คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

ปัจจัยผู้ป่วยที่มีผลต่อการคิดภาระงานคลินิกนมแม่

IMG_3460

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ปัจจัยผู้ป่วยมีความสัมพันธ์และส่งผลต่อการคิดภาระงานของพยาบาล มีการศึกษาพบว่าลักษณะและสภาพของผู้ป่วยส่งผลต่อภาระงานการพยาบาล1 สำหรับลินิกนมแม่ ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการมีทั้งมารดาและทารก นอกจากนี้ อาจรวมถึงสามี ปู่ ย่า ตา ยาย ที่มารับการให้คำปรึกษาด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ขาดการลงทะเบียนหรือการบันทึกจำนวนผู้ที่ให้คำปรึกษาอย่างครบถ้วน เนื่องจากผู้รับคำปรึกษาบางคนไม่ได้ลงทะเบียนหรือไม่มีเลขที่ผู้ป่วยของโรงพยาบาล การลงภาระงานที่ถูกต้องจำเป็นต้องนับการให้บริการตามจริงซึ่งทำให้ต้องมีการลงทะเบียนการให้คำปรึกษาหรือให้การพยาบาลที่จุดให้บริการเพิ่มเติม นอกจากนี้ หากมีการสนับสนุนการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่หอทารกวิกฤต การคิดภาระงานส่วนอาจต้องเพิ่มความซับซ้อนของปัญหาของทารกที่ป่วยที่ส่งผลต่อการคิดภาระงานด้วย ซึ่งการตกลงกำหนดภาระงานที่เพิ่มต้องมีการพัฒนาโดยอาศัยพื้นฐานการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ

เอกสารอ้างอิง

  1. Mueller M, Lohmann S, Strobl R, Boldt C, Grill E. Patients’ functioning as predictor of nursing workload in acute hospital units providing rehabilitation care: a multi-centre cohort study. BMC Health Serv Res 2010;10:295.

ปัจจัยพยาบาลที่สำคัญที่มีผลต่อการคิดภาระงานคลินิกนมแม่

IMG_9334

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ปัจจัยพยาบาลเป็นปัจจัยใหญ่ปัจจัยหนึ่งในการคิดภาระงาน ประสบการณ์และสมรรถนะเป็นส่วนที่สำคัญ1 นอกจากนี้ มีการศึกษาถึงปัจจัยที่สัมพันธ์ที่ส่งผลต่องานของพยาบาล คือ จำนวนงานที่เข้ามาระหว่างการทำงานหลัก (number of work interruptions) จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อหรือรับใหม่ (patient turnover rate) และจำนวนคำสั่งการพยาบาลที่เพิ่มขึ้น2 สำหรับในคลินิกนมแม่นั้น การคิดภาระงานต้องเริ่มจากการดูลักษณะงาน โดยในกรณีที่มีสายด่วนตอบคำถามตลอด 24 ชั่วโมง มีการให้บริการแก้ไขปัญหานมแม่ในหอผู้ป่วยหลังคลอด หอผู้ป่วยทารกวิกฤต และการดูแลการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด ลักษณะงานเช่นนี้จะทำให้การคิดภาระงานใกล้เคียงกับงานบริการพยาบาลผู้ป่วยใน ซึ่งจะแตกต่างจากงานที่มีการแก้ปัญหาหรือให้คำปรึกษาเฉพาะผู้ป่วยที่นัดมาติดตามการดูแลเรื่องนมแม่ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ซึ่งจะคิดภาระงานตามลักษณะงานบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก ดังนั้น คลินิกนมแม่ควรยึดหลักการคิดภาระงานตามลักษณะและรูปแบบของงานที่ปฏิบัติอยู่เพื่อให้สะท้อนภาระงานที่เป็นจริงและส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Swiger PA, Vance DE, Patrician PA. Nursing workload in the acute-care setting: A concept analysis of nursing workload. Nurs Outlook 2016;64:244-54.
  2. Myny D, Van Hecke A, De Bacquer D, et al. Determining a set of measurable and relevant factors affecting nursing workload in the acute care hospital setting: a cross-sectional study. Int J Nurs Stud 2012;49:427-36.

