ปัจจัยที่มีผลต่อการคิดภาระงานในคลินิกนมแม่

IMG_3481

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ปัจจัยที่มีผลต่อการคิดภาระงานโดยทั่วไป1 แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

  • ปัจจัยจากพยาบาล ได้แก่ ปัจจัยจากความสามารถของพยาบาล (nurse ability) แต่ละคนอาจแตกต่างกัน บางคนมีทักษะในเรื่องการให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การเข้าเต้า หรือการจัดท่าทารกได้ดี พูดได้กระชับ ใช้เวลารวดเร็ว ขณะที่บางคนต้องใช้เวลาสื่อสารอธิบายนาน โดยผลของการให้คำปรึกษาได้ผลเหมือนๆ กัน ปัจจัยจากสมรรถนะทางคลินิกของพยาบาล (clinical competency) โดยแบ่งได้เป็น 5 ระดับ คือ พยาบาลระดับเริ่มต้นทำงานไม่มีประสบการณ์ (novice) พยาบาลระดับเริ่มที่ทำได้ (advanced beginner) พยาบาลระดับที่พอทำได้ (competent) พยาบาลระดับที่เก่ง (proficient) และพยาบาลระดับที่เชี่ยวชาญ (expert) ซึ่งสมรรถนะทางคลินิกนี้จะส่งผลต่อระยะเวลาการทำงานของแต่ละคน
  • ปัจจัยจากผู้ป่วย ได้แก่ ปัจจัยจากความซับซ้อนของการดูแลผู้ป่วย (care complexity) ซึ่งในผู้ป่วยที่มีโรคที่รุนแรงหรือมีความซับซ้อนสูงจะใช้เวลาในการดูแลนาน
  • ปัจจัยจากหน่วยงานหรือองค์กร ได้แก่ ปัจจัยเรื่องความเพียงพอของบุคลากรและเครื่องมือ ปัจจัยการหน่วยงานที่สนับสนุนการทำงานในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วย ปัจจัยจากงานการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ปัจจัยจากการหมุนเปลี่ยนของผู้ป่วย (patient turnover) ปัจจัยจากความหลากหลายของผู้ป่วย (case mix) ปัจจัยเรื่องการให้การสนับสนุนขององค์กร ปัจจัยเรื่องความสามารถของผู้บริหารจัดการพยาบาล (nurse manager ability) ปัจจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับพยาบาล ปัจจัยเรื่องวัฒนธรรมความปลอดภัย และปัจจัยการบริหารงานระบบ (process efficiency)

? ? ? ? ? ? ดังนั้น การที่จะคิดอัตรากำลังและผลิตภาพการพยาบาลของคลินิกนมแม่จำเป็นต้องคำนึงปัจจัยเหล่านี้ที่จะต้องกำหนดมาตรฐาน คำนิยามและลักษณะการเก็บข้อมูลที่จะสร้างการยอมรับจากทีมพยาบาลด้วยกันเองและหน่วยงานภายนอกที่จะมาประเมิน ซึ่งการสร้างให้เกิดการคิดอัตรากำลังและผลิตภาพการพยาบาลของคลินิกนมแม่ก็ถือเป็นนวัตกรรมที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมของการให้บริการที่เหมาะสมและเอื้อต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Swiger PA, Vance DE, Patrician PA. Nursing workload in the acute-care setting: A concept analysis of nursing workload. Nurs Outlook 2016;64:244-54.