คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

การประเมินการเข้าเต้าของมารดาและทารก

ทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเมตาบอลิกสูงขึ้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัจจุบันคนในสังคมมีโรคทางเมตาบอลิกเพิ่มขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตยุคดิจิทัล โรคทางเมตาบอลิก ได้แก่ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ซึ่งทำให้ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคทางหลอดเลือดสูงขึ้นที่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบมากที่สุดของการเสียชีวิตของผู้ใหญ่ มีการศึกษาพบว่า วิธีการคลอดมีผลต่อการเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในทารกได้ โดยทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดจะมีความเสี่ยงที่จะมีการติดเชื้อ ผิวหนังอักเสบ และโรคทางเมตาบอลิกสูงกว่าทารกที่คลอดปกติทางช่องคลอด นอกจากนี้ หากทารกคลอดด้วยวิธีการผ่าตัดคลอดฉุกเฉินจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคทางเมตาบอลิกถึง 2.63 เท่า1 ดังนั้น หากมีการดูแลให้การคลอดมีอัตราการผ่าตัดคลอดที่เหมาะสมตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเมตาบอลิกในทารกซึ่งจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลอยู่แล้ว จึงถือได้ว่าเป็นการป้องกันหรือช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคเหล่านี้เมื่อทารกเจริญวัยขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Peters LL, Thornton C, de Jonge A, et al. The effect of medical and operative birth interventions on child health outcomes in the first 28 days and up to 5 years of age: A linked data population-based cohort study. Birth 2018.

 

 

การชักนำการคลอดเสี่ยงต่อทารกตัวเหลือง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การดูแลการคลอดมีผลต่อทั้งสุขภาพของมารดาและทารก การชักนำการคลอด คือ การกระตุ้นให้มารดามีการเจ็บครรภ์และคลอดบุตรโดยเป็นผลมาจากหลากหลายวิธี ได้แก่ การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกผ่านเข้าทางเส้นเลือด อมใต้ลิ้น หรือเหน็บช่องคลอด ปัจจุบันมีการชักนำการคลอดสูงขึ้น ซึ่งมีทั้งการชักนำการคลอดตามเหตุผลทางการแพทย์และการชักนำการคลอดด้วยเหตุอื่น ๆ เช่น การดูฤกษ์ยาม การเลือกเวลาที่สะดวกหรือว่างของแพทย์ หลังการชักนำการคลอด ส่วนหนึ่งของมารดาจะคลอดได้ทางช่องคลอด โดยมีที่เหลืออาจต้องใช้หัตถการในการทำคลอดคือใช้คีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศหรือการผ่าตัดคลอดเพิ่มขึ้น ผลที่ตามมาหลังจากการคลอดโดยหัตถการก็คือ การพบทารกตัวเหลืองสูงขึ้นถึง 2.75 เท่าของทารกที่คลอดปกติ1 ซึ่งเมื่อทารกมีภาวะตัวเหลืองก็มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลเฉพาะ อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการส่องไฟหรือการถ่ายเลือดทำให้อาจขัดขวางการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกหลังคลอด ผลจึงกระทบถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Peters LL, Thornton C, de Jonge A, et al. The effect of medical and operative birth interventions on child health outcomes in the first 28 days and up to 5 years of age: A linked data population-based cohort study. Birth 2018.