คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

Cytomegalovirus และ Varicella กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ผศ.พญ.มินา โครานา

??????????? การติดเชื้อผ่านนมแม่ที่มีการรายงาน ได้แก่ HIV HTLV I และ Cytomegalovirus (CMV)

Cytomegalovirus กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????? CMV เป็น human herpes virus 5 สามารถมีการติดเชื้อจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่มีเชื้อ การติดเชื้อจากแม่สู่ลูก และสามารถติดต่อผ่านการกินนมแม่ได้ การติดต่อผ่านการกินนมแม่นั้นจะพบอุบัติการณ์ตามผลการตรวจการได้รับเชื้อ CMV ในประเทศไทย มีรายงานการตรวจพบการติดเชื้อของมารดาจากผลเลือดราวร้อยละ 90

? ? ? ? ? อาการและอาการแสดงของทารกที่ติดเชื้อ CMV ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ อาจพบภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ตับม้ามโต ตับอักเสบ จุดจ้ำเลือด ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ การพบหินปูนในกะโหลกศีรษะ (intracranial calcification) ภาวะศีรษะทารกเล็ก (microcephaly) การอักเสบของจอประสาทตา (chorioretinitis) การสูญเสียการได้ยิน และมีพัฒนาการทางด้าน psychomotor

? ? ? ? ? ?หากเป็นการติดเชื้อ CMV หลังคลอด การตรวจพบเชื้อต้องไม่ก่อน 2 สัปดาห์หลังการคลอด โดยทารกอาจมีอาการใน 3 ลักษณะ

  • ไม่มีอาการ
  • มีอาการแสดงที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ CMV ได้แก่ มีอาการหรืออาการแสดงของโรคตับ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ มีเอนไซม์ของตับเพิ่มขึ้น มีภาวะตัวเหลือง ปอดอักเสบ และมี atypical necrotizing enterocolitis
  • มีอาการคล้ายการติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis-like symptoms หรือ SLS) พบในทารกบางรายมักสัมพันธ์กับทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยหรือทารกคลอดก่อนกำหนด อาการที่พบ ได้แก่ การหยุดหายใจ หัวใจเต้นช้า ซีด ตับม้ามโต ลำไส้โป่งพอง (distending bowels) ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ และมีเอนไซม์ของตับเพิ่มขึ้น ซึ่งในทารกที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้

? ? ? ? ? ? ?การติดเชื้อ CMV หลังคลอดนั้น มักไม่พบในทารกที่คลอดครบกำหนด เนื่องจากจะมีการผ่านของภูมิคุ้มกันจากมารดาที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ แต่จะพบในทารกที่น้ำหนักตัวน้อยกว่า 1500 กรัม หรือทารกที่คลอดก่อนกำหนด คือ อายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ จากข้อมูลของสหรัฐอเมริกา พบในกลุ่มที่ได้รับเชื้อและไม่มีอาการร้อยละ 6.5 ทารกมีแสดงอาการติดเชื้อของ CMV พบร้อยละ 3.4 และทารกที่มีอาการคล้ายการติดเชื้อในกระแสเลือดร้อยละ 1.4 ส่วนใหญ่ทารกที่ติดเชื้อ CMV จะหายได้เอง ไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัส แต่ในทารกกลุ่มที่มีอาการรุนแรง ได้แก่ อาการคล้ายการติดเชื้อในกระแสเลือด มีรายงานว่า การใช้ยาต้านไวรัส Ganciclovir ได้ประโยชน์

Varicella กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? การติดเชื้อ varicella จะห้ามเฉพาะในมารดาที่มีรอยโรคที่เต้านมขณะให้นมบุตรเท่านั้น เชื้อจะไม่ผ่านน้ำนม แต่จะติดต่อผ่านรอยโรคที่เต้านม ดังนั้น การปั๊มนมและให้นมบุตรยังสามารถทำได้ แต่การให้นมจากเต้าต้องรอให้รอยโรคแห้งหรือหายก่อน

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

 

จะเป็นอย่างไร หลังออก พรบ.นมผง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? จากการบรรยายในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติของ นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ เน้นว่านมผงแพง ไม่ใช่แพงจากต้นทุนการผลิต แต่แพงจากต้นทุนการตลาด ดังนั้น พรบ. Code หรือ พรบ.นมผง จึงมีความจำเป็นต้องมีเพื่อควบคุมให้การสื่อสารทางการตลาดเป็นไปอย่างเหมาะสม ?ศ.นพ.ภิเษก ลุมพิกานนท์? ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ได้เสนอเรื่องข้อมูลของการผ่าตัดคลอดที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ การรณรงค์เพื่อลดการผ่าตัดคลอดลงนอกจากจะมีผลต่อลดความเสี่ยงของมารดาและทารกแล้ว ยังมีผลต่อการเพิ่มการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย เนื่องจากมารดาที่ผ่าตัดคลอดจะทำให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้า และทำให้การกระตุ้นให้ทารกได้กินนมแม่ในหนึ่งชั่วโมงแรกลดลง? รศ.ดร.พญ.ศิรินุช ชมโท ตัวแทนของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้เน้นเรื่องการสื่อสารให้มารดาตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของนมแม่ ความเข้าใจในเรื่องการเจริญเติบโตของทารกตามกราฟการเจริญเติบโต การเสริมอาหารตามวัยอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ทารกได้รับประโยชน์จากนมแม่สูงสุด ผศ.ดร.จริยา วิทยะศุกร ตัวแทนของสภาพยาบาลได้เน้นว่า พยาบาลถือเป็นบุคลากรทางสาธารณสุขที่มีบทบาทสูงสุดในการให้การสนับสนุน ส่งเสริม รวมทั้งปกป้องนมแม่ ซึ่งพยาบาลมีบทบาทในการช่วยเฝ้าระวังการระเมิด พรบ.นมผงด้วย

