คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการวิจัย:จากงานประจำสู่งานวิจัยเพื่อรับใช้สังคม ตอนที่ 2

ศ.ดร.สุสัณหา ยิ้มแย้ม

แนวทางในการพัฒนาหัวข้องานวิจัยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การพัฒนาหัวข้อ/โจทย์ในการวิจัย

? ? ? ? ? ?ในการพัฒนาโจทย์วิจัยอาจจะเริ่มจากปัญหา/คำถามวิจัยที่ได้จากงานประจำที่รับผิดชอบดำเนินการอยู่ และต้องการจะแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาต่อยอดหรือขยายผลงานที่ทำอยู่? โดยใช้กระบวนการหาคำตอบด้วยวิธีการที่น่าเชื่อถือ เพื่อใช้ตัดสินใจในการพัฒนาคนและพัฒนางานในระบบสุขภาพ? ทั้งนี้งานวิจัยนั้นจะต้องมีคุณลักษณะดังนี้

  • เป็นงานอิสระทางวิชาการและสามารถประยุกต์ใช้กับงานประจำ
  • เป็นเครื่องมือในการเปิดแนวคิดใหม่ๆ ในการทำงาน
  • ช่วยผู้ปฏิบัติงานในการสร้างความรู้และสามารถย้อนกลับมาช่วยงานประจำที่ทำอยู่
  • ไม่ควรยึดติดรูปแบบการวิจัย แต่ควรถูกต้องตามหลักวิชาการ
  • ไม่จำเป็นต้องได้องค์ความรู้ใหม่ทั้งหมด แต่เป็นการค้นหาวิธีการพื่อประยุกต์ใช้ในบริบทของผู้วิจัย
  • เป็นเครื่องมือการพัฒนาคนให้รู้จักพัฒนาฐานข้อมูล ใช้ข้อมูล และสามารถคิดเชิงระบบ
  • เป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมศักยภาพทำให้เข้าใจสภาพแวดล้อมที่รอบตัวมากขึ้น
  • ช่วยสร้างระบบพี่เลี้ยงในการทำวิจัย และเอื้อเฟื้อกันในการทำงานระหว่างนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานโดยตรง
  • สามารถนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานเพื่อทำให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ได้

การพัฒนาหัวข้อวิจัยและทำให้ปัญหาการวิจัยมีความชัดเจนนั้น มีขั้นตอนดังนี้

  1. เลือกประเด็นที่สนใจ อาจจะใช้จินตนาการ และลองเขียนแผนผังความคิด ซึ่งอาจจะเป็นหัวข้อกว้างๆ(general idea) ที่ยังไม่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม โดยไม่ต้องวิพากษ์ วิจารณ์ใด ๆ ในครั้งแรก พยายามให้ความคิดพรั่งพรู หลั่งไหลออกมาก่อน หลังจากนั้นค่อยมาพิจารณาคัดเลือก โดยใช้หลักการดังนี้
  • ความสนใจของผู้วิจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจที่จะทำ
  • ความแปลกใหม่ ไม่ซ้ำซ้อน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ /ต่อยอด
  • ปัญหามีความสำคัญ/ประโยชน์ต่อพัฒนางานด้านสุขภาพในหน่วยงาน ชุมชน สังคมและประเทศชาติ
  • เป็นคำถามที่สามารถหาคำตอบได้โดยใช้กระบวนการวิจัยได้
  • มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการทำวิจัย โดยคำนึงถึงระยะเวลาที่ศึกษา และกลุ่มเป้าหมาย อุปกรณ์ เครื่องมือ และสิ่งสนับสนุนต่าง ๆ ความร่วมมือจากบุคคลอื่นและหน่วยงาน งบประมาณ แหล่งสนับสนุน จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม ประสบการณ์และความชำนาญของผู้วิจัย
  1. ปรับหัวข้อที่กว้าง ให้แคบลง เป็นหัวข้อที่เฉพาะเจาะจง (specific topic) เพื่อนำไปสู่ปัญหาที่ทำวิจัยได้ โดยการตั้งถามว่า 5 W (Why, Who, What, Where, When) และ 1 H (How) ดังนี้
  • ทำไม (Why) ทำไมต้องศึกษาเรื่องนี้
  • ใคร (Who) ที่มีปัญหาหรือเป็นกลุ่มที่ต้องการการแก้ไขปัญหาหรือปรับปรุง
  • อะไร (What) เป็นปัจจัยที่เป็นสาเหตุหรือมีอิทธิพล หรืออะไรผลที่ตามมา
  • ที่ไหน (Where) ควรวิจัยหรือศึกษาเรื่องนี้ที่ไหน
  • เมื่อไหร่ (When) ควรวิจัยหรือศึกษาเรื่องนี้เมื่อไหร่
  • อย่างไร (How) วิธีการดำเนินงานวิจัยเป็นอย่างไร
  1. ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อที่สนใจ เพื่อให้ชัดเจนเกี่ยวกับความรู้ของหัวข้อนั้น เพื่อหาช่องว่างขององค์ความรู้ที่สนใจ และตั้งคำถามการวิจัยให้ชัดเจน
  2. เขียนปัญหาการวิจัยที่ชัดเจนรวมทั้งข้อมูลสนับสนุน โดยการเริ่มเขียนปัญหาการวิจัย อาจเป็นเพียง 2-3 ประโยคก่อน แล้วจึงขยายความเป็น ?ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา? ที่มีประกอบด้วยสาระสำคัญดังนี้ ความสำคัญของปัญหา (significant of problem) ภูมิหลัง (background) สถานการณ์ของปัญหาในปัจจุบัน และวิธีการดำเนินการศึกษาประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  3. ประเมินปัญหาการวิจัย ตามหลักการกำหนดปัญหาการวิจัย เพื่อพิจารณาคัดเลือกประเด็นที่สนใจซึ่งอาจจะมีหลายประเด็น ให้เหลือประเด็นที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการทำวิจัย โดยใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ ประเมินเช่นเดียวกันกับการเลือกหัวข้อวิจัย