 

คลินิกนมแม่ ภาระงานการพยาบาลและความปลอดภัยของผู้ป่วย

IMG_3475

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การคิดภาระงานการพยาบาลมีความสัมพันธ์กับมาตรฐานการให้การพยาบาล ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ (patient safety)1 ดังนั้นในทุกการให้บริการจึงควรมีการคิดอัตรากำลัง โดยภาระงานที่นำมาคิดอาจพิจารณาเป็น

  • การดูแลผู้ป่วยโดยตรง? (direct care) ตัวอย่างเช่น การทำแผล การเจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการ การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย การให้การสนับสนุนทางด้านจิตใจแก่ผู้ป่วย
  • การดูแลผู้ป่วยทางอ้อม (indirect care) ตัวอย่างเช่น การบริหารจัดการจำนวนเวชภัณฑ์สำหรับผู้ป่วย การจัดการเรื่องเอกสาร การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การส่งต่องาน การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย
  • กิจกรรมที่ไม่ใช่การดูแลผู้ป่วย (nonpatient care) ตัวอย่างเช่น การอบรมและฝึกทักษะการพยาบาล การแก้ปัญหาเครื่องมือทำงานผิดปกติ ระยะเวลารอคอย
  • นอกจากนี้ ในบางกรณี การจัดกิจกรรมอาจคำนึงถึงในเรื่องคุณภาพชีวิต โดยคิดช่วงพัก ช่วงรับประทานอาหารกลางวัน ช่วงที่เข้าห้องน้ำ

? ? ? ? ? ? ? เมื่อคิดภาระงานและสามารถจัดสรรกำลังคนได้อย่างเหมาะสม จะสามารถลดการเกิดความผิดพลาดในการให้บริการ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการให้บริการ1 สำหรับในคลินิกนมแม่นั้น แม้จะมองว่า ความผิดพลาดนั้น หากเกิดมักจะไม่รุนแรงและอันตรายถึงชีวิต แต่การให้คุณค่าแก่กิจกรรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (value-added) ซึ่งจะส่งผลลัพท์ที่เป็นพื้นฐานของสุขภาพที่ดีของมารดาและทารก ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องจัดสรรโดยเพิ่มคุณค่าให้กิจกรรมนี้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Swiger PA, Vance DE, Patrician PA. Nursing workload in the acute-care setting: A concept analysis of nursing workload. Nurs Outlook 2016;64:244-54.

ปัจจัยที่มีผลต่อการคิดภาระงานในคลินิกนมแม่

IMG_3481

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ปัจจัยที่มีผลต่อการคิดภาระงานโดยทั่วไป1 แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

  • ปัจจัยจากพยาบาล ได้แก่ ปัจจัยจากความสามารถของพยาบาล (nurse ability) แต่ละคนอาจแตกต่างกัน บางคนมีทักษะในเรื่องการให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การเข้าเต้า หรือการจัดท่าทารกได้ดี พูดได้กระชับ ใช้เวลารวดเร็ว ขณะที่บางคนต้องใช้เวลาสื่อสารอธิบายนาน โดยผลของการให้คำปรึกษาได้ผลเหมือนๆ กัน ปัจจัยจากสมรรถนะทางคลินิกของพยาบาล (clinical competency) โดยแบ่งได้เป็น 5 ระดับ คือ พยาบาลระดับเริ่มต้นทำงานไม่มีประสบการณ์ (novice) พยาบาลระดับเริ่มที่ทำได้ (advanced beginner) พยาบาลระดับที่พอทำได้ (competent) พยาบาลระดับที่เก่ง (proficient) และพยาบาลระดับที่เชี่ยวชาญ (expert) ซึ่งสมรรถนะทางคลินิกนี้จะส่งผลต่อระยะเวลาการทำงานของแต่ละคน
  • ปัจจัยจากผู้ป่วย ได้แก่ ปัจจัยจากความซับซ้อนของการดูแลผู้ป่วย (care complexity) ซึ่งในผู้ป่วยที่มีโรคที่รุนแรงหรือมีความซับซ้อนสูงจะใช้เวลาในการดูแลนาน
  • ปัจจัยจากหน่วยงานหรือองค์กร ได้แก่ ปัจจัยเรื่องความเพียงพอของบุคลากรและเครื่องมือ ปัจจัยการหน่วยงานที่สนับสนุนการทำงานในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วย ปัจจัยจากงานการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ปัจจัยจากการหมุนเปลี่ยนของผู้ป่วย (patient turnover) ปัจจัยจากความหลากหลายของผู้ป่วย (case mix) ปัจจัยเรื่องการให้การสนับสนุนขององค์กร ปัจจัยเรื่องความสามารถของผู้บริหารจัดการพยาบาล (nurse manager ability) ปัจจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับพยาบาล ปัจจัยเรื่องวัฒนธรรมความปลอดภัย และปัจจัยการบริหารงานระบบ (process efficiency)

