นการแบ่งข้อมูลที่หยาบเกินไป เพราะบางครั้งทารกกินนมแม่เพียงครั้งเดียวหรือกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารกเพียงครั้งเดียวก็จะถูกจัดเป็นกลุ่มที่กินนมแม่หรือกลุ่มที่กินนมผงเลย ซึ่งอาจมีผลทำให้ผลที่สรุปจากการวิจัยยังไม่สามารถอ้างอิงได้เต็มที่ ดังนั้นจึงมีข้อแนะนำให้กำหนดคำนิยามของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ละเอียด โดยอาจแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กินนมแม่อย่างเดียว กินนมแม่ส่วนใหญ่ กินนมผงส่วนใหญ่ กินนมผงอย่างเดียว หรืออาจแบ่งให้ละเอียดมากขึ้นเป็น 11 กลุ่ม ได้แก่ กินนมแม่ 100% กินนมแม่ 90% แล้วลดลงทีละ 10% จนกระทั่งเป็นกินนมผง 100%1 หากมีการกำหนดนิยามของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ชัดเจนจะทำให้การกล่าวยืนยันผลของการยืนยันผลของการวิจัยหนักแน่นขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Davie P, Bick D, Chilcot J. Measuring milk: A call for change in quantifying breastfeeding behaviour. Midwifery 2018;63:A6-A7.