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการวิจัย:จากงานประจำสู่งานวิจัยเพื่อรับใช้สังคม ตอนที่ 1

ศ.ดร.สุสัณหา ยิ้มแย้ม

? ? ? ? ? ? ? ? ?การวิจัยเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากอย่างที่บางคนคิด? หากเราได้เรียนรู้ เข้าใจ และได้ทดลองนำมาใช้ ในทางตรงกันข้ามการวิจัยช่วยให้ทำงานประจำได้อย่างสนุก ไม่น่าเบื่อกับการงานที่ซ้ำซากแต่ไม่ได้ผลเท่าที่ควร? หากเพียงแต่เรารู้สังเกต ตั้งคำถาม และค้นหาคำตอบ โดยการมีมุมมองใหม่ที่ผ่านกระบวนการคิดไตร่ตรองอย่างรอบด้านและมีวิจารณญาณ รวมทั้งมีการค้นหาวิธีใหม่มาทดลองใช้ในการแก้ไขสถานการณ์ปัญหากับงานประจำที่เราต้องเผชิญทุกวัน เราก็จะพบว่างานวิจัยเป็นเรื่องที่น่าสนใจและท้าทายให้คนเราเผชิญสถานการณ์ รวมทั้งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการทำงานได้อย่างมีเหตุมีผล มีระบบระเบียบ เกิดการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้อย่างกว้างขวางทั้งในประโยชน์ในส่วนตัว องค์กร/หน่วยงาน และสังคมโดยรวม?

? ? ? ? ? ? ?การทำวิจัยจากงานประจำ (routine to research) หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการอย่างเป็นระบบของผู้ปฏิบัติงานประจำในการแก้ปัญหาและพัฒนางานที่รับผิดชอบดำเนินการอยู่ตามปกติ โดยมีผลลัพธ์เป็นการพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมงาน อันส่งผลกระทบในการบรรลุเป้าประสงค์สูงสุดขององค์กร? การพิจารณาว่างานวิจัยที่ถือว่าพัฒนามาจากงานประจำนั้น อาจต้องพิจารณาจากโจทย์วิจัย ผู้ทำวิจัย ผลลัพธ์ของการวิจัยและการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • ?โจทย์วิจัย? ต้องมาจากงานประจำเป็นการแก้ปัญหา/พัฒนางานประจำ
  • ?ผู้ทำวิจัย? ต้องเป็นผู้ทำงานประจำ มีบทบาทหลักของการวิจัย
  • ?ผลลัพธ์ของการวิจัย? ต้องวัดที่ผลต่อตัวผู้ป่วยหรือบริการที่มีผลต่อผู้ป่วยโดยตรง ไม่ใช่วัดที่ตัวชี้วัดทุติยภูมิเท่านั้น เช่น ระดับสารต่าง ๆ ในร่างกาย/ผลการตรวจพิเศษต่าง ๆ
  • ?การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์? ต้องมีผลต่อเปลี่ยนแปลงการให้บริการผู้ป่วยโดยตรงหรือต่อการจัดบริการผู้รับบริการ