? ? ? ? ? ? ดังนั้น การที่จะคิดอัตรากำลังและผลิตภาพการพยาบาลของคลินิกนมแม่จำเป็นต้องคำนึงปัจจัยเหล่านี้ที่จะต้องกำหนดมาตรฐาน คำนิยามและลักษณะการเก็บข้อมูลที่จะสร้างการยอมรับจากทีมพยาบาลด้วยกันเองและหน่วยงานภายนอกที่จะมาประเมิน ซึ่งการสร้างให้เกิดการคิดอัตรากำลังและผลิตภาพการพยาบาลของคลินิกนมแม่ก็ถือเป็นนวัตกรรมที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมของการให้บริการที่เหมาะสมและเอื้อต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Swiger PA, Vance DE, Patrician PA. Nursing workload in the acute-care setting: A concept analysis of nursing workload. Nurs Outlook 2016;64:244-54.

 

คลินิกนมแม่กับภาระงานการพยาบาล

img_2197

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ปัจจุบันเรื่องการคิดภาระงานของวิชาชีพต่างๆ มีความสำคัญ เพื่อใช้เป็นหลักพื้นฐานในการคำนวณอัตรากำลังและทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่เพื่อการบริหารจัดการ คลินิกนมแม่เป็นบริการที่จัดให้แก่มารดาและครอบครัว โดยมีการให้บริการทั้งการให้คำแนะนำ การให้คำปรึกษา การให้การดูแลรักษา ตอบคำถามทางโทรศัพท์ นอกจากนี้ สิ่งที่ขาดไม่ได้ที่ต้องมีควบคู่กันคือการพัฒนาความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมรวบทั้งเป็นที่ให้ความรู้แก่นักศึกษาแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ จึงต้องนำกระบวนการการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ การสร้างนวัตกรรม และการให้การอบรมความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์มาคิดเป็นภาระงานด้วย โดยทั่วไป การคิดภาระงานจะแยกตามลักษณะงาน โดยมีค่าความหนักเบาหรือค่าน้ำหนักการให้บริการพยาบาลแตกต่างกันในการให้บริการในแต่ละที่ของการให้การพยาบาล เช่น การให้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอก การให้บริการที่หอผู้ป่วย การให้บริการที่หอผู้ป่วยวิกฤต การให้บริการที่ห้องผ่าตัด และการให้บริการที่ห้องคลอด โดยคลินิกนมแม่ หากเปิดเป็นลักษณะของการให้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกอาจต้องคิดการให้บริการในวันทำการคือ 5 วันทำการต่อสัปดาห์ แต่หากการให้บริการอยู่ที่หอผู้ป่วยหลังคลอดและเปิดบริการทุกวัน ควรคิดวันทำการ 7 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งการกำหนดมาตรฐานของการให้บริการมารดาและทารกอาจอ้างอิงการใช้การแยกประเภทผู้ป่วยเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที ประเภทที่ 2 มากกว่า 10 นาทีแต่ไม่เกิน 45 นาที ประเภทที่ 3 เกิน 45 นาทีแต่ไม่เกิน 120 นาที ประเภทที่ 4 เกิน 120 นาทีแต่ไม่เกิน 150 นาที และประเภทที่ 5 มากกว่า 150 นาที ?จัดการให้บริการมารดาและทารกลงในแต่ละประเภท เพื่อคำนวณอัตรากำลังและผลิตภาพของพยาบาล อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาในปี 2556 ถึงภาระงานและผลิตภาพของพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐ 12 แห่งในพื้นที่เครือข่ายการให้บริการเขต 2 พบว่าเมื่อเทียบผลิตภาพกำลังคนในโรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่และรักษาคนไข้ที่มีความซับซ้อนกว่าหรือโรงพยาลาลศูนย์มีผลิตภาพสูงกว่าโรงพยาบาลขนาดเล็กหรือโรงพยาบาลชุมชน1 ดังนั้น การคิดอัตรากำลังและผลิตภาพของพยาบาลจำเป็นต้องคำนึงถึงการให้บริการของสถานพยาบาลนั้นๆ ว่าเป็นสถานพยาบาลลักษณะใด ตติยภูมิ ทุติยภูมิ หรือปฐมภูมิ เพื่อการบริหารอัตรากำลังอย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. กฤษดา แสวงดี, วิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย, ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย, อำนวย กาจีนะ. ภาระงานและผลิตภาพของพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐ 12 แห่งในพื้นที่เครือข่ายการให้บริการเขต Journal of Health Science 2015;24:471-50.