คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (12)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? การพัฒนาระบบการวินิจฉัยและรักษาภาวะพังผืดใต้ลิ้น (Development of tongue tie care team)โดยเยาวเรศ กิตติธเนศวร และวันเพ็ญ กวยาวงศ์ คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลอ่างทอง เป็นวิจัยพัฒนารูปแบบการดูแลให้การวินิจฉัยและรักษาทารกที่มีภาวะพังผืดใต้ลิ้น โดยมีทีมที่ร่วมดูแลเริ่มตั้งแต่เจ้าหน้าที่ห้องคลอดประเมินภาวะพังผืดใต้ลิ้นก่อนย้ายทารกแรกคลอดทุกราย และบันทึกลงในแบบประเมินภาวะพังผืดใต้ลิ้นและการให้นมมารดา และส่งต่อข้อมูลให้กับหอผู้ป่วยหลังคลอด เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยหลังคลอดทำการประเมินภาวะพังผืดใต้ลิ้นซ้ำ และประเมินลักษณะหัวนมมารดาหลังทารกดูดนม และบันทึกลงในแบบประเมินภาวะพังผืดใต้ลิ้นและการให้นมมารดา จากนั้นให้การช่วยเหลือ โดยแก้ไขหัวนม ช่วยเหลือให้มารดามีท่าอุ้มที่ถูกต้อง ให้ทารกอมหัวนมได้ถูกต้อง หากยังมีปัญหาดูดนมแม่ได้ไม่มีประสิทธิภาพจากการประเมินโดยใช้ ?Siriraj Tongue Tie Score (STT score) ?ซึ่งทารกที่มี STT score ต่ำกว่า 8 แนะนำให้มารดาและครอบครัวว่าทารกควรได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ส่วนผู้ที่มีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 8 ควรรักษาแบบประคับประคองก่อน หากไม่ดีขึ้นจึงเสนอทางเลือกโดยการผ่าตัดขลิบพังผืดใต้ลิ้น (frenulotomy) สูติแพทย์เป็นผู้ทำผ่าตัด frenulotomy สังเกตอาการและให้การดูแลหลังผ่าตัดโดยเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยร่วมกับมารดา ตรวจติดตามดูลักษณะแผลผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ประสิทธิภาพในการดูดนมของทารก โดยคลินิกนมแม่ หลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ จากการประเมินภาวะพังผืดใต้ลิ้นในทารกจำนวน 5293 ราย พบทารกมีภาวะพังผืดใต้ลิ้น ร้อยละ 46.16 จำแนกเป็นความรุนแรงของภาวะพังผืดใต้ลิ้นระดับเล็กน้อยร้อยละ 40.92 ระดับปานกลางร้อยละ 50.50 และระดับมากร้อยละ 9.42? และพบทารกที่มีภาวะพังผืดใต้ลิ้นมี STT score <8 ร้อยละ 50.31 ของทารกมีภาวะพังผืดใต้ลิ้น ทำผ่าตัด frenulotomy โดยสูติแพทย์ไปแล้วทั้งสิ้น 1076 ราย อัตราความพึงพอใจของมารดาหลังทำผ่าตัดมีคะแนนเฉลี่ย 4.75 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน อัตราเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่ทำผ่าตัด frenulotomy เฉลี่ยร้อยละ 98.52 และ 70.94 เมื่อติดตามหลังคลอด 7 วัน และ 6 เดือนตามลำดับ สรุปการพัฒนาทีมดูแลให้การวินิจฉัยและรักษาภาวะพังผืดใต้ลิ้นทำให้มารดาหลังได้รับการดูแลมีความพึงพอใจสูงและมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะหกเดือนสูง

ที่มาจาก โปสเตอร์และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (11)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ผลของการฟังเพลงต่อการหลั่งน้ำนมในช่วงทันทีหลังคลอด ในมารดาที่คลอดครบกำหนด การศึกษาเปรียบเทียบแบบสุ่ม (Effect of music on immediately postpartum lactation by term mothers after giving birth: a randomized controlled?trial) โดยเยาวเรศ กิตติธเนศวร และคณะ เป็นวิจัยผลของการฟังเพลงที่มีต่อการไหลของน้ำนมมารดาหลังคลอด ศึกษาในมารดากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 152 รายพบว่า น้ำนมมารดาหลังทารกดูดนมในกลุ่มที่ฟังเพลงมากกว่ากลุ่มควบคุม 2.36 เท่าและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สรุปว่าการฟังเพลงหลังคลอดช่วยให้น้ำนมของมารดาไหลได้ดีขึ้น

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (10)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?การจัดรูปแบบการดูแลมารดาที่มีปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ซับซ้อนตามกรอบแนวคิด ?Iceberg model โดยลมัย แสงเพ็ง และจตุพร เพิ่มพรสกุล โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช เป็นวิจัยผลของการพัฒนาสมรรถนะโดย Iceberg model ต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดากลุ่มที่มีปัญหาซับซ้อนในการให้นมแม่ เช่น หัวนมบอดบุ๋ม ลูกสับสนหัวนม หรือลูกเป็นทารกเกิดก่อนกำหนด การสร้างแนวปฏิบัติตามกรอบแนวคิดของ? Iceberg model ประกอบด้วย การใช้สุนทรียสนทนา เพื่อค้นหาการรับรู้(perception)และความคาดหวัง(Expectation) ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาแต่ละราย การให้ข้อมูลที่ตอบสนองเชิงบวกต่อการรับรู้และความคาดหวัง และการสร้างช่องทางการเข้าถึงบริการคลินิกนมแม่ที่เหมาะสมและตรงตามความต้องการของมารดาแต่ละรายช่วยเพิ่มสมรรถนะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลุ่มที่มีปัญหานมแม่ซับซ้อนได้

?ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (9)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ผลการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาคลอดก่อนกำหนด (The effect of empowerment for breastfeeding in mother?s preterm labor) โดย จันทรัสม์ สมศรี และสุวรรณศรี กตะศิลา? โรงพยาบาลศรีสะเกษ เป็นวิจัยที่ศึกษาผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถและระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาคลอดก่อนกำหนด โดยเปรียบเทียบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 37 คน กลุ่มทดลองได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจตามกรอบแนวคิดของกิบสัน 5 ครั้ง ในสัปดาห์ที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 หลังคลอด ส่วนกลุ่มควบคุมดูแลตามปกติหลังคลอด พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน สำหรับระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของกลุ่มทดลองเฉลี่ย 4.89 เดือน ส่วนกลุ่มควบคุมเฉลี่ย 1.91 เดือนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สรุปการเสริมสร้างพลังอำนาจ ช่วยให้มารดาคลอดก่อนกำหนดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานขึ้น จึงควรนำมาใช้กับมารดาคลอดก่อนกำหนดทุกราย เพื่อช่วยให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จตามเป้าหมาย

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (8)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อปริมาณน้ำนมแม่ที่พอเพียงและพฤติกรรมการปฏิบัติของมารดาเพื่อการคงอยู่ของนมแม่สำหรับทารกหลังได้รับการผ่าตัดช่องท้อง (The effects of promoting breast feeding self-efficacy program on sufficient of breast milk supply and maintenance of lactation behavior in mothers of newborn after explore laparotomy) โดยนพรัตน์? ละครเขต สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และวีณา จีระแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิจัยเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อการคงอยู่ของนมแม่ และปริมาณของน้ำนมแม่ที่พอเพียงสำหรับทารกหลังได้รับการผ่าตัดช่องท้องระหว่างมารดากลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่ามารดาที่ได้รับการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนมีพฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อการคงอยู่ของนมแม่สูงและสามารถคงปริมาณของน้ำนมแม่ให้มีความพอเพียงสำหรับทารกได้

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์