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

การปรับพฤติกรรมทางสังคม ในโครงการไม่ให้น้ำแก่ทารกแรกเกิด ประสบการณ์จากประเทศเวียดนาม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????????? ประเทศเวียดนามนั้น ก่อนหน้าที่จะมีการรณรงค์ด้วยการโฆษณาทางสื่อทีวี อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนต่ำ แล้วทำไมจึงเกิดโครงการการรณรงค์ไม่ให้น้ำแก่ทารกโดยการโฆษณาทางสื่อทีวี เรื่องนี้ได้มีข้อมูลมาจากฐานการวิจัยว่า การที่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนต่ำเนื่องมาจากปัจจัยที่มารดาให้น้ำแก่ทารก โดยที่แนวทางที่จะแก้ไขก็คือ การให้ความรู้แก่มารดา และจากฐานข้อมูลจากการวิจัยเช่นกัน พบว่าสื่อทางทีวีมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนได้มากและประชาชนยังเข้าถึงสื่อนี้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น โครงการไม่ให้น้ำแก่ทารก เพื่อที่จะช่วยให้ทารกได้กินเฉพาะนมแม่หกเดือนจึงเกิดขึ้น โดยขั้นตอนของการดำเนินที่จะนำสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วย

  1. การดำเนินที่เป็นขั้นเป็นตอน โดยการดำเนินงานตามขั้นตอนที่มีการพิสูจน์แล้วว่าได้ผล
  • การวิเคราะห์ปัญหา (analyzing)
  • การวางแผนจัดการ (designing)
  • การพัฒนาการดำเนิน (developing)
  • การทดสอบก่อนการปฏิบัติจริง (pretesting)
  • การนำสู่การปฏิบัติจริง (launching)
  • การติดตามประเมินผล (monitoring)
  1. มีการใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์วิจัยที่จะเสาะหา ?สิ่งเล็ก ๆ ที่เพียงกระทำจะส่งผลต่อพฤติกรรมในวงกว้าง?
  2. จุดเน้นของการเปลี่ยนแปลงคือ การขยับแรงขับเคลื่อนที่ส่งผลต่อพฤติกรรม ซึ่งรูปแบบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากสื่อโฆษณาการไม่ให้น้ำ โดยการสื่อสารว่าไม่มีความจำเป็นต้องให้น้ำแก่ทารกในช่วงหกเดือนแรกเพราะจะทำให้ลูกได้รับนมแม่น้อยลง ทำให้ได้รับประโยชน์จากแร่ธาตุและสารอาหารต่าง ๆ จากนมแม่น้อยลง ผ่านตัวละครที่เป็นทารกที่น่ารักที่จะนำไปสู่การติดตา จดจำ และระลึกถึงได้เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องมีการให้นมลูก แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมสามารถเกิดการปรับเปลี่ยนได้รวดเร็วกว่าที่คิดหรือจินตนาการไว้ โดยอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนเพิ่มขึ้นราวสองเท่าหลังจากมีการสื่อโฆษณาไม่ให้น้ำทางทีวีได้แพร่ภาพ ออกไปในระยะเวลาอันสั้น
  3. ความถี่บ่อยและช่วงเวลาของการเผยแพร่สื่อ มีความสำคัญ จากข้อมูลพบว่าการที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้นั้น ต้องมีการได้รับสื่อในความถี่ที่พอเหมาะ ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมที่มารดาและครอบครัวจะได้รับสื่อพบว่าเป็นช่วงเวลาที่ค่าสื่อโฆษณามีอัตราสูง แต่เมื่อคำนึงถึงผลสำเร็จก็มีความคุ้มค่าและน่าลงทุน

?????????????????? สรุปแล้ว โครงการไม่ให้น้ำแก่ทารกเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนให้เพิ่มขึ้นของประเทศเวียดนามประสบความสำเร็จจากพื้นฐานการสำรวจวิจัยบนฐานข้อมูล มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ประกอบกับการลงทุนที่คำนึงความคุ้มค่าเมื่อมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จึงน่าจะนำมาเป็นแบบอย่างในการรณรงค์เพื่อขับเคลื่อนการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยด้วย ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานของการดำเนินงานบนฐานข้อมูลและการทำงานที่เป็นระบบอย่างมีมาตรฐานเช่นกัน

