คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

ภาวะน้ำตาลต่ำในทารกแรกเกิด

S__38208134

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ภาวะน้ำตาลต่ำเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด โดยทั่วไปมักพบในทารกที่มารดาเป็นเบาหวาน ทารกที่คลอดก่อนกำหนด และทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์อายุครรภ์ แต่จะไม่พบในทารกที่คลอดครบกำหนดปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดของทารกจะต่ำที่สุดในช่วง 1-2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ดังนั้น การที่จะช่วยป้องกันหรือลดปัญหาภาวะน้ำตาลต่ำในทารกสามารถทำได้โดยการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ และให้ทารกเริ่มต้นกินนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรกภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด ซึ่งจะช่วยปัญหาภาวะน้ำตาลต่ำ

? ? ? ? ? ? ? ? สำหรับอาการของทารกที่มีภาวะน้ำตาลต่ำนั้น ในบางคนอาจไม่แสดงอาการ และหากมีอาการ สามารถเป็นได้ตั้งแต่ กระวนกระวาย หงุดหงิด เฉื่อยชา ง่วงซึม โคม่า หายใจเร็ว หยุดหายใจ เขียว อุณหภูมิร่างกายต่ำหรือไม่คงที่ ความตึงตัวของกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการชัก หรือมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของการกิน

? ? ? ? ? ? ? ? การดูแลรักษา ควรเริ่มต้นตั้งแต่การคัดกรองทารกที่มีความเสี่ยง เน้นให้มีการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ และเริ่มให้นมแม่เร็ว และให้บ่อยๆ ในทารกที่ไม่มีอาการ การดูแลเบื้องต้นและเจาะเลือดก่อนการให้นมจะช่วยในการรักษาได้ โดยหากอาการไม่ดีขึ้น อาจต้องพิจารณาการให้น้ำนมที่ได้จากการบีบเก็บหรือนงผงดัดแปลงสำหรับทารกเพิ่มเติม แต่ในทารกที่มีอาการ จำเป็นต้องใช้การให้น้ำเกลือร่วมในการดูแลด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

 

การวางแผนการคลอดสำหรับมารดาที่มีความดันโลหิตสูง

IMG_9761

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มารดาที่มีเป็นโรคความดันโลหิตสูง เมื่อตั้งครรภ์และมาฝากครรภ์โดยมีประวัติฝากครรภ์ดี การวางแผนการกำหนดคลอดที่มารดาอายุครรภ์ 38-39 สัปดาห์น่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากหากวางแผนให้คลอดก่อน 37 สัปดาห์ โอกาสที่จะพบภาวะแทรกซ้อนในทารกหลังคลอดจะเพิ่มมากขึ้น แต่หากวางแผนให้คลอดหลังมารดาอายุครรภ์ 39 สัปดาห์ โอกาสที่มารดาจะมีภาวะครรภ์เป็นพิษสูงขึ้น1 อย่างไรก็ตาม ควรวิเคราะห์ข้อมูลของมารดาในแต่ละรายโดยดูความเสี่ยงอื่นๆ ร่วมในการพิจารณาการกำหนดการคลอดด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Harper LM, Biggio JR, Anderson S, Tita AT. Gestational Age of Delivery in Pregnancies Complicated by Chronic Hypertension. Obstet Gynecol 2016.

การขับถ่ายของทารก สิ่งที่สะท้อนการกินนมของทารก

S__38208141

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ใน 3-4 วันแรกหลังคลอด ทารกจะขับถ่ายน้ำออกจากร่างกายมากกว่าที่กินนมเข้าไป เนื่องจากในระยะแรกหลังคลอดทารกมีน้ำอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ในร่างกายมาก และจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไปหลังคลอด ดังนั้น การติดตามการขับถ่ายของทารกจะสะท้อนถึงการกินนมได้ดีหลังจาก 3-4 วันแรก การจดบันทึกการกินนม การปัสสาวะ และการถ่ายอุจจาระอย่างต่อเนื่องในสัปดาห์แรก จะมีประโยชน์ในการประเมินการกินนมของทารก โดยในปลายสัปดาห์แรก ทารกจะปัสสาวะอย่างน้อย 6 ครั้งต่อวัน สำหรับการถ่ายอุจจาระ ในช่วงแรก ทารกจะถ่ายขี้เทาเป็นสีเขียวเข้มและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองในปลายสัปดาห์แรก โดยจะมีการถ่ายอุจจาระในช่วงนี้อย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน การขับถ่ายที่น้อยกว่าปกติ อาจแสดงถึงการได้รับนมที่ไม่พอเพียงได้

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

น้ำหนักทารกที่ลดลงหลังคลอด เรื่องที่มารดาวิตกกังวล

S__38208113

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? หลังคลอดเมื่อมีการชั่งประเมินน้ำหนักทารกในแต่ละวัน โดยทั่วไปจะพบว่าทารกมีน้ำหนักลดลง เนื่องจากในขณะเกิด การชั่งน้ำหนักทารกหลังคลอด ทารกได้แช่อยู่ในน้ำคร่ำก่อนการชั่ง สัดส่วนน้ำในร่างกายต่อน้ำหนักจะมาก ต่อมาเมื่อมีการระเหยของน้ำจากผิวหนังของทารก และการขับถ่ายที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้น้ำหนักทารกลดลง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเป็นปกติใน 2-4 วันแรกหลังคลอด จากนั้นน้ำหนักทารกจึงเริ่มเพิ่มขึ้น และจะเริ่มน้ำหนักเกินน้ำหนักแรกคลอดในวันที่ 10-14 หลังคลอด ดังนั้น หากไม่มีการเตรียมให้มารดาและครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำหนักของทารกที่ลดลงหลังคลอด มารดาอาจถูกกดดันหรือมีความเครียดจากการที่ทารกมีน้ำหนักลดและนำไปสู่การเลือกใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก สิ่งนี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีการเตรียมมารดาตั้งแต่ก่อนการคลอดและทบทวนอีกครั้งในระยะหลังคลอด อย่างไรก็ตาม หากทารกยังมีน้ำหนักต่ำกว่าน้ำหนักแรกเกิดหลังคลอดสองสัปดาห์ ควรมีการดูแลและติดตามอย่างใกล้ชิด

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

 

การดูแลสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอด

S__38208154

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มีคำถามว่า บุคลากรทางการแพทย์ต้องเข้าไปดูแลสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอดตั้งแต่เมื่อไร คำตอบคือ ต้องเริ่มทันทีหลังคลอด โดยเริ่มการให้ลูกดูดนมแม่ภายในครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงแรก ร่วมกับการโอบกอดลูกเนื้อแนบเนื้อต่อเนื่องกันอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยมีหลักการที่สำคัญที่ควรต้องปฏิบัติดังนี้

  • กระบวนการใดของการดูแลที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรสนับสนุนและกระบวนการหรือขั้นตอนใดที่ขัดขวางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรหลีกเลี่ยง
  • คัดแยกมารดาที่มีปัญหาน้ำนมไม่พอ เพื่อการให้คำแนะนำแก้ไขปัญหาที่เป็นสาเหตุ
  • คงให้มารดามีการสร้างน้ำนมอย่างต่อเนื่อง หากมีความจำเป็นต้องแยกทารกจากมารดา
  • ในกรณีที่มารดาและทารกมีปัญหาต่อเนื่อง ควรพิจารณาส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญ

? ? ? ? ? ? ? ?หลักที่สำคัญของการสนับสนุนหลังคลอด คือ เน้นให้เริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรก และสนับสนุนให้มารดามีน้ำนมเพียงพอและต่อเนื่อง

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.