คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (17)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ตู้นมพอเพียง ฝากได้ไม่จำกัด (Sufficient milk storage is unlimited) โดยรติกาล เลิศศิริ อนงค์ แหลมเขาทองและดาวรุ่ง บัวผัน โรงพยาบาลแปลงยาว เป็นวิจัยพัฒนารูปแบบการเก็บน้ำนมแม่เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการเลียงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มที่แม่ทำงานนอกบ้านและมีกำลังทรัพย์น้อย จึงได้จัดบริการรับฝากนมแม่ขึ้น โดยเปิดบริการรับฝาก-เบิก จ่ายนมได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีการปรับให้มีสมุดคู่ฝากประจำตัวผู้รับบริการเพื่อให้มารดาทราบปริมาณนมใน stock ของตนเองและให้มีเชือกสีประจำตัวผู้รับบริการเพื่อสะดวกในการค้นหา มีการตรวจเช็ค stock นมทุกเดือน พบว่ามารดามีที่สำรองในการจัดเก็บน้ำนมเพิ่มขึ้น โดยไม่มีปัญหาเรื่องตู้เก็บนมเต็ม

ที่มาจาก โปสเตอร์และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (16)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวของทารกเกิดก่อนกำหนด (Effect of program enhancing Self-efficacy in breastfeeding with family?s participation on duration of breastfeeding and weight gain in preterm infant) โดยพัชรพร แก้ววิมล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นวิจัยผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อระยะเวลาการให้นมแม่และน้ำหนักตัวทารก โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด ได้จากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คนและควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองจะได้ดูสื่อวิดิทัศน์เกี่ยวกับทารกเกิดก่อนกำหนดและวางแผนการดูแลทารกร่วมกัน? ครอบครัวจะได้รับความรู้เรื่องนมแม่ตั้งแต่ระยะที่ 1 (วันที่ 1-5) เริ่มฝึกบีบเก็บน้ำนม ระยะที่ 2 (วันที่ 6-14) ครอบครัวช่วยเหลือประคับประคองให้บีบเก็บน้ำนมอย่างต่อเนื่อง ระยะที่ 3 (วันที่ 15-60) ทารกฝึกดูดนมจากเต้าและประเมินความพร้อมก่อนกลับบ้าน มารดาจะบันทึกข้อมูลทั้งหมดในแบบบันทึกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ชุดที่ 1-3 และผู้วิจัยบันทึกน้ำหนักตัวของทารกลงบนกราฟ ผลการศึกษาพบว่าทารกกลุ่มทดลองมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (2,929.23 ?403.63 กรัม) สูงกว่ากลุ่มควบคุม(2,615 ?360.22 กรัม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและมารดากลุ่มทดลองสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (เฉลี่ย62.67 ?13.11วัน) นานกว่ากลุ่มควบคุม (46.93 ?9.40วัน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปการสร้างเสริมสมรรถนะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลทารกจะช่วยให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างต่อเนื่องและทารกมีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากการได้รับนมแม่

ที่มาจาก โปสเตอร์และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (15)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปรับตัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด (The effect of nursing empowerment program on adaptation in breastfeeding for mother with preterm Infants) โดยอติพร ศิวิชัย หอผู้ป่วยหนักเด็ก โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เป็นวิจัยผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปรับตัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน ในกลุ่มทดลอง 20 คนมีโปรแกรมการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปรับตัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด มีการดำเนินกิจกรรมการสร้างสัมพันธภาพและความร่วมมือ การค้นหาสภาพการณ์จริงของมารดา การสร้างพลังในการแก้ปัญหา การเสริมแหล่งพลังอำนาจ การเสริมสร้างพลังอำนาจด้วยตนเอง การสร้างความมั่นใจและคงไว้ซึ่งความสามารถ พบว่าคะแนนการปรับตัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่มีทารกเกิดคลอดก่อนกำหนดที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่าคะแนนการปรับตัวของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนดที่ได้รับการพยาบาลตามมาตรฐานปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงควรส่งเสริมการนำโปรแกรมการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปรับตัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนดไปประยุกต์ในทางปฏิบัติการพยาบาล เพื่อส่งเสริมความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกคลอดก่อนกำหนด

ที่มาจาก โปสเตอร์และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (14)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?นวัตกรรม สเกลนมแม่ (Maternal milk scale innovation) โดยลมัย แสงพ็ง, อาภานี แย้มอิ่ม และ จริยา ขุนอินทร์ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช เป็นวิจัยพัฒนาครื่องมือสื่อสารปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับจากการดูดนมแม่แก่มารดาและญาติ โดยใช้แนวคิดจากปริมาตรของเหลว 15 หยด เท่ากับ 1 ซีซีและการดูดนมตามปกติของทารกคือ 6-7 ครั้งใน 10 วินาที โดยทดลองบีบนมแม่ที่ทารกป่วยจำนวน 30 ราย เริ่มด้วยบีบนม 15 ครั้งใน 20 วินาที แบ่งบีบเป็น 3 ชุด ชุดละ 5 ครั้ง และหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการไหลของน้ำนมจากการบีบนมครั้งแรกกับปริมาณน้ำนมที่บีบได้ใน 10 นาที และพัฒนามาสร้างสเกลนมแม่เป็นตารางแสดงลักษณะการไหลจากการบีบนม ปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับจากการดูดนมแม่อย่างน้อย 10 นาที และปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการต่อมื้อ จากนั้นใช้นวัตกรรมอธิบายแม่และญาติถึงปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับจากการดูดนมแม่แต่ละมื้อ ประเมินผลจากการใช้นวัตกรรมจากมารดาจำนวน 414 ราย พบว่ามารดาและญาติร้อยละ 92.27 เชื่อว่าลูกได้รับนมพอไม่ขอนมเสริมเพิ่ม และพบทารกได้รับนมเพียงพอร้อยละ100 สรุปการใช้นวัตกรรมสเกลนมแม่ทำให้มารดาและญาติพึงพอใจสูง? ช่วยสื่อสารให้มารดาเข้าใจว่านมแม่เพียงพอและลดการเสริมนมโดยไม่จำเป็น

ที่มาจาก โปสเตอร์และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (13)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?นวัตกรรมสื่อการสอน เต้านมแม่มหัศจรรย์ (Innovation good teaching breast milk) โดยสุวิดา? โชติสุวรรณ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เป็นวิจัยพัฒนาสื่อการสอนการบีบน้ำนมด้วยมือ เริ่มพัฒนาจากการบีบน้ำนมจริงกับหญิงหลังคลอด ปรับเปลี่ยนเป็นการใช้เต้านมที่ทำจากถุงน่อง และปรับให้เหมือนจริงขึ้นโดยมีน้ำนมไหลออกมาหากบีบเต้านมที่พัฒนาขึ้นได้ถูกต้อง จากการประเมินความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนและการบีบนมในตำแหน่งที่ถูกต้องจากเต้านมที่พัฒนาขึ้นหรือเรียกว่า เต้านมแม่มหัศจรรย์ พบว่า ผู้ใช้นวัตกรรมร้อยละ 86 มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และร้อยละ14 มีความพึงพอใจในระดับมาก และผู้ใช้นวัตกรรมทุกรายสามารถบีบนมได้ถูกต้องหลังการใช้สื่อการสอน สรุปสื่อการสอนเต้านมมหัศจรรย์ที่พัฒนาขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจสูงและหลังการใช้สามารถบีบน้ำนมได้อย่างถูกต้อง

ที่มาจาก โปสเตอร์และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์