ที่มาจาก การบรรยายของ Ms. Phan Hong Linh และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

การใช้สารเสพติดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

พญ.ริชาพรรณ ชูแกล้ว

? ? ? ? ? ? ? ?ปัญหาการใช้สารเสพติดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งสารเสพติดมีทั้งที่ถูกและผิดกฎหมาย สารเสพติดที่ถูกกฎหมาย ได้แก่ สุรา และบุหรี่ สารเสพติดที่ผิดกฎหมาย ได้แก่ อนุพันธ์ฝิ่น สารกระตุ้น และกัญชา ข้อแนะนำสำหรับมารดาที่ใช้สารเสพติดนั้นคือ การละเว้นหรืองดการใช้สารเสพติดเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์รวมถึงระหว่างการให้นมบุตร แต่ในสตรีบางรายที่ยังคงมีการใช้สารเสพติดอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ เมื่อคลอดบุตรแล้ว จะมีความวิตกกังวลว่าจะสามารถให้นมลูกได้หรือไม่ และส่วนใหญ่จะได้รับคำแนะนำให้งดการให้นมบุตร ซึ่งข้อมูลและหลักฐานในเชิงประจักษ์สำหรับการใช้สารเสพติด การผ่านของสารเสพติดเข้าสู่น้ำนม และอันตรายที่จะเกิดกับทารกยังขาดข้อมูลและความชัดเจน เนื่องจากในงานวิจัยที่ศึกษามักมีตัวแปรของการใช้ยาในระหว่างการตั้งครรภ์ และโรคอื่น ๆ ของมารดาที่ใช้สารเสพติด นอกจากนี้ความเสี่ยงยังขึ้นอยู่กับชนิด ปริมาณ และช่วงระยะเวลาห่างจากการใช้สารเสพติดกับการที่ทารกกินนมแม่ ดังนั้น การให้คำแนะนำในการจะตัดสินใจเลือกให้ทารกกินนมแม่หรือใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก ควรพิจารณาเป็นราย ๆ ไป โดยชั่งน้ำหนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการกินนมแม่เทียบกับความเสี่ยงหรืออันตรายที่จะเกิดกับทารกที่จะได้รับสารเสพติด ตัวอย่างข้อแนะนำในการใช้สารเสพติดในระหว่างการให้นมบุตร ได้แก่

  • สารเสพติดจำพวกอนุพันธ์ฝิ่น ได้แก่ เฮโลอีน มารดาควรได้รับการรักษาระหว่างการตั้งครรภ์โดยใช้ยาเมธาโดน (methadone) ซึ่งมีข้อมูลหลักฐานว่าปลอดภัยและคุ้มค่าในการที่จะเลือกให้นมแม่
  • กัญชา จะมีผลต่อระบบประสาท หากทารกได้รับในระหว่างที่มีการพัฒนาของระบบประสาทของทารก แต่ในระหว่างการให้นมบุตรนั้น กัญชาจะมีผลทำให้มารดาง่วงซึมและส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดูแลทารกมากกว่าอันตรายที่จะเกิดกับทารกโดยตรง
  • แอลกอฮอล์ ระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดจะใกล้เคียงกับในน้ำนม แนะนำให้หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างให้นมบุตร แต่หากมารดาได้ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ไม่เกิน 2 ดื่มมาตรฐาน (ปริมาณใกล้เคียงกับการกินเบียร์ 2 กระป๋อง) ควรเว้นระยะห่างจากการให้นม 2 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายกำจัดแอลกอฮอล์ออกไป ซึ่งพบว่า ทารกที่กินนมแม่หลังการเว้นระยะการให้นมบุตร ไม่พบว่ามีอันตรายหรือความเสี่ยงใด ๆ ที่เกิดแก่ทารก
  • บุหรี่ ในมารดาที่สูบบุหรี่ ควรเปลี่ยนไปใช้ยาที่ใช้ในการรักษาการติดบุหรี่ ซึ่งพบว่ามีความปลอดภัยเมื่อใช้ในระหว่างการให้นมบุตร
  • สารกระตุ้น เช่น ยาบ้า ควรเว้นช่วงการให้นมบุตรอย่างน้อย 24 ชั่วโมงจากการใช้ครั้งสุดท้าย เนื่องจากยาจะอยู่ในร่างกายมารดาได้นานกว่า อย่างไรก็ตาม การเว้นระยะของการให้นมบุตรนั้นยังขึ้นอยู่กับปริมาณสารเสพติดที่ได้รับด้วย