? สุดท้ายแล้ว หลังการออกกฎหมาย พรบ.นมผง การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างไร ขึ้นอยู่กับการดำเนินการร่วมกันในทุกภาคส่วนที่จะช่วยส่งเสริม สนับสนุน และปกป้องให้เด็กไทยมีโอกาสได้กินนมแม่มากขึ้น

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (20)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของหญิงผู้ต้องขัง ณ ทัณฑสถานหญิงแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง (Lived experience of breastfeeding among incarcerated women at one prison in lower northern area) โดยประทุมา? ฤทธิ์โพธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นวิจัยประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของหญิงผู้ต้องขัง ณ ทัณฑสถานหญิงแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การดำเนินกระบวนการกลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขังที่คลอดลูกและมีหรือเคยมีเด็กติดผู้ต้องขังไม่เกิน 1 ปี จำนวน 16 ราย ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังขาดอิสรภาพและเข้ามาสู่ที่ทัณฑสถานพร้อมการตั้งครรภ์ ประสบการณ์ที่เผชิญมี 4 ระยะ คือ ระยะที่1 ความรู้สึกไม่แน่ใจต่อบทบาทมารดา ระยะที่ 2 ภาวะอารมณ์สองฝักสองฝ่ายที่เลี้ยงลูกในทัณฑสถาน ระยะที่ 3 เผชิญสถานการณ์ปัญหาและทุกข์ใจในชีวิต และระยะที่ 4 เฝ้ารอคอยอิสระเสรีและเตรียมความพร้อมในการแสดงบทบาทมารดาที่ดี สำหรับขั้นตอนความคิดในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทัณฑสถาน มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมพร้อมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่เลี้ยงในทัณฑสถาน ขั้นตอนที่ 2 หนึ่งปีกับบทบาทหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทัณฑสถาน ขั้นตอนที่ 3 พรากจากบุตรอันเป็นที่รักหลังกฎอนุญาตเลี้ยงลูกในทัณฑสถานหนึ่งปี และขั้นตอนที่ 4 ยอมรับกฎแห่งการพลัดพราก สรุปประสบการณ์ที่หญิงในทัณฑสถานต้องเผชิญและขั้นตอนความคิดในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีระยะและขั้นตอนที่อธิบายได้ ความเข้าใจในประสบการณ์และแนวคิดของผู้ต้องขังจะทำให้การเสริมพลังอำนาจเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำได้อย่างเหมาะสม

ที่มาจาก โปสเตอร์และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (19)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ผลการใช้สื่อ 3 มิติคัดกรองเต้านมด้วยตนเองของหญิงตั้งครรภ์ (The results of ?3D media on self breast screening of pregnant women) โดยวริญญา คงพิจิตร และละมุล คงเพชร โรงพยาบาลหาดใหญ่ เป็นวิจัยเปรียบเทียบผลการใช้สื่อ 3 มิติช่วยในการคัดกรองเต้านมด้วยตนเองกับการตรวจคัดกรองเต้านมแบบไม่ใช้สื่อในหญิงตั้งครรภ์ ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 139 ราย พบว่าหญิงตั้งครรภ์ตรวจเต้านมด้วยตนเองแบบไม่ใช้สื่อได้คะแนนการตรวจที่ถูกต้องในเรื่องลักษณะเต้านม ขนาดลานนม ความยืดหยุ่นของลานนม ชนิดหัวนมด้านซ้ายและด้านขวาคิดเป็นร้อยละ 58.27, 65.47, 77.70, 36.69, 34.53 ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่นำสื่อ 3 มิติที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาใช้ร่วมกับการตรวจด้วยตนเองสามารถคัดกรองได้ถูกต้องในเรื่องเดียวกันคิดเป็นร้อยละ 96.40, 100, 100, 98.56, 100 ตามลำดับ สรุปการนำสื่อ 3 มิติที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาใช้ร่วมกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองทำให้หญิงตั้งครรภ์สามารถคัดกรองเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้องสูงกว่าการที่มารดาตรวจคัดกรองเต้านมด้วยตนเองโดยไม่ใช้สื่อ

ที่มาจาก โปสเตอร์และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (18)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการผ่านกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ (Model development of breastfeeding support in workplaces using empowerment process) โดยประทุมา ฤทธิ์โพธิ์ และคณะ เป็นวิจัยพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการผ่านกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจตามแนวคิด Conger & Kanungo การเสริมสร้างพลังอำนาจ มี 6 กระบวนการ ได้แก่ การจุดประกายความรับผิดชอบต่อสังคม การสะท้อนจุดอ่อนการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การบูรณาการนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นส่วนหนึ่งในแผนงานสนับสนุนสวัสดิการของบุคลากร การสนับสนุนข้อมูลและแนวทางดำเนินการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการ 5) เสริมพลังบทบาทการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ของลูกจ้าง และการติดตามและสนับสนุนการเป็นต้นแบบสถานประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิธีการศึกษาทำโดยการสอบถามผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับสวัสดิการลูกจ้าง จำนวน 100 แห่ง? และพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำนวน 2 แห่งด้วยการประเมินผลจากลูกจ้างหลังคลอด การสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และการสังเกต ผลการศึกษาพบว่า การให้ความสำคัญการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่ลูกจ้างอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.57-5.82? และมีเพียงร้อยละ 40 ที่จัดการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แต่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ควรดำเนินการ สรุปการพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ผ่านกระบวนการเสริมอำนาจได้ผลปานกลาง และยังมีการดำเนินงานที่เป็นไปตามมาตรฐานที่ควรดำเนินการน้อย

ที่มาจาก โปสเตอร์และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์