คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

ข้อแนะนำในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอด

S__38208166

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? หลังการประเมินมารดาและทารกจากประวัติและการตรวจร่างกายหลังคลอด บุคลากรทางการแพทย์ควรทราบแนวทางสำหรับการแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เบื้องต้น ดังนี้

  • แนะนำให้ให้นมทารกตามความต้องการ ซึ่งราว 8-12 ครั้งต่อวัน และให้นมจนเกลี้ยงเต้า
  • ระหว่าง 24-48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ทารกบางคนอาจสนใจในการกินนมแม่น้อย โดยอาจเป็นผลมาจากการคลอดที่ลำบาก
  • หากทารกไม่ยอมตื่นกินนม ควรกระตุ้นหรือปลุกทารกตื่นกินนมทุก 4 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการใช้จุกนมหลอก โดยอธิบายถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
  • ทบทวนให้มารดาทราบถึงกลไก ขั้นตอนในการให้นมทารก และลักษณะการขับถ่ายที่เป็นปกติ

? ? ? ? ? ? จะเห็นว่า หลักที่สำคัญในการแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือ การให้นมทารกตามความต้องการและให้นมให้เกลี้ยงเต้าเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนมให้เพียงพอ

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

สิ่งที่ต้องตรวจในมารดาและทารกหลังคลอดในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

S__38208109รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? จากข้อมูลที่ได้จากการประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องตรวจมารดาและทารกในรายละเอียดต่อไปนี้

  • ตรวจน้ำหนักทารกและประเมินอายุครรภ์
  • ประเมินพฤติกรรมและความพร้อมของระบบประสาทของทารก
  • คำนวณน้ำหนักของทารกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงหลังการคลอด
  • สังเกตพฤติกรรมมารดาและทารกขณะทารกกินนมแม่
  • ตรวจเต้านมมารดา
  • ตรวจทารกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานของกล้ามเนื้อและความผิดปกติในช่องปาก
  • ประเมินภาวะขาดน้ำของทารก
  • ประเมินภาวะตัวเหลืองของทารก

? ? ? ? ? ? ? จะเห็นว่า หลักที่สำคัญในการตรวจเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต้องตรวจเต้านม ตรวจช่องปากและการทำงานของกล้ามเนื้อโดยละเอียดเพื่อประเมินความพร้อมในการเข้าเต้า และสังเกตมารดาและทารกขณะกินนมแม่ สิ่งนี้เป็นขั้นตอนที่ควรให้ความสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรทำอย่างไร

IMG_0726

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ในทางปฏิบัติมีทั้งการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม หรือขาดความครบถ้วนในการให้การดูแล รายละเอียดที่ต้องประเมินสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีดังนี้

  • ทบทวนประวัติฝากครรภ์ ประวัติการคลอด และการดูแลทารกหลังเกิดใหม่
  • พูดคุยกับมารดาถึงเวลาและกระบวนการที่มารดาให้นมลูกครั้งแรกหลังคลอด
  • สอบถามมารดาว่า เคยมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาก่อนหรือไม่
  • มารดาปฏิบัติอย่างไรในการให้นมลูก และรู้สึกอย่างไรกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ทารกจำเป็นต้องกระตุ้นหรือปลุกให้ตื่นเพื่อกินนมหรือไม่
  • ทารกเข้าเต้าง่ายหรือกระตือรือร้นที่จะกินนมหรือไม่
  • ทารกได้รับการเข้าเต้าเพื่อให้นมกี่ครั้งใน 24-48 ชั่วโมงแรก
  • ทารกได้รับการเสริมด้วยอาหารอื่นใดนอกจากนมแม่หรือไม่
  • จำนวนครั้งในการเปลี่ยนผ้าอ้อมที่เปียกแฉะใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
  • จำนวนครั้งที่ถ่ายอุจจาระของทารกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
  • มารดารู้สึกสบายในการให้นมหรือมีการเจ็บเต้านมหรือหัวนม
  • มารดารับประทานยาอะไรเป็นประจำหรือไม่
  • สมาชิกในครอบครัวรู้สึกอย่างไรกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ?จะเห็นว่า หากบุคลากรทางการแพทย์ให้การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะความตั้งใจและขั้นตอนในการให้นมลูกซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ จะทำให้มีข้อมูลที่จะให้คำแนะนำมารดาและครอบครัวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

ทารกร้องไห้เสียงดังดีไหม

IMG_1010

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? หลังคลอดใหม่ หากทารกร้องเสียงดัง มักแสดงถึงว่าทารกหายใจได้ดี แต่การที่ทารกร้องไห้ จะมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น และขณะที่ร้องไห้ทารกจะกลืนอากาศเข้าไปมาก ทำให้เสี่ยงต่อการอาเจียน นอกจากนี้ การที่ทารกร้องไห้ยังลดพลังงานสะสมของร่างกายทารกด้วย? ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ และการเข้าเต้าเพื่อกินนมแม่มีความยากลำบากยิ่งขึ้น เนื่องจากการร้องไห้เป็นอาการที่บ่งบอกว่าทารกหิวในระยะสุดท้าย เมื่อทารกร้องไห้เป็นเวลานาน ทารกจะเหนื่อยและเพลียหลับ โดยที่การกินนมยังทำไม่ได้เต็มที่ ดังนั้น การให้ทารกกินนมบ่อยๆ ตามความต้องการก่อนที่ทารกจะหิวมากจนร้องไห้ ควรปฏิบัติเพื่อป้องกันการใช้พลังงานมากโดยไม่จำเป็นและนมแม่ที่ทารกได้รับจะนำไปสร้างการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกได้อย่างเต็มที่

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

การง่วงนอนของทารก

IMG_9423

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มารดาและบุคลากรทางการแพทย์ควรทราบลักษณะการง่วงนอนที่เป็นลักษณะที่ปกติของทารก โดยทั่วไปหลังการคลอดใหม่ๆ ใน 1-2 ชั่วโมงแรก ทารกจะตื่นตัวและเป็นช่วงที่เหมาะสมที่จะเริ่มให้ทารกดูดนมแม่ แต่หลังจากนั้น ทารกจะง่วงหลับและหลับเป็นเวลานาน การปลุกตื่นจะทำได้ไม่ยาก โดยใช้การกระตุ้นในช่วงสั้นๆ เพียงเล็กน้อย ได้แก่ การคลายผ้าที่ห่อตัวทารกออก การนวดเบาๆ การจัดท่าทารกให้อยู่ในท่าลำตัวตั้งตรง การเปลี่ยนผ้าอ้อม การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อที่หน้าอกของมารดา ทารกก็จะตื่น โดยการตื่นของทารกในระยะแรกหลังคลอดจะตื่นเป็นช่วงสั้นๆ แต่หากมารดาได้รับยาแก้ปวดกลุ่ม narcotic ระหว่างการคลอด ทารกจะมีการง่วงหลับที่นานกว่า ซึ่งอาจต้องมีการกระตุ้นปลุกทารก หากทารกหลับนานมากกว่า 4 ชั่วโมง

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.