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

กลยุทธ์ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

???????????????????????????????????????????? วาสนา? งามการ

??????????? โรงพยาบาลพระปกเกล้าได้ดำเนินการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามบันได 10 ขั้นดังนี้

1. มีนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่สื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกคนได้เป็นประจำ และมีคณะกรรมการนมแม่ของโรงพยาบาล เพื่อทำหน้าที่นำนโยบายลงสู่การปฏิบัติ

2. ฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกคนให้มีทักษะที่จะนำนโยบายนี้ไปปฏิบัติ โรงพยาบาลพระปกเกล้าได้ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องนมแม่ครบ 20 ชั่วโมงและมีการจัดอบรมซ้ำทุก 1 ปี

3. ชี้แจงให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนทราบถึงประโยชน์และวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หน่วยงานฝากครรภ์ถือว่ามีบทบาทสำคัญเพราะการให้ความรู้ถึงความสำคัญของนมแม่ให้แก่หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวเพื่อให้มีทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้ครอบครัวเห็นความสำคัญว่า ?การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ใช่ทางเลือก? แต่เป็นสิ่งสำคัญที่ทารกควรได้รับนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน

4. ช่วยให้แม่เริ่มให้ลูกดูดนมภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด การที่ทารกแรกเกิดได้ดูดนมแม่โดยเร็วเป็นปัจจัยสำคัญ หากบุคลกรเข้าใจและให้ความสำคัญของนมแม่ จะช่วยออกแบบบริการ และช่วยให้ทารกได้ดูดนมแม่โดยเร็วทันทีหลังคลอด

5. การสอนให้มารดารู้วิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และวิธีทำให้น้ำนมคงมีปริมาณเพียงพอแม้ว่ามารดาและทารกแยกจากกัน เพื่อวางแผนในการให้ความรู้และฝึกทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้แก่เหมาะสมกับบริบทของมารดาแต่ละราย

6. อย่าให้น้ำหรืออาหารอื่นแก่ทารกนอกจากนมแม่ยกเว้นมีข้อชี้บ่งทางการแพทย์ การทำให้บันไดขั้นที่ 6 เป็นจริง โดยการใช้หลัก 3 ดูด จะทำให้น้ำนมแม่มาพียงพอต่อความต้องการ

7. ให้มารดาและทารกอยู่ด้วยกันตลอด 24 ชั่วโมง

8. สนับสนุนให้ลูกดูดนมแม่ทุกครั้งที่ต้องการ

9. อย่าให้ทารกดูดหัวนมหลอกหรือหัวนมปลอม

10. ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และส่งต่อแม่ไปรู้จักกับกลุ่มดังกล่าวเมื่อออกจากโรงพยาบาลหรือคลินิก ซึ่งคลินิกนมแม่ของโรงพยาบาลพระปกเกล้าได้วางระบบติดตามร่วมกับกลุ่มสนับสนุนแม่ในชุมชน หรือแม่อาสากลุ่มนมแม่ดังนี้

การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากคลินิกนมแม่สู่ชุมชน มีดังนี้

1. การพัฒนาศักยภาพของคลินิกนมแม่ให้สามารถช่วยเหลือมารดาที่มีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ พยาบาลที่ทำงานนมแม่ได้มีการพัฒนาความรู้อยู่เสมอ โดยทุกครั้งที่มีการจัดวิชาการเรื่องนมแม่ในเวทีระดับชาติ จะได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารให้ไปอบรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำวิชาการความรู้ใหม่ ๆ นำมาพัฒนางาน ??

2. การดำเนินงานคลินิกนมแม่เชิงรุก โรงพยาบาลพระปกเกล้ามีพื้นที่ที่รับผิดชอบดูแล ตำบลตลาดและตำบลวัดใหม่ ซึ่งมีพื้นที่รอบโรงพยาบาล โดยการนัดติดตามมารดาหลังคลอดที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่ที่รับผิดชอบมาประเมินเรื่องความรู้และทักษะเรื่องนมแม่หลังจำหน่ายภายใน 2 สัปดาห์?? ในมารดาที่เป็นกลุ่มเสี่ยงนัดติดตามมาที่คลินิกนมแม่ภายใน 7 วัน? ?โดยประสานงานกับหอผู้ป่วยหลังคลอด 5 หน่วยงานให้เข้าใจแนวทางปฏิบัติให้เป็นแนวทางเดียวกัน?? ส่วนมารดาที่มีภูมิลำเนานอกพื้นที่ส่งต่อมารดาให้สถานบริการสาธารณสุขติดตามเยี่ยมบ้านต่อเนื่อง โดยบันทึกในใบส่งต่อเยี่ยมบ้านใช้สำหรับการติดตามเยี่ยมบ้านมารดาและทารกและติดตามประเมินผลลัพธ์การดำเนินงาน อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แต่ละพื้นที่? ปัญหาที่พบ? เพื่อนำมาพัฒนาระบบวางแผนจำหน่ายในโรงพยาบาลต่อไป

3. การส่งต่อข้อมูลมารดาและทารกให้กับสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ ให้มีการติดตามเยี่ยมบ้านมารดาและทารกภายใน 14 วันหลังคลอดและเยี่ยมบ้านต่อเนื่อง เพื่อติดตามเรื่องนมแม่และอนามัยมารดาและทารก กรณีพบปัญหาที่ยากต่อการแก้ไขรีบส่งต่อคลินิกนมแม่ในพื้นที่หรือคลินิกนมแม่ของโรงพยาบลพระปกเกล้า

4. การสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน ให้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ พยาบาลอาสาช่วยแม่ในชุมชน การสร้างกลุ่มสนับสนุนแม่จากมารดาที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การสร้างกลุ่มสนับสนุนแม่จากญาติ พี่น้อง เพื่อน ๆ โดยได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือมารดาในพื้นที่ค่ายตากสินในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การขยายเครือข่ายกลุ่มสนับสนุนแม่โดยขอความร่วมมือกับสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่

5. การสร้างความเข้มแข็งให้กับชมรมนมแม่ ให้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเรื่องนมแม่และอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่มีดังนี้ การให้ความรู้เรื่องนมแม่และการดูแลอนามัยมารดาและทารกอย่างต่อเนื่องทุกปี โรงพยาบาลพระปกเกล้าได้จัดทำแผนของบประมาณในการดำเนินงานพัฒนาชมรมอย่างต่อเนื่อง มีการฝึกทักษะพื้นฐานให้ชมรมนมแม่สามารถนำไปช่วยเหลือมารดาในพื้นที่ได้ การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับชมรมทุก 1-3 เดือนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน ลงพื้นที่ช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาการทำงานในชุมชน มีการผลักดันให้ผู้บริหารขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นเข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานของชมรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทำให้ชมรมมีงบประมาณในการดำเนินงาน? ติดตามเยี่ยมบ้าน? การจัดกิจกรรมเชิงรุกในชุมชน มีการประชาสัมพันธ์การทำงานของชมรมผ่านสื่อทีวีท้องถิ่นเพื่อเป็นการชื่นชมให้คนดี ได้มีกำลังใจในการทำงานต่อไป มี การดูแลสวัสดิการ สร้างขวัญ กำลังใจแก่สมาชิกชมรมนมแม่

6. การประสานงานผลักดันเชิงนโยบาย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล ปัญหาที่พบจากการปฏิบัติงาน สรุปรายงานให้กับผู้บริหารในโรงพยาบาลและองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องรับทราบเพื่อการพัฒนาต่อเนื่อง โดยร่วมเป็นคณะกรรมงานงานอนยามัยแม่และเด็ก จังหวัดจันทบุรี และมาร่วมกันจัดทำแผนพัฒนางานที่เป็นปัญหาในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และปัญหางานอนามัยในพื้นที่ต่อไป

? ? ? ? ? ? ? สรุปจากปัญหาการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยที่ยังพบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังต่ำกว่าเป้าหมาย? การที่จะให้การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สำเร็จต้องเริ่มจากการให้ความรู้แก่มารดาและครอบครัวให้เห็นความสำคัญว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ใช่ทางเลือก ต้องยึดหลักบันได 10 ขั้นและควบคุมกำกับให้นโยบายที่ประกาศเป็นจริงตลอดจนการพัฒนาคลินิกนมแม่ให้มีศักยภาพ สร้างความเข้มแข็งให้กับชมรมนมแม่ให้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือในชุมชน ร่วมกับการติดตามข้อมูลปัญหาและพัฒนาร่วมกันอย่างต่อเนื่อง? หากทุกพื้นที่ได้นำแนวทางดังกล่าวไปขยายผล? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยคงประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้